7 สะพานสวย ในประเทศไทย !!
รวม 7 สะพานสวย ในประเทศไทย
1.สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร
สะพานพระราม 8 มีความยาวรวม 475 เมตร เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรที่ยาวติดอันดับ 5 ของโลก มีรูปแบบโดดเด่นสวยงาม ความโดดเด่นสวยงามที่เกิดขึ้น มีการผสมผสานไปด้วยศิลปะแบบไทย ๆ จากแนวคิดในการสร้างเพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์เฉลิมพระเกียรติรัชกาลที่ 8 สิ่งพิเศษสุดของสะพานพระราม 8 คือที่ปลายยอดเสาสูงของตัวสะพานจะมีจุดชมทิวทัศน์ ซึ่งมีโครงสร้างโลหะกรุกระจก ลักษณะคล้ายดอกบัว
ที่ตั้ง ถนนวิสุทธิกษัตริย์ แขวงวัดสามพระยา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
2.สะพานซูตองเป้ แม่ฮ่องสอน
สะพานซูตองเป้ (Su-Tong-Pe) เป็นสะพานไม้ไผ่ กว้าง2เมตร ยาวประมาณ 600 เมตร ที่สร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของพระเณร และชาวบ้าน วัสดุที่ใช้เป็นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น เช่น เสาจากไม้เก่าของชาวบ้าน และปูพื้นด้วยไม้ไผ่ ทอดยาวจากสวนธรรมภูสมะถึงหมู่บ้านกุงไม้สัก ผ่านลำน้ำแม่สะงา ผ่านทุ่งนาของชาวบ้าน เพื่อให้พระภิกษุสามเณรออกรับบิณฑบาต ถือได้ว่าเป็น 'สะพานไม้แห่งศรัทธา'
ที่ตั้ง สะพานซูตองเป้ สวนธรรมภูสมะ บ้านกุงไม้สัก อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน
3.สะพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพมหานคร
สะพานพระพุทธยอดฟ้า หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า สะพานปฐมบรมราชานุสรณ์ ป็นสะพานที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่เชื่อมระหว่างฝั่งพระนครกับฝั่งธนบุรี นอกจากสะพานพระพุทธยอดฟ้าจะเป็นที่ประดิษฐานปฐมบรมราชานุสรณ์แล้ว ยังเป็นลานสาธารณะให้คนมาใช้พักผ่อนหย่อนใจ นอกจากนี้ ยังมีตลาดนัดยามค่ำคืน ที่มีสินค้าแฟชั่นหลากหลายอีกด้วย
ที่ตั้ง ถนนสะพานพุทธแขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
4.สะพานขัวเหล็ก เชียงใหม่
ขัวเหล็ก ก็คือสะพานเหล็ก ซึ่งมีเพียงแห่งเดียวในเชียงใหม่ และเป็นสะพานสุดฮิตในหนังหลายๆ เรื่องที่มาถ่ายทำที่เชียงใหม่ ขัวเหล็กเดิมก็คือสะพานนวรัฐ เริ่มแรกสะพานนวรัฐสร้างด้วยไม้ ต่อมาได้เกิดเพลิงไหม้สะพาน ทางราชการจึงสร้างสะพานเหล็กลำลองพอให้รถวิ่งข้าไปมาได้ เมื่อรถไฟมาถึงเชียงใหม่ในปี พ.ศ.2464 จึงมีการรื้อสะพานเดิมแล้วสร้างสะพานเหล็กหรือขัวเหล็กนี้ขึ้นแทน สะพานเหล็กแห่งนี้ใช้มาจนถึงปี พ.ศ2510 จึงย้ายขัวเหล็กมาตั้งไว้ ณ ที่ปัจจุบันและสร้างเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
5.สะพานรัษฎาภิเศก ลำปาง
สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เดิมเป็นสะพานโครงสร้างไม้ ที่ทางเจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปาง และชาวจังหวัดลำปางได้จัดสร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในวาระที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 5 ในโอกาสที่พระองค์ครองราชย์ครบ 25 ปี ในปี พ.ศ. 2437
สะพานรัษฎาภิเศกภิเษกยังทำหน้าที่สัญลักษณ์ของเมืองลำปาง ในฐานะของ 'ขัวสี่โก๊ง(สะพานสี่โค้ง)' 'ขัวหลวง (สะพานใหญ่)' 'ขัวขาว (สะพานขาว)'
ที่ตั้ง ต.หัวเวียง อ.เมืองลำปาง จ.ลำปาง
6.สะพานตากสินมหาราช จันทบุรี
สะพานตากสินมหาราช เป็นสะพานที่ทอดข้ามปากแม่น้ำจันทบุรีที่อำเภอแหลมสิงห์ เชื่อมต่อระหว่างตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ และตำบลบางกะไชยที่อยู่ฝั่งตรงข้าม เป็นสะพานที่ยาวที่สุดในภาคตะวันออก มีความยาว ระยะทาง 1,060 เมตร และยังจัดได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "ถนนเฉลิมบูรพาชลทิต" ซึ่งเป็นถนนสายท่องเที่ยวเลียบชายฝั่งทะเลที่ยาวและงดงามที่สุดในภาคตะวันออก ที่เชื่อมต่อระหว่างชาดหาดต่างๆ และแหล่งท่องเที่ยวสำคัญชายทะเลของของจังหวัดจันทบุรี มีทัศนียภาพและจุดชมวิวที่สวยงาม
ที่ตั้ง เขต คลองสาน จังหวัด กรุงเทพมหานคร
7.สะพานติณสูลานนท์ สงขลา
สะพานติณสูลานนท์ เป็นสะพานคอนกรีตที่ยาวที่สุดในประเทศไทย สร้างขึ้นในสมัย พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จุดประสงค์ของการสร้างสะพานแห่งนี้ คือ การรองรับการคมนาคมทางรถยนต์ โดยไม่ต้องรอข้ามแพขนานยนต์ ชาวจังหวัดสงขลานิยมเรียกสะพานนี้ติดปากว่า 'สะพานป๋าเปรม' 'สะพานติณ' หรือ 'สะพานเปรม' และถือเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งที่ขึ้นชื่อของจังหวัด
ที่ตั้ง อำเภอเมืองสงขลา สงขลา