“ตำลึง” ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ ได้จริงหรือไม่
แต่เดิมนั้นตำลึงเป็นผักพื้นบ้านที่ขึ้นเองเลื้อยตามรั้วหรือตามพุ่มไม้อื่น แต่ปัจจุบันมีการปลูกเก็บยอดเพื่อบริโภคและการค้า โดยทั่วไปจะให้ผลผลิตมากในฤดูฝน แต่ในช่วงอื่นของปีตำลึงไม่ค่อยแตกยอดใหม่ทำให้ผลผลิตผักตำลึงมีน้อยและใบค่อนข้างแก่ การศึกษาปัจจัยทางกายภาพที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางลำต้นและการผลิตยอดใหม่เพื่อกระตุ้นให้มีการแตกยอดได้ตลอดปี
ลักษณะทางพฤษศาสตร์
ตำลึงจัดเป็นพืชในตระกูลไม้เลื้อย มีใบเป็นใบเดี่ยว มีมือเกาะ ใบตำลึงจะแผ่เว้าเป็น 5 แฉก ขนาดใบตำลึงมีความกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมมน ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3-6 เซนติเมตร
ดอกตำลึงมีสีขาว เป็นดอกเดี่ยว แยกเพศ ดอกตำลึงเพศผู้จะมีขนาด 4-6 เซนติเมตร 1 ดอก มีอยู่ 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 3 อัน ส่วนดอกตำลึงเพศเมีย เกสรจะแยกเป็น 3-5 แฉก ส่วนกลีบดอกเหมือนดอกตำลึงเพศผู้ทุกประการ
ผลตำลึงมีรูปทรงป้อม ขอบขนาน ขนาดผลกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ถ้าผลตำลึงอ่อนจะมีสีเขียว ผลตำลึงแก่จะมีสีส้มออกแดง ข้างในผลตำลึงจะมีเมล็ดลักษณะแบนรี ขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร จำนวนมาก
สรรพคุณของตำลึง
- บำรุงสายตา นอกจากวิตามินเอแล้ว เบต้าแคโรทีนในตำลึงยังเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถเปลี่ยนตัวเองเป็นวิตามินเอได้อีก ดังนั้นตำลึงจึงจัดเป็นอาหารบำรุงสายตาที่หากินได้ง่าย ๆ
- เสริมภูมิต้านทาน จะเห็นได้ว่าตำลึงมีวิตามินเอและเบต้าแคโรทีนซึ่งเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอค่อนข้างสูง ส่วนนี้จะช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้เราไม่ป่วยไข้ได้ง่าย ๆ โดยเฉพาะอาการไข้หวัด
- ตำลึงรักษาเบาหวาน จากการศึกษาของสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า ใบตำลึงมีแคลเซียมสูง และแคลเซียมจากตำลึงยังเป็นแคลเซียมชนิดที่ร่างกายสามารถดูดซึมไปใช้ได้เทียบเท่ากับแคลเซียมที่อยู่ในนมวัว ดังนั้นผู้ที่มีอาการแพ้นมวัว หรือดื่มนมแล้วท้องเสียก็สามารถหันมารับแคลเซียมจากตำลึงแทนได้เช่นกัน
- แก้อาการแสบคันจากแมลงสัตว์กัดต่อย ใบตำลึงมีฤทธิ์เย็น ช่วยดับพิษร้อนจากแมลงสัตว์กัดต่อยได้ในระดับหนึ่ง โดยให้ล้างแผลด้วยน้ำไหลให้สะอาด จากนั้นใช้ใบตำลึงไม่แก่จัดหรืออ่อนจัดจนเกินไป ล้างใบตำลึงให้สะอาด จากนั้นขยี้ใบตำลึงแล้วมาประคบผิวบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อยสักพัก อาการแสบคันจะบรรเทาขึ้น แต่หากอาการแสบร้อนยังไม่หาย ให้หมั่นเปลี่ยนใบตำลึงบ่อย ๆ แต่หากอาการแสบร้อนหาย แต่อาการคันไม่หาย แนะนำให้ใช้ยาทาแก้คันแผนปัจจุบันร่วมด้วย
- ช่วยย่อยอาหาร ใบตำลึงและเถาตำลึงมีเอนไซม์อะไมเลสอยู่มาก ซึ่งเอนไซม์ตัวนี้มีคุณสมบัติช่วยย่อยอาหารจำพวกแป้งได้ดี ดังนั้นใครมีอาการแน่นท้อง ท้องอืดจากอาหารไม่ย่อย โดยเฉพาะคนที่กินแป้งเข้าไปมาก ๆ ให้ใช้ใบตำลึงประมาณ 1 กำมือ ผสมกับเถาตำลึงเด็ดขนาดเท่านิ้วก้อย 1 กำมือ โขลกรวมกันจนเป็นเนื้อเดียว จากนั้นคั้นเอาแต่น้ำตำลึงมาผสมน้ำอุ่น 1 แก้วกาแฟ กินก่อนอาหารประมาณ 5-10 นาที เพื่อเรียกน้ำย่อย หรือจะใช้ใบตำลึงแก่ลวกพอสุก กินเป็นผักเคียงพร้อมกับอาหารในแต่ละมื้อเลยก็ได้
สรรพคุณทางยาของตำลึง
- ใบ มีรสเย็น สรรพคุณดับพิษร้อน ถอนพิษ แก้แสบคัน บรรเทาเริม งูสวัด โดยนำใบมาขยี้คั้นเอาแต่น้ำ แล้วทาบริเวณที่เป็น
- เถา มีรสเย็น สรรพคุณช่วยรักษาโรคตาเจ็บ ใช้แก้ตาฟาง ตาช้ำ โดยใช้เถาโขลกพอแหลก แล้วนำมาประคบตา
- ดอก ใช้แก้คัน คั้นเอาแต่น้ำ มาทาบริเวณที่คัน
- ผล รักษาโรคผิวหนัง รักษาอาการอักเสบของหลอดลม และช่วยลดน้ำตาลในเลือด โดยคั้นน้ำจากผลสดมาดื่มวันละ 2 ครั้ง
- เมล็ด นำมาตำกับน้ำมันมะพร้าว ใช้แก้หิด
- ราก ใช้ต้มกับน้ำดื่มลดไข้ ลดอาเจียน
- ต้น ใช้กำจัดกลิ่นตัว น้ำต้มจากต้นตำลึงรักษาเบาหวานได้