หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ราชกิจจาฯประกาศ กฎ ก.พ. 2566 กำหนดเหลือ 4 โรค ห้ามรับราชการ

โพสท์โดย Jujubee

ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ กฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566 กำหนด 4 โรคต้องห้าม ในการรับราชการ เป็นข้าราชการพลเรือน ต้องมีวิธีการตรวจตามหลักเกณฑ์ เพื่อไม่ให้เป็นเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่ ระบุชัดมีกลุ่ม “โรคเรื้อรัง” รวมอยู่ด้วย

 

 

 

วันที่ 18 สิงหาคม 2566 เว็บไซต์ราชกิจจานเบกษา ได้เผยแพร่ประกาศ  กฎ ก.พ.ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2566 ลงนามโดยนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.พ.

 

ประกาศฉบับดังกล่าวระบุว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 8 (5) และมาตรา 36 ข. (2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551 ก.พ. โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีจึงออกกฎ ก.พ. ไว้ ดังต่อไปนี้

 

ข้อ 1 กฎ ก.พ. นี้ เรียกว่า “กฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ.2566”

ข้อ 2 ให้ยกเลิกกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553

ข้อ 3 กฎ ก.พ. นี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

ข้อ 4 โรคตามมาตรา 36 ข. (2) ประกอบด้วย

(1) โรคเท้าช้างในระยะที่ปรากฎอาการเป็นที่รังเกียจแก่สังคม

(2) โรคติดยาเสพติดให้โทษ

(3) โรคพิษสุราเรื้อรัง

(4) โรคติดต่อร้ายแรงหรือโรคเรื้อรังที่ปรากฏอาการเด่นชัดหรือรุนแรง และเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานในหน้าที่

 

ข้อ 5 วิธีการตรวจโรคตามข้อ 4 ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการแพทย์ ของ ก.พ. กำหนด

สำหรับ เหตุผลในการประกาศใช้กฎ ก.พ. ฉบับนี้ ระบุว่า โดยที่ปัจจุบันมีโรคเกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ทั้งโรคติดต่อ และโรคไม่ติดต่อ ซึ่งโรคดังกล่าวส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของข้าราชการ ประกอบกับกฎ ก.พ. ว่าด้วยโรค พ.ศ. 2553 บังคับใช้มาเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี จึงอาจมีความไม่เหมาะสมกับสภาวการณ์โรคในปัจจุบัน

ดังนั้น เพื่อให้ทางราชการได้มาและรักษาไว้ซึ่งบุคคลที่เป็นผู้มีสุขภาพทางกายและจิตเหมาะสม และไม่เป็นโรคร้ายแรงที่เป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือน รวมทั้งกำหนดให้มีหลักเกณฑ์และวิธีการในการตรวจร่างกายและจิตใจ เพื่อให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ราชการได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นต้องออกกฎ ก.พ. นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า สำหรับโรคเริ้อรังตาม(4) เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือเรียกชื่อภาษาอังกฤษสั้น ๆ ว่า โรค NCDs ซึ่งคนไทยเป็นกันมาก โดยเฉพาะเมื่อมีอายุมากขึ้น เช่นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง

อย่างไรก็ตามกลุ่มโรคเรื้อรังนี้ เป็นโรคที่ไม่ได้เกิดขึ้นจากการติดเชื้อโรค และไม่ได้ติดต่อจากคนสู่คน โดยการสัมผัสหรือการหายใจ แต่เป็นโรคที่เกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสมของคนเรา และต้องมีการรักษาเป็นระยะเวลานาน ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย เป็นต้น

สำหรับกลุ่มโรค NCDs นี้ที่รู้จักกันดี ประกอบด้วย โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคอ้วน ลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคถุงลมโป่งพอง และโรคมะเร็ง เป็นต้น

 

อนึ่ง ก.พ. ย่อมาจาก คำว่า "คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน"

 

 

ที่มา: https://ratchakitcha.soc.go.th/

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: https://ratchakitcha.soc.go.th/
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Jujubee's profile


โพสท์โดย: Jujubee
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
15 VOTES (5/5 จาก 3 คน)
VOTED: ลิลลี่ ไมโครนอส, ชตระกูล ศรีสวัสดิ์, Jujubee
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ฉันขายให้ผู้ดีกิน! "เดย์ ฟรีแมน" โต้ขายขนมแพง ตอกกลับเจ็บจี๊ด มีหน้าชาทุกคอมเม้นต์ฮือฮา : สับปะรดแปลก 1 ต้น มี 7 หัว เผยเกิดมาไม่เคยเจอ ชาวบ้านเชื่อให้โชค งานนี้คอหวยไม่พลาด..!30 แคปชั่นต้อนรับเดือนพฤษภาคม 2567 ความหมายดี สวัสดีเดือนพฤษภา hello mayไม่ควรกิน"แตงโม"ถ้าอยู่ในคน7กลุ่มนี้!!เลขเด็ดวันแรงงาน เลขไหนดัง เลขไหนเข้า มาเช็คกันก่อนลุ้นรางวัลเลย!!!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ฮือฮา : สับปะรดแปลก 1 ต้น มี 7 หัว เผยเกิดมาไม่เคยเจอ ชาวบ้านเชื่อให้โชค งานนี้คอหวยไม่พลาด..!wary: ระมัดระวังรวมวิธีให้ จูบครั้งแรก ไม่มีแป๊ก ไม่มีอ๊อง...ต้องทำให้ประทับใจให้ได้ซิ..."อนุทิน" ประกาศรับวันแรงงาน ปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เริ่ม 1 ต.ค. เป็นต้นไป
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
คลิปฝนตกหนัก กลายเป็นไวรัลในจีนปลานับแสนตายเพราะน้ำในเขื่อนร้อนจนแห้งฉันขายให้ผู้ดีกิน! "เดย์ ฟรีแมน" โต้ขายขนมแพง ตอกกลับเจ็บจี๊ด มีหน้าชาทุกคอมเม้นต์"อนุทิน" ประกาศรับวันแรงงาน ปรับค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาท เริ่ม 1 ต.ค. เป็นต้นไป
ตั้งกระทู้ใหม่