หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ประวัติเจ้าแม่สองนางแห่งเมืองมุกดาหาร

เนื้อหาโดย sun191

  เรื่องเล่าเกี่ยวกับเจ้าแม่สองนาง ส่วนใหญ่มีลักษณะโครงเรื่องที่คล้ายกัน คือ พระธิดาหรือลูกหลานของเจ้าเมือง หรือนักรบ ซึ่งเป็นพี่น้องกันหรือฝาแฝดกัน ล่องเรืออพยพมาตามแม่น้ำโขง แล้วเกิดเรือล่มทำให้เสียชีวิตในแม่น้ำโขง ต่อมาวิญญาณได้ปรากฏให้ชาวบ้านตามชุมชนต่าง ๆ พบเห็น เจ้าแม่สองนางเป็นเรื่องเล่าที่สัมพันธ์กับประวัติการอพยพย้ายถิ่นของผู้คนและชุมชนที่เคยเป็นหัวเมืองเก่าในสมัยอาณาจักรล้านช้างมาก่อนเกือบทั้งสิ้น

 

     เจ้าแม่สองนาง (ตำนานของจังหวัดมุกดาหาร) มีอยู่ว่า ราวปี พ.ศ. ๑๘๙๖ เจ้าฟ้างุ้ม แห่งเมืองล้านช้าง เป็นบุตรเขยกษัตริย์เมืองอินทะปัด ได้พาลูกหลานอพยพตามลำน้ำโขงผ่านเมืองหนองคาย เมืองนครพนม จนถึงเขตเมืองมุกดาหาร แล้วเกิดเรือล่มที่บริเวณปากห้วยมุกทำให้ธิดาทั้งสองคน คือ พระนางพิมพา กับพระนางลมพามา สิ้นชีพตักษัย จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๓๑๓ เจ้ากินรีได้มาสร้างเมืองมุกดาหารพร้อมกับได้สร้างโบสถ์วัดศรีมงคลใต้ขึ้น และในขณะก่อสร้าง ได้พบพระเมาลีพระพุทธรูปเหล็กจมอยู่ใต้พื้นดิน (บริเวณศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้องในปัจจุบัน) จึงขุดไปประดิษฐาน ณ โบสถ์วัดศรีมงคลใต้ แต่พอรุ่งขึ้น พระพุทธรูปเหล็กองค์นั้น ก็กลับมาประดิษฐานอยู่ที่เดิมที่พบในครั้งแรกอีก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า "พระหลุบเหล็ก"

 

     ประกอบกับบริเวณดังกล่าว ทุกวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๖ จะมีเสียงร่ำไห้ของผู้หญิงสองคน ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าเป็นเสียงของพระนางพิมพากับพระนางลมพามา  และได้แสดงอภินิหารให้ปรากฏอยู่เนืองๆ เจ้ากินรี เจ้าเมืองมุกดาหารได้สืบทราบประวัติแห่งความเป็นมาจึงตั้งศาลขึ้น ณ ที่แห่งนั้น เพื่อให้วิญญาณ ได้สิงสถิต เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๕ และได้ขนาน นามว่า "ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง" อันเป็นที่เคารพสักการะของชาวเมืองมุกดาหารโดยทั่วกัน โดยถือเอาเดือนพฤษภาคม ของทุกปีเป็นเดือนที่ทำพิธี เซ่นไหว้และบวงสรวง ศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง

 

     ตั้งแต่นั้นมาจนถึงทุกวันนี้ ชาวจังหวัดมุกดาหารถือว่าศาลเจ้าแม่สองนางพี่น้อง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ คู่กับศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง ผู้ใดที่เคารพสักการะ ศาลเจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมืองแล้ว จะเลยไปเคารพสักการะศาลเจ้าแม่ สองนางพี่น้องด้วยเสมอ โดยในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ของทุกปี ชาวจังหวัดมุกดาหารจะจัดให้มีพิธีบวงสรวง

 

     เจ้าพ่อเจ้าฟ้ามุงเมือง และเจ้าแม่สองนางพี่น้องพร้อมกัน เจ้าแม่สองนางเป็นเรื่องเล่าที่แพร่หลายในชุมชนชายฝั่งแม่น้ำโขงและภาคอีสานตอนกลางที่มีศาลหรือหอเจ้าแม่สองนางตั้งอยู่หลายในพื้นที่ คือ ที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอท่าบ่อ ตำบลเวียงคุก ชุมชมวัดหายโศก อำเภอเมือง และอำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อำเภอบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ และในหลายอำเภอของ จังหวัดนครพนม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดยโสธร

 

     ตำนานและความเชื่อเรื่องเจ้าแม่สองนางในเขตชุมชนเมืองและจังหวัดภูมิภาคอีสาน มักจะได้ความสนใจจากกลุ่มนักท่องเที่ยวอย่างมาก เพราะหน่วยงานการท่องเที่ยวในแต่ละจังหวัดจะนำตำนานเกี่ยวกับเจ้าแม่สองนางเผยแพร่ในเว็บไซต์ของจังหวัด เพื่อประชาสัมพันธ์สถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญของจังหวัด จึงทำให้ตำนานและความเชื่อเรื่องเจ้าแม่สองนาง ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งในเมืองไทยและในประเทศเพื่อนบ้าน

 

     ตำนานเจ้าแม่สองนาง เรื่องเล่าของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) นี้ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ได้ขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ในสาขาวรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ประเภทนิทานพื้นบ้าน ถือเป็นเรื่องราวหนึ่งในความเชื่อที่ส่งผลต่อวิถีชีวิตของผู้คนในท้องถิ่นอีสานที่แสดงออกซึ่งความกตัญญูต่อบรรพบุรุษของตน ด้วยการประกอบพิธีกรรมบวงสรวงและเซ่นไหว้ในช่วงเดือน ๖ เป็นประจำทุกปี เพื่อให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และสันติสุขแก่ชุมชน ที่ยังมีความเชื่อในตำนานเจ้าแม่สองนางอย่างแนบแน่น

 

ขอขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดมุกดาหาร

เนื้อหาโดย: sun191
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
sun191's profile


โพสท์โดย: sun191
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: อ้ายเติ่ง
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
โบราณสถานอายุกว่า 1,300 ปี แห่งไซบีเรีย ซึ่งเต็มไปด้วยปริศนาที่รอคำตอบโบสถ์เซนต์แมรี่แห่งไซออน, เอธิโอเปียเขาพระวิหาร: สัญลักษณ์แห่งความงดงามและความขัดแย้งภาพสุดท้าย
ตั้งกระทู้ใหม่