ทะเลทรายเกิดขึ้นได้อย่างไร
ทะเลทราย (desert) หมายถึง พื้นที่แห้งแล้งอย่างรุนแรง มีฝนตกโดยเฉลี่ยน้อยกว่า 25 เซนติเมตร มีอัตราการระเหยสูง และไม่มีธารน้ำถาวร ซึ่งกระบวนการเกิดทะเลทราย (desertification) มีสาเหตุมาจากทั้งธรรมชาติ เช่น ปรากฏการณ์โลกร้อน (global warming) การลดระดับของน้ำใต้ดิน และจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ทำลายป่า
สถานที่ที่เคยเป็นทะเลมาก่อนแล้วน้ำทะเลได้ลดหายไปตามกาลเวลา
ทำให้สถานที่นั้นมีแต่ทรายซึ่งไม่เหมาะแต่การเจริญเติมโตของพืช ทำให้เป็นสถานที่ แห้งแล้งในที่สุด
ทะเลทรายซาฮารา เป็นทะเลทรายที่ใหญ่ที่สุดในโลก แต่ก็ยังเล็กกว่าทะเลน้ำแข็ง
ที่บริเวณขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้
ภูมิศาสตร์ ทะเลทรายสะฮาราครอบคลุมส่วนใหญ่ของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนแอลจีเรีย, ชาด, อียิปต์, ลิเบีย, มาลี, มอริเตเนีย, โมร็อกโก, ไนเจอร์, เวสเทิร์นสะฮารา, ซูดานและตูนิเซีย ทะเลทรายสะฮารา มีความกว้างขวางถึง 9,000,000 ตารางกิโลเมตร ใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียทั้งทวีป มีขนาดพื้นที่พอ ๆ กับสหรัฐอเมริกา
ภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) มีอุณหภูมิสูงเฉลี่ย 35 องศาเซลเซียส ในฤดูร้อนและ 18 องศาเซลเซียสในฤดูหนาว มีความแห้งแล้งและมีฝนตกน้อยมาก เนื่องจากอิทธิพลของมวลความกดอากาศสูงแผ่ลงมาปกคลุม รวมถึงไม่มีลมที่พัดจากทะเลเข้าสู่แผ่นดิน
ทะเลทรายที่ร้อนที่สุด
ทะเลทรายลุตหรือดาชต์เอลุต
(Dasht-e Lut) ในประเทศอิหร่าน คือสถานที่ซึ่งครองแชมป์อุณหภูมิพื้นผิวร้อนแรงที่สุดของโลกตัวจริง ด้วยสถิติร้อนเกือบถึงจุดเดือดที่ 80.8 องศาเซลเซียส