หนี้นามธรรม
หนี้นามธรรม มีใครเคยได้ยินคำนี้บ้าง ในความหมายของมัน ณ ตอนนี้ ก็คงจะหมายถึง หนี้ที่จับต้องไม่ได้ ส่วนหนี้อีกแบบหนึ่งคือหนี้ที่จับต้องได้ ก็คือหนี้ที่เป็นหนี้ในรูปของตัวเงิน หรือ หนี้ที่เป็นรูปธรรม
ประมาณว่า หนี้บ้าน รถยนต์ หนี้บัตรเครดิต
คือ เป็นหนี้ ที่เราเข้าทำสัญญากับสถาบันการเงินไม่ว่าจะเป็นของรัฐบาล หรือเอกชน
เช่น กู้เงินซื้อบ้าน ซื้อรถยนต์ ข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ แม้กระทั่งการกิน การเที่ยว เรายังใช้วิธียืมเงินมาจ่ายก่อน คือการรูดบัตรเครดิต
(รูดปื้ด รูดปื้ด ) ซึ่งคนที่จะสามารถเป็นหนี้แบบนี้ได้จะต้องเป็นลูกจ้างขององค์กรใด องค์กรหนึ่ง พูดง่าย ๆคือ มีงานทำเป็นหลักแหล่ง มีเงินเดือนประจำ มีอาชีพที่ดี มีรายได้ดี ที่สถาบันการเงินดูแล้ว พิจราณาแล้ว สามารถให้เครดิตได้ ตามหลักเกณณ์ของสถาบันการเงินนั้นๆ. แต่คุณเชื่อใหม ผมสนับสนุน ให้คุณเป็นหนี้พวกนี้ เพราะเป็นหนี้ที่คุณ มีความสามารถสร้างมันขึ้นมาด้วยตัวคุณเอง ตามความรู้ความสามารถ ตามเครดิตของคุณเอง จงภูมิใจกับมัน เพราะว่าอะไรหรือครับ เพราะเมื่อเวลาที่คุณใช้ หนี้หมด แล้วตามสัญญาก็ ถือว่าจบ กัน ไม่มีอะไรต่อกัน คือ ปิดบัญชี
แต่มีหนี้อีกแบบหนึ่ง ที่เรียกว่าว่า หนี้นามธรรม (มีความเสี่ยงนามธรรม ตามมาด้วย ) ที่บ้างครั้งคุณไม่สามารถที่จะเป็นหนี้กับสถาบันได้ คุณก็ต้องหันมาหาตัวบุคคล อาจจะเป็นบุคคลใกล้ชิด คนที่คุณูรู้จัก เพื่อนฝูง (ญาติพี่น้อง อันนี้จะเรียกว่ายืมตังค์ ) อาจจะเสนอดอกเบี้ยให้จำนวนหนึ่ง ซึ่งเมื่อเรา ใช้หนี้ บวกดอกเบี้ย จนหมดแล้ว แต่เชื่อใหมครับมันจะมีหนี้อีกแบบปรากฏขึ้นมาทันที่ คือ หนี้ที่เรียกว่า หนี้บุญคุณ (หนี้นามธรรม ) บางรายใช้หนี้พร้อมดอกเบี้ยจนหมดแล้วนะครับ แต่หนี้บุญคุณ ไม่จบ จะมีอะไรให้พูดกันต่อโดยบุคคลที่ 3
และเราก็จะเกิดความเสี่ยงที่จะเป็น คนเลว คนไม่ดี ถึงขั้นเณรคุณ ด้วย
เพราะฉะนั้นครับ ผมสนับสนุนให้ทุกคนเป็นหนี้กับสถาบันการเงินต่างๆ เพราะเราสร้างมันด้วยตัวเราเอง ความสารถของเราเอง จงภูมิใจกับมัน และอย่าลืมเมื่อเราใช้หนี้หมด ก็คือ จบกัน ไม่มีหนี้บุญคุณต่อกัน .
ปล.เมื่อเราได้รับอนุมัติวงเงินสินเชื่อจากสถาบันการเงินแล้ว ก็บริหารเงินของตัวเองดีๆ นะครับ แบ่งเงินมาใช่หนี้ตามกำหนดเวลาจนกว่าจะหมด ถ้าไม่อย่าสงนั้นเราจะเสียเครดิต หรือที่เรียกว่าติดเครดิต ไม่สามารถที่จะกู้ต่อได้อีกนะครับ
สวัสดี