ตำนานรอยัลพลาซ่าโคราชถล่ม เสียชีวิตกว่า 500 ราย
เมื่อวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม 2536 คนไทยทั้งประเทศตื่นตะหนกตกใจกับข่าวร้ายครั้งยิ่งใหญ่ เมื่อเกิดเหตุการณ์อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่ม ถือเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ที่คนโคราชไม่มีวันลืมเลือน
ยุคก่อนที่เศรษฐกิจจะตกต่ำ โรงแรมต่าง ๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ดในจังหวัดนครราชสีมา หนึ่งในนั้นคือ "โรงแรม รอยัล พลาซ่า" หรือชื่อเดิม "โรงแรม เจ้าพระยาเมืองใหม่" ซึ่งตั้งอยู่ถนนจอมสุรางค์ยาตร์ กลางเมืองนครราชสีมา ถือเป็นโรงแรมหรู 1 ใน 5 ของจังหวัด
ปี 2533 กลุ่มผู้บริหารลงความเห็นว่า ควรมีการต่อเติมอาคารจากเดิม 3 ชั้น เป็น 6 ชั้น เพื่อรองรับการขยายตัวของธุรกิจท่องเที่ยว จากนั้นโรงแรมแห่งนี้ก็มีการต่อเติม และขยายพื้นที่ของอาคารอย่างผิดหลักวิศวกรเรื่อยมา โดยไม่ใส่ใจถึงความปลอดภัยในชีวิตของพนักงาน และแขกที่เข้ามาพักในโรงแรมแม้แต่น้อย เจ้าของโรงแรมได้ลักลอบต่อเติมอาคารอย่างไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการตัดเสาขนาดใหญ่ตรงกลางห้องอาหารของโรงแรมทิ้ง หวังเพิ่มพื้นที่ใช้สอย และต้องการให้แขกสามารถเห็นนักร้องได้ชัดเจนขึ้น
และแล้วหายนะครั้งร้ายแรงก็อุบัติขึ้นเมื่อเวลาราว 10 โมงเช้า วันที่ 13 สิงหาคม พุทธศักราช 2536 ตัวโรงแรมเกิดการทรุดตัวอย่างรุนแรง และถล่มลงมาทั้งอาคารในเวลาไล่เลี่ยกัน
โดยตัวโรงแรมเริ่มทรุดตัวจากตอนกลางของอาคารก่อน จากนั้นปีกทั้งสองด้านข้างของอาคารก็พังซ้ำลงมาอีก การทรุดตัวอย่างรุนแรง และรวดเร็วก่อให้เกิดเสียงดังปานฟ้าถล่มดินทลาย ฝุ่นผงจากซากอาคารตลบคลุ้งทั่วบริเวณกองซากปรักหักพังกลบฝังร่างมนุษย์กว่า 500 ชีวิต ทั้งพนักงานโรงแรม และแขกที่เข้าพัก
จากนั้น ศพแล้วศพเล่าก็ถูกลำเลียงออกมา บางศพอยู่ในสภาพสมบูรณ์ บางศพกู้ได้เฉพาะอวัยวะที่มีชิ้นส่วนกระจัดกระจายจำเค้าเดิมแทบไม่ได้ โดยมีผู้เสียชีวิตถึง 137 ราย บาดเจ็บ 227 คน ในจำนวนผู้เสียชีวิตมีข้าราชการครูถึง 47 ราย พนักงานบริษัทเชลล์ฯ 24 ราย พนักงานโรงแรม 33 ราย และผู้มาใช้บริการ 33 ราย โดยมีผู้รอดชีวิตกว่า 150 คน
โชคยังเข้าข้างที่มีผู้รอดชีวิตหลงเหลืออยู่บ้าง ทำให้ผู้ป่วย ที่เข้ารักษาในพื้นที่แน่นขนัดจนแทบล้นโรงพยาบาล
การฟ้องร้องดำเนินคดีต่างๆได้สิ้นสุดคดีเมื่อปลายปี 2543 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย ศาลฎีกาพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต นายบำเพ็ญ พันธ์รัตนอิสระ วิศวกรควบคุมการก่อสร้าง ซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 ส่วนผู้บริหารโรงแรมทั้งหมดพิพากษายกฟ้อง ด้วยเหตุผลจากคำพิพากษาเพราะผู้บริหารโรงแรมไม่มีความรู้เรื่องโครงสร้างโดยได้ว่าจ้างวิศวกรคือนายบำเพ็ญ ซึ่งมีความรู้มารับผิดชอบในการต่อเติมอาคารโรงแรม ดังนั้นผู้บริหารจึงไม่มีความผิด ดังนั้นศาลจึงพิพากษายกฟ้องจำเลยที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
ในส่วนคดีแพ่งนั้นการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่เสียชีวิต ศาลได้พิพากษาให้ บริษัท รอยัลพลาซ่าโฮเตล จำกัด ชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและผู้ที่เสียชีวิตทั้งหมด ซึ่งทางบริษัทรอยัลพลาซ่าโฮเตลจำกัด ได้ดำเนินการประนีประนอมชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เคราะห์ร้ายทุกราย
แต่สำหรับเหตุการณ์อาคารโรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่ม เมื่อ 26 ปีที่ผ่านมา จะเป็นอุทาหรณ์และกลายเป็นคดีตัวอย่างให้กับ เจ้าของอาคารสูง รวมไปถึงผู้บริหารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เป็นบทเรียนเป็นอย่างดี ถึงการดำเนินการก่อสร้างอาคารและการอนุญาตแบบแปลนก่อสร้างอาคารที่ไม่ถูกต้องตามหลัก พรบ.ควบคุมอาคาร
หลังจากเหตุการณ์นั้น ก็มีเรื่องเล่าต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะคนที่อยู่แถวนั้น หรือคนที่มีบ้านติดกับพื้นที่นั้น ต่างก็พูดกันว่า ได้ยินเสียงคนร้องโอดโอย ร้องขอความช่วยเหลือ อยู่เป็นประจำ
มีอยู่ช่วงหนึ่ง พื้นที่ตรงนี้ ถูกพัฒนาให้เป็นตลาดกลางคืนแห่งใหม่ครับ แต่ก็อยู่ได้ไม่นาน เหล่าพ่อค้าแม่ค้าบ่นว่าขายไม่ดี ก็เริ่มทะยอยออกจากตลาด บางรายก็บอกว่าผีหลอก
หรืออีกเหตุการณ์หนึ่งที่คนโคราชเล่าต่อๆกันมา โดยเหตุเกิดช่วงกลางคืน รถตุ๊ก ๆ คันหนึ่ง วิ่งผ่านถนนสายนั้น และกำลังจะผ่านบริเวณที่ตึกถล่ม มีผู้หญิงคนหนึ่ง ยืนโบกมือเรียกรถตุ๊ก ๆ เธอบอกว่า อยากกลับบ้าน ช่วยไปส่งที่ บขส. ให้หน่อย รถตุ๊ก ๆ คันนั้น ก็พาผู้หญิงคนนั้น ไปส่งที่ บขส. ซึ่งก็อยู่ไม่ไกลจากโรงแรมแห่งนี้ เมื่อไปถึง บขส. คนขับรถตุ๊ก ๆ ก็จอดรถ และหันหลังไปเพื่อจะบอกกับลูกค้าและเก็บเงินค่าโดยสาร แต่ปรากฏว่า "ไม่มีคนนั่งอยู่บนรถ"
ในวันที่ 13 สิงหาคมของทุกปี ครอบครัวและญาติของผู้เสียชีวิต นำโดย นายชวลิต ตันฑเศรณีวัฒน์ ที่เสียขาทั้งสองข้างจากตึกถล่ม ได้รวมตัวกัน ทำบุญและอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้เคราะห์ร้ายเป็นประจำทุกปี ก็เพื่อเป็นการส่งวิญญาณผู้เสียชีวิตที่ล่วงลับให้ไปสู่สุคติ และเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้เคราะห์ร้ายจากเหตุการณ์โรงแรมรอยัลพลาซ่าถล่มอีกด้วย และยังเป็นการรำลึกถึงเหตุการณ์โศกนาฏกรรม โรงแรมยอรัลพลาซ่าถล่ม ในครั้งนั้นอย่างไม่มีวันลืมเลือน