ลาออกจากงานแล้วอย่าพึ่งต่อ มาตรา 39 ? (อยากให้อ่าน)
เรื่องที่ประกันสังคมบอกในรายละเอียดการสมัคร แต่ผู้สมัครไม่ค่อยอ่าน
ขอเกริ่นก่อน นิดนึง
จากประสบการณ์ ของคนในครอบครัว ที่ทำงานเป็นพนักงานเอกชน มาหลายสิบปี เงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท
เมื่อครบอายุ 55 ปี จะสามารถ ออกจากระบบประกันสังคมแล้วจะสามารถรับเงินออมได้ (บำเน็จชราภาพ ,บำนาญชราภาพ)
เราจะรู้ได้ยังไงว่าได้บำเน็จ หรือบำนาญ ?
ถ้าส่งเงินสมทบประกันสังคม เกิน 180 เดือน (15ปี) จะได้บำนาญ ,น้อยกว่า 180 เดือน (15ปี) จะได้บำเน็จ // นับรวมทั้ง ม.33 และ ม.39
และจะนับ จะเอาเงินเดือนเรา 60 เดือนสุดท้ายมาเป็นตัวคำนวณด้วย
มาเข้าประเด็นกัน
**** อันนี้ยกตัวอย่างบำนาญนะครับ มีรายละเอียดย่อยอีก ****
เนื่องจากส่งมาตรา 33 มาเกิน 15 ปี หลังจากออกจาก บริษัท ได้ทำมาตรา 39 ต่อ มาอีก 5 ปี (เป็นเรื่องที่พลาดมาก ๆ ในการต่อมากตรา 39)
เมื่ออายุ 55 ถึงเวลาที่เราอยากจะไปรับ บำนาญชราภาพ กับได้เงินบำนาญชราภาพ แค่ 960 บาท
เพราะอะไร ?
ถ้าเราส่งมาตรา 33 เมื่อส่งครบ 180 เดือน ประกันสังคมจะคิดเบี้ยชราภาพ จากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 15,000 บาท ต่อเดือน
ตีเป็น 15,000*20% = 3,000 บาท/เดือน
ถ้าเราส่งมาตรา 39 เมื่อส่งครบ 180 เดือน ประกันสังคมจะคิดเบี้ยชราภาพ จากฐานเงินเดือนสูงสุดไม่เกิน 4,800 บาท ต่อเดือน
ตีเป็น 4,800*20% = 960 บาท/เดือน
สรุปคือ
1. ทำงานเงินเดือนมากกว่า 15,000 บาท ส่ง มาตรา 33
2. หลังจากออกจากงาน มาส่งมาตรา 39 ต่ออีก 5 ปี
3. ครบอายุ 55 ปี อยากจะไปรับบำนาญ
เลยเข้าเงื่อนไข บำนาญ คิดจากเงินเดือน 60 เดือนสุดท้าย ที่ตอนนี้กลายเป็นมาตรา 39 คิดฐานเงินเดือนที่ 4,800 บาท
เงินหายไปเยอะเลย
เลยอยากจะแจ้ง เพื่อน ๆ ให้อ่านรายละเอียดให้ครบถ้วนก่อนสมัคร
มีประกันมันก็ดีแหล่ะ มันดี มันดี แต่ก็คิดอีกที
มันมีรายละเอียดย่อย ๆ อีกนะ อันนี้ตัวอย่างคร่าว ๆ รายละเอียดเพิ่มเติมหาอ่านได้จากเว็บ https://www.sso.go.th/ เลย