20.สัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย
20.สัตว์ป่าสงวนในประเทศไทย
สัตว์ป่าสงวน คือ สัตว์หายาก, ใกล้จะสูญพันธุ์ หรืออาจสูญพันธุ์ไปแล้ว จึงจำเป็นต้องมีบทบัญญัติเข้มงวดกวดขัน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายแก่สัตว์ป่าที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือซากสัตว์ป่า ซึ่งอาจจะตกไปอยู่ยังต่างประเทศด้วยการซื้อขาย โดยมีรายชื่อตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าฉบับนั้น
การครอบคลุมถึง ซากสัตว์ และครอบคลุมถึงสัตว์ที่สูญพันธุ์แล้วนั้น เพื่อเก็บรวบรวมซากไว้ให้ผู้มีหน้าที่โดยตรงได้ศึกษาทางวิชาการ, เพื่อเป็นมรดกของชาติ และเพื่อไม่ให้ผู้หนึ่งผู้ใดสะสมเป็นส่วนตัวซึ่งเป็นเหตุให้มีความต้องการล่า หากมีโอกาสหลงเหลือแม้สักตัว
1.กระซู่
กระซู่, แรดสุมาตรา หรือ แรดขนมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dicerorhinus sumatrensis เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคี่จำพวกแรด กระซู่เป็นแรดที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก และเป็นแรดเพียงชนิดเดียวที่อยู่ในสกุล Dicerorhinus มีลักษณะเด่นคือมี นอ 2 นอ เหมือนแรดแอฟริกา โดยนอจะไม่ตั้งยาวขึ้นมาเหมือนแรดชวา นอหน้าใหญ่กว่านอหลัง โดยทั่วไปยาว 15-25 ซม. ลำตัวมีขนหยาบและยาวปกคลุม เมื่อโตเต็มที่สูง 120–145 ซม. จรดหัวไหล่ ยาว 250 ซม. และมีน้ำหนัก 500-800 กก. ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้ว
2.กวางผา
มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแพะ มีหูยาว ขนตามลำตัวหยาบและหนามีสีเทาหรือน้ำตาลเทา มีแถบสีดำพาดอยู่กลางหลัง ตัวเมียจะมีสีขนอ่อนกว่าตัวผู้ บริเวณลำคอด้านในมีขนสีอ่อน ริมฝีปากและรอบ ๆ ตาสีขาว เขาสั้นมีสีดำ ตัวผู้จะมีเขาที่หนาและยาวกว่าตัวเมีย มีความยาวลำตัวและหัว 82–120 เซนติเมตร ความยาวหาง 7.5–20 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 50–60 เซนติเมตร น้ำหนัก 22–32 กิโลกรัม ผสมพันธุ์ในเดือนตุลาคม–ธันวาคม ใช้เวลาตั้งท้องนาน 6–7 เดือน ออกลูกครั้งละ 1–2 ตัว เป็นสัตว์ที่ตื่นตกใจง่าย เมื่อตกใจจะส่งเสียงร้องสั้นและสูงเป็นสัญญานเตือนภัยถึงตัวอื่น ๆ ในฝูง ใช้ประสาทการมองมากกว่าการดมกลิ่นหรือฟังเสียง
3.กูปรี
กูปรี หรือ โคไพร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bos sauveli เป็นสัตว์จำพวกกระทิงและวัวป่า เป็นสัตว์กีบคู่ ตัวโต โคนขาใหญ่ ปลายหางเป็นพู่ขน ตัวผู้ มีขนสีดำ ขนาดความสูง 1.71 - 1.90 เมตร ขนาดลำตัว 2.10 - 2.22 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 680 ถึง 910 กิโลกรัม (1,500 ถึง 2,010 ปอนด์)เขาตัวผู้จะโค้งเป็นวงกว้าง แล้วตีวงโค้งไปข้างหน้า ปลายเขาแตกออกเป็นพู่คล้ายเส้นไม้กวาดแข็ง ขาทั้ง 4 มีถุงเท้าสีขาวเช่นเดียวกับกระทิง (B. gaurus) ในตัวผู้ที่มีอายุมาก จะมีเหนียงใต้คอยาวห้อยลงมาจนเกือบจะถึงดิน เชื่อว่าใช้ในการระบายความร้อน ตัวเมีย มีขนสีเทา มีเขาตีวงแคบแล้วม้วนขึ้นด้านบน ไม่มีพู่ที่ปลายเขา มีเขากลวงแบบ Horns ขนาดเท่ากัน โคนเขาใหญ่ ปลายเขาแหลม ไม่มีการแตกกิ่ง ยาวประมาณ 1 เมตร ปัจจุบันสูญพันธ์แล้ว
4.เก้งหม้อ
เก้งหม้อ หรือ กวางเขาจุก หรือ เก้งดำ หรือ เก้ง ชื่อวิทยาศาสตร์: Muntiacus feae) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่จำพวกกวาง มีลักษณะคล้ายเก้งธรรมดา แต่ต่างกันเก้งหม้อจะมีขนบริเวณลำตัวที่เข้มกว่า ใบหน้ามีสีน้ำตาลเข้ม บริเวณกระหม่อมและโคนขามีสีเหลืองสด ด้านล่างของลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ขาทั้ง 4 ข้างมีสีดำ จึงเป็นที่มาของอีกชื่อสามัญที่เรียก ด้านหน้าด้านหลังมีสีขาวเห็นได้ชัดเจน หางสั้น หางด้านบนมีสีเข้ม แต่ด้านล่างมีสีขาว มีเขาเฉพาะตัวผู้ เขาของเก้งหม้อสั้นกว่าเก้งธรรมดา ผลัดเขาปีละ 1 ครั้ง มีความยาวลำตัวและหัว 88 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร น้ำหนัก 22 กิโลกรัม มีการกระจายพันธุ์ในภาคใต้ของพม่า, มาเลเซีย, ภาคตะวันตกและภาคใต้ของไทย
5.ควายป่า
ควายป่า เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Bubalus arnee มีลักษณะคล้ายควายบ้าน (B. bubalis) ที่อยู่ในสกุลเดียวกัน แต่ควายป่าแต่มีลำตัวขนาดลำตัวใหญ่กว่า มีนิสัยว่องไวและดุร้ายกว่าควายบ้านมาก สีลำตัวโดยทั่วไปเป็นสีเทาหรือสีน้ำตาลดำ ขาทั้ง 4 สีขาวแก่หรือสีเทาคล้ายใส่ถุงเท้าสีขาว ด้านล่างของลำตัวเป็นลายสีขาวรูปตัววี (V) ควายป่ามีเขาทั้ง 2 เพศ เขามีขนาดใหญ่กว่าควายบ้านมาก วงเขากางออกกว้างโค้งไปทางด้านหลัง ด้านตัดขวางเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายเขาเรียวแหลม ตัวโตเต็มวัยมีความสูงที่ไหล่เกือบ 2 เมตร ความยาวหัวและลำตัว 2.40–2.80 เมตร ความยาวหาง 60–85 เซนติเมตร น้ำหนักมากกว่า 1,000 กิโลกรัม
6.พะยูน
พะยูน เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในทะเลเขตอบอุ่น มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dugong dugon อยู่ในอันดับพะยูนพะยูนมีรูปร่างคล้ายแมวน้ำขนาดใหญ่ที่อ้วนกลมเทอะทะ ครีบมีลักษะคล้ายใบพายซึ่งมีวิวัฒนาการมาจากขาหน้าใช้สำหรับพยุงตัวและขุดหาอาหาร ไม่มีครีบหลัง ไม่มีใบหู ตามีขนาดเล็ก ริมฝีปากมีเส้นขนอยู่โดยรอบ ตัวผู้บางตัวเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นจะมีฟันคู่หนึ่งงอกออกจากปากคล้ายงาช้าง ใช้สำหรับต่อสู้เพื่อแย่งคู่กับใช้ขุดหาอาหาร ในตัวเมียมีนมอยู่ 2 เต้า ขนาดเท่านิ้วก้อย ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร อยู่ถัดลงมาจากขาคู่หน้า สำหรับเลี้ยงลูกอ่อน มีลำตัวและหางคล้ายโลมา สีสันของลำตัวด้านหลังเป็นสีเทาดำ หายใจทางปอด จึงต้องหายใจบริเวณผิวน้ำ 1–2 นาที อายุ 9–10 ปี สามารถสืบพันธุ์ได้ เวลาท้อง 9–14 เดือน ปกติมีลูกได้ 1 ตัว ไม่เกิน 2 ตัว แรกเกิดยาว 1 เมตร หนัก 15–20 กิโลกรัม ใช้เวลาตั้งท้องประมาณ 1 ปี กินนมและหญ้าทะเลประมาณ 2–3 สัปดาห์ หย่านมประมาณ 8 เดือน อายุประมาณ 70 ปี โดยแม่พะยูนจะดูแลลูกไปจนโต ขนาดเมื่อโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ถึง 3 เมตร น้ำหนักเต็มที่ได้ถึง 300 กิโลกรัม
7.แมวลายหินอ่อน
แมวลายหินอ่อน (อังกฤษ: Marbled cat; ชื่อวิทยาศาสตร์: Pardofelis marmorata) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์เสือ (Felidae) ที่มีขนาดเท่ากับแมวบ้าน (Felis catus) แต่มีหางยาวกว่าและมีขนที่หางมากกว่า หัวมีขนาดเล็ก กลมมน สีขนมีลวดลายเป็นแถบหรือเป็นดวงคล้ายลวดลายของเสือลายเมฆ (Neofelis nebulosa) หรือลวดลายบนหินอ่อน
8.แรดชวา
แรดชวา หรือ ระมาดหรือ แรดซุนดา (อังกฤษ: Javan Rhinoceros[5]) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ในอันดับสัตว์กีบคี่ในวงศ์แรด อยู่ในสกุลเดียวกันกับแรดอินเดีย เป็นหนึ่งในห้าชนิดของแรดที่ยังเหลืออยู่ ลำตัวยาว 3.1–3.2 ม.สูง 1.4–1.7 ม.มีขนาดใกล้เคียงกับแรดดำ เหนือจมูกมีนอสั้น ๆ หนึ่งนอมีขนาดเล็กกว่าแรดทุกชนิด จึงได้อีกชื่อว่า แรดนอเดียว ปัจจุบันสูญพันธุ์แล้ว
9.ละองละมั่ง
ละองละมั่ง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Panolia eldii) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในอันดับสัตว์กีบคู่ชนิดหนึ่ง เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลแดง แต่สีขนจะอ่อนลงเมื่อเข้าสู่ฤดูร้อน ขนหยาบและยาว ในฤดูหนาวขนจะยาวมาก แต่จะร่วงหล่นจนดูสั้นลงมากในช่วงฤดูร้อน ในตัวผู้จะเรียกว่า ละอง ตัวเมียซึ่งไม่มีเขาจะเรียกว่า ละมั่ง แต่จะนิยมเรียกคู่ ละองตัวที่ยังโตไม่เต็มวัยจะมีขนแผงคอที่ยาว ลูกแรกเกิดจะมีจุดสีขาวกระจายอยู่รอบตัว และจุดนี้จะจางหายเมื่ออายุมากขึ้น ขอบตาและริมฝีปากล่างมีสีขาว มีความยาวลำตัวและหัว 150–170 เซนติเมตร ความยาวหาง 220–250 เซนติเมตร น้ำหนัก 95–150 กิโลกรัม
10.เลียงผา
เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดหนึ่ง อยู่ในอันดับสัตว์กีบคู่ วงศ์ Bovidae อันเป็นวงศ์เดียวกับแพะ, แกะ และวัว มีรูปร่างหน้าตาคล้ายแพะ ลำตัวสั้น ขายาว ขนมีเส้นเล็กและหยาบ ขนตามลำตัวมีสีเทาอมดำ บริเวณท้องจะมีสีอ่อนกว่า สีของเลียงผาวัยอ่อนจะมีสีเข้ม แต่จะอ่อนลงเรื่อย ๆ เมื่อโตตามวัย จนดูคล้ายกับสีเทา สีขนบริเวณหน้าแข้งหรือใต้หัวเข่ามีสีดำ ตรงหัวเข่ามีสีน้ำตาลอมแดง มีแผงคอยาวในบางตัวอาจพาดไปถึงหัวไหล่ มีต่อมขนาดใหญ่อยู่ใต้ตาเห็นได้ชัดเจน ริมฝีปากมีสีขาว หูยาวคล้ายลา มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย มีรูปร่างคล้ายเขาของแพะ แต่เขาตัวเมียจะสั้นกว่าตัวผู้
11.วาฬบรูด้า
มีจุดเด่นที่ครีบหลังที่มีรูปโค้งอยู่ค่อนไปทางด้านปลายหาง แพนหางวางตัวตาม แนวราบ และมีรอยเว้าเข้าตรงกึ่งกลาง ครีบคู่หน้ามีปลายแหลม ซี่บนแผ่นกรองค่อนข้างหยาบ และเป็นสัตว์ที่ใกล้สูญพันธุ์ จึงได้รับการคุ้มครองเป็นสัตว์ป่าสงวนตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าวาฬบรูด้าพบกระจายพันธุ์ในท้องทะเลเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยพบอาศัยอยู่ในอ่าวไทย สามารถพบได้ในจังหวัดชายทะเลเกือบทุกจังหวัด แต่จะพบบ่อยที่ทะเลบ่อนอก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ลักษณะลำตัวมีสีเทาดำ รูปร่างค่อนข้างเพรียว มีลายแต้มสีขาวประปรายตรงใต้คางและใต้คอ บางตัวพบมีแถบสีจางบนแผ่นหลัง บางตัวก็มีจุดสีจางทั้งตัวคล้ายสีเทาลายกระสีขาว
12.วาฬโอมูระ
เป็นวาฬสายพันธุ์หายากที่มีความใกล้เคียงกับวาฬบรูด้า ถูกค้นพบครั้งแรกจากซากของมันในปี ค.ศ. 2003 และเมื่อพิจารณาจากซากแล้วจึงพบว่ามีความต่างจากวาฬบรูด้าคือวาฬโอมูระนั้นมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ที่โตเต็มวัยยาวเพียง 10 เมตร ตัวเมียยาวเพียง 11.5 เมตร รอยจีบใต้ลำคอมีจำนวนมากกว่า คือ 80 – 90 รอยจีบ และมีครีบหลังที่สูงกว่าและมีความโค้งน้อยกว่าของวาฬบรูด้า วาฬโอมูระนั้นเป็นวาฬในวงศ์วาฬแกลบที่หายากและมีผู้คนรู้จักน้อยชื่อของมันนั้นตั้งตามชื่อนักวิทยาศาสตร์ทางทะเลชาวญี่ปุ่นนามว่าฮิเดโอะ โอมูระ
13.สมเสร็จมลายู
เป็นสัตว์มีหน้าตาประหลาด คือ มีลักษณะของสัตว์หลายชนิดผสมอยู่ในตัวเดียวกัน มีจมูกที่ยื่นยาวออกมาคล้ายงวงของช้าง รูปร่างหน้าตาคล้ายหมูที่มีขายาว หางสั้นคล้ายหมีและมีกีบเท้าคล้ายแรด ลักษณะเด่น คือ บริเวณส่วนหัวไหล่และขาทั้งสี่ข้างมีสีดำ ส่วนกลางลำตัวเป็นสีขาว ใบหูกลม ขนปลายหูและริมฝีปากมีสีขาว มีแผ่นหนังหนาบริเวณสันก้านคอเพื่อป้องกันการโจมตีของเสือโคร่ง ที่จะตะปบกัดบริเวณก้านคอ ลูกที่เกิดใหม่จะมีลวดลายคล้ายแตงไทยและขนยาว และลายนี้จะค่อย ๆ จางลงเมื่ออายุได้ 6-8 เดือน ตัวผู้จะมีขนาดเล็กกว่าตัวเมีย โตเต็มที่ความยาวลำตัวและหัว 220-240 เซนติเมตร ความยาวหาง 5-10 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100 เซนติเมตร มีน้ำหนัก 250-300 กิโลกรัม
14.สมัน
เป็นกวางขนาดกลาง ขนตามลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ท้องมีสีอ่อนกว่า ริมฝีปากล่างและด้านล่างของหางเป็นสีขาว มีลักษณะเด่นคือ ตัวผู้จะมีเขาแตกแขนงออกไปมากมายเหมือนกิ่งไม้ ดูสวยงาม จึงได้ชื่อว่าเป็นกวางที่มีเขาสวยที่สุดในโลก[4] มีกิ่งรับหมาหรือกิ่งเขาที่ยื่นออกไปข้างหน้ายาวกว่ากิ่งรับหมาของกวางชนิดอื่น ๆ สมันมีความยาวลำตัว 180 เซนติเมตร ความยาวหาง 10 เซนติเมตร มีความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 100-110 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 100-120 กิโลกรัมสมันนั้นวิ่งเร็วประมาณ 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมงปัจจุบันสูญพันธุ์แล้ว
15.นกกระเรียนไทย
นกกระเรียนไทยเป็นนกขนาดใหญ่ มีลำตัวและปีกสีเทา คอตอนบนและหัวเป็นหนังเปลือยสีแดงไม่มีขน ตรงกระหม่อมเป็นสีเทาหรือเขียว คอยาวเวลาบินคอจะเหยียดตรงไม่เหมือนกับนกกระสาซึ่งจะงอพับไปด้านหลัง ขนปลายปีกและขนคลุมขนปลายปีกสีดำ ขนคลุมขนปีกด้านล่างสีเทา ขนโคนปีกสีขาว ขายาวเป็นสีชมพู มีแผ่นขนหูสีเทา ม่านตาสีส้มแดง ปากแหลมสีดำแกมเทา นักวัยอ่อนมีปากสีค่อนข้างเหลืองที่ฐาน หัวสีน้ำตาลเทาหรือสีเนื้อปกคลุมด้วยขนนกปัจจุบันสูญพันธุ์แล้ว
16.นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกนางแอ่นขนาดกลาง มีความยาวจากปากจดหางประมาณ 12 -13 ซม. ความยาวเฉพาะหาง มากกว่า 9 ซม. ลำตัวสีดำสนิท มีเหลือบสีน้ำเงิน-เขียวเข้มบางส่วน บริเวณตะโพกสีขาวแยกบริเวณหลังสีดำเหลือบสีน้ำเงิน-เขียวเข้มและตอนบนของหางสีเดียวกันออกจากกัน หัวสีเข้มกว่าหลัง บริเวณคางมีกระจุกขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ไปถึงหลังส่วนบน ปีกสีดำ หางสีดำเหลือบเขียว ขนหางมนกลมแต่ขนคู่กลางมีแกนยื่นออกมาเป็นเส้นเรียวยาวประมาณ 10 ซม.ปลายแผ่เล็กน้อย มองเห็นได้ชัดเจนปัจจุบันสูญพันธุ์แล้ว
17.นกแต้วแร้วท้องดำ
เต่ามะเฟือง หรือ เต่าเหลี่ยม (อังกฤษ: Leatherback turtle; ชื่อวิทยาศาสตร์: Dermochelys coriacea) เป็นเต่าทะเล จัดเป็นเต่าชนิดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก และใหญ่เป็นอันดับที่ 4 ในบรรดาสัตว์เลื้อยคลานทั้งหมดที่ยังดำรงเผ่าพันธุ์อยู่จนถึงปัจจุบัน จึงเป็นเต่าเพียงชนิดเดียวในวงศ์ Dermochelyidae และสกุล Dermochelys เต่ามะเฟืองสามารถแยกออกจากเต่าประเภทอื่นได้โดยการสังเกตที่กระดองจะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับผลมะเฟือง และครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ ตั้งแต่ออกจากไข่ ความลึกที่เต่ามะเฟืองสามารถดำน้ำได้ถึง 1,280 เมตร
18.ปลาฉลามวาฬ
ลักษณะของฉลามวาฬที่แตกต่างจากฉลามส่วนใหญ่ คือ หัวที่ใหญ่โตมากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัว และปากที่อยู่ด้านหน้าแทนที่จะอยู่ด้านล่าง ฉลามวาฬ เกือบทั้งหมดที่พบมีขนาดใหญ่กว่า 3.5 เมตร ใช้เหงือกในการหายใจ มีช่องเหงือก 5 ช่อง มีครีบอก 2 อัน ครีบหาง 2 อัน และ ครีบก้น(หาง) 1 อัน หางของปลาฉลามวาฬอยู่ในแนวตั้งฉาก และโบกไปมาในแนวซ้าย-ขวา แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่นในทะเลที่หางอยู่ในแนวขนานและหายใจด้วยปอด อาทิ วาฬ, โลมา หรือพะยูน เป็นต้น ในการระบุตัวของฉลามวาฬนั้น พิจารณาจากด้านข้างลำตัว ตั้งแต่ช่องเหงือกช่องที่ 5 จนถึงสิ้นสุดครีบอก โดยแต่ละตัวจะมีจุดที่แตกต่างกันออกไปเป็นอัตลักษณ์ประจำตัว
19.นกชนหิน
นกชนหิน ถือเป็นนกเงือกชนิดหนึ่งที่มีสายพันธุกรรมเก่าแก่ยาวนานถึง 45 ล้านปีมาแล้ว มีลักษณะเด่นกว่านกเงือกชนิดอื่นๆ ตรงที่สันบนปากมีขนาดใหญ่และหนาเนื้อในสีขาวตันคล้ายงาช้าง นกชนหินมีจะงอยปากที่ยาวและมีขนหางพิเศษคู่หนึ่ง ซึ่งจะงอกยาวเลยขนหางเส้นอื่นๆ ออกไปมากถึง 50 เซนติเมตร แลเห็นเด่นชัด นกตัวผู้มีขนาดลำตัวยาวจากปลายจะงอยปากถึงปลายขนหาง 127 เซนติเมตร ขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ใต้ท้องสีขาว หางสีขาวมีแถบสีดำพาดขวาง และปลายปีกสีขาวเป็นแถบกว้างและไม่มีขนปกคลุมใต้ปีก จะงอยปากตอนโคน และบนสันสีแดงคล้ำ ตอนปลายสีเหลืองเรื่อๆ บริเวณลำคอที่ไม่ขนในนกตัวผู้จะมีสีแดงคล้ำ ส่วนนกตัวเมียจะมีสีฟ้าซีดหรือสีฟ้า แต่นกวัยอ่อนเพศผู้ ลำคอจะมีสีแดงเรื่อๆ และนกเพศเมียหนังส่วนนี้จะเป็นสีม่วง นอกจากนี้สันบนจะงอยปากจะมีขนาดเล็กกว่า และขนหางยังเจริญไม่เต็มที่ มีลักษณะสั้นกว่านกโตเต็มวัย
20.เนื้อทราย
โดยปกติจะมีสีน้ำตาลเข้มในฤดูหนาว สีเทาในฤดูร้อน ลูกเนื้อทรายเมื่อแรกเกิดจะมีจุดสีขาวตามลำตัว เมื่อโตขึ้นจึงจางหายไป บริเวณช่วงท้องมีสีอ่อนกว่าลำตัว ขนสั้นมีปลายขนสีขาว มีแถบสีเข้มพาดตามหน้าผาก มีเขาเฉพาะเพศผู้ ลักษณะเขาคล้ายกวางป่า มีความยาวลำตัวและหัว 140-150 เซนติเมตร ความยาวหาง 17.5-21 เซนติเมตร ความสูงจากพื้นดินถึงหัวไหล่ 65-72 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 70-110 กิโลกรัม