พบไมโครพลาสติกในปลาทูไทย เฉลี่ย 78 ชิ้นต่อตัว! จากขยะพลาสติกที่ทิ้ง หรือปล่อยลงน้ำแล้วแตกย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ
ไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู
การศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู
บริเวณอุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จ.ตรัง
ในการศึกษาไมโครพลาสติกในกระเพาะปลาทู บริเวณเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม จังหวัดตรัง โดยเก็บตัวอย่างจากท่าเรือบริเวณหาดเจ้าไหม เพื่อวิเคราะห์การปนเปื้อนของขยะประเภทไมโครพลาสติกจากการกินอาหารของปลาทู Rastrelliger brachysoma (Bleeker, 1851) พบว่าปลาทูขนาดน้ำหนักเฉลี่ย 66.53 ± 1.136 กรัม (ค่าเฉลี่ย ± SE) ความยาวมาตรฐานเฉลี่ย 17.46 ± 0.087 (ค่าเฉลี่ย ± SE) เซนติเมตร มีไมโครพลาสติกในกระเพาะของปลาทูเฉลี่ย 78.04 ± 6.503 ชิ้น/ตัว ประกอบไปด้วยลักษณะที่เป็นเส้นใย (สีดำน้ำเงิน แดง และเขียว) ชิ้น (สีดำ ขาว แดง น้ำตาล-ส้ม ฟ้า-น้ำเงิน และเหลือง) แท่งสีดำ และกลิตเตอร์ ซึ่งลักษณะของไมโครพลาสติกที่พบมากที่สุดคือ ชิ้นสีดำ ด้วยค่าร้อยละ 33.96
เพิ่มเติม
พบไมโครพลาสติกในปลาทูไทย 🥤🍿
เฉลี่ย 78 ชิ้นต่อตัว🐠
ประกอบด้วยเส้นใย เม็ด แท่ง กลิตเตอร์ ไมโครพลาสติกมาจากขยะพลาสติกที่เราทิ้ง หรือปล่อยลงน้ำแล้วแตกย่อยเป็นชิ้นเล็กๆ และไมโครพลาสติกยังมีในรูปแบบเส้นใย และอื่นๆ ที่หลุดมาจากเสื้อผ้า หรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีกากเพชร กลิตเตอร์ ไมโครบีดส์ ที่หลุดลอยไปในน้ำลงทะเล🌤
อ้างอิงจาก: https://www.facebook.com/1476632819308528/posts/2120974728207664?sfns=mo