มาดู เห็ดพิษ หรือเห็ดกินได้ ในฤดูฝน
เห็ดพิษหรือเห็ดกินได้ใน ฤดูฝน
เมื่อเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนเราจะพบว่ามีเห็ดมากมายหลายชนิดถูกนำออกมาวางขายตามข้างทางหรือในตลาด มีทั้งเห็ดห้า (ตับเต่า) เห็ดโคน เห็ดถอบ (เห็ดเผาะ) เห็ดแดง เห็ดหล่ม เห็ดขมิ้น เห็ดไข่ ซึ่งเป็นเห็ดที่มีรสชาติดีเป็นที่นิยมนำมารับประทาน แต่ก็ยังมีข่าวการกินเห็ดพิษเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ เนื่องจากความเข้าใจผิดในลักษณะรูปร่างที่คล้ายคลึงกันกับเห็ดที่เคยรับประทาน หรือมีการเก็บเห็ดปะปนกันมาจากบริเวณที่เคยเก็บ ซึ่งอาจมีทั้งเห็ดกินได้และเห็ดเบื่อ (เห็ดเมา หรือเห็ดพิษ) โดยนำมาคัดแยกในภายหลัง ทั้งนี้การเก็บเห็ดป่ามีองค์ความรู้ที่ถ่ายทอดกันจากรุ่นสู่รุ่นในชุมชน ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีจำนวนผู้รู้ลดลงเนื่องจากวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของชุมชน อีกทั้งการทำเกษตรกรรมแบบพึ่งพาสารเคมีโดยเฉพาะที่อยู่ใกล้บริเวณป่าที่เป็นแหล่งอาศัยของเห็ด อาจทำให้มีสารเคมีปนเปื้อนไปกับดอกเห็ดและทำให้เห็ดกินได้กลายเป็นพิษ จึงควรมีการคัดแยกเห็ดก่อนนำมารับประทาน
เห็ดพิษ
-เห็ดโคน
-เห็ดระโงกเหลือง
-เห็ดระโงกหิน
-เห็ดกระโดงตีนตัน
-เห็ดขี้ควาย
-เห็ดตอมกล้วยแห้ง
-เห็ดข่า
-เห็ดมันปูใหญ่
-เห็ดไข่หงส์
-เห็ดไข่
-เห็ดดอกกระถิน
-เห็ดโคนส้ม
-เห็ดเผาะ(มีราก)
-เห็ดขี้วัว
-เห็ดแดงก้านแดง
เห็ดกินได้
-เห็ดกุหลาบ
-เห็ดระโงกขาว
-เห็ดไข่นก
-เห็ดก่อ
-เห็ดกูด
-เห็นตับเต่า
-เห็ดพุงหมู
-เห็ดขาวเหนียว
-เห็ดน้ำแข็ง
-เห็ดเผาะ(ไม่มีราก)
-เห็ดจั่น
-เห็ดไข่
-เห็ดโคน
-เห็ดโคนฟาน
-เห็ดมันปู
-เห็ดหล่มกระเขียว
4 ปัจจัยเสี่ยงในการบริโภคเห็ด
1. กินร่วมกับแอลกอฮอล์ ทำให้เกิดพิษ เช่น เห็ดน้ำหมึก
2.การกินเห็ดที่ไม่รู้จัก หรือ ไม่แน่ใจว่า กินได้หรือไม่
3.กินดิบทำให้เกิดพิษ เช่น เห็ดน้ำหมาก
4.การต้นเห็ดรวมกับ ข้าวสาร หัวหอม และ เครื่องเงิน แล้วไม่เปลี่ยนสีแสดงว่าเป็นเห็ดกินได้ (เป็นความเชื่อที่ผิด)
อาการหลังทานเห็ดพิษ
เห็ดมีพิษไม่รุนแรง
คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ถ่ายเหลว เกิดภายในไม่กี่นาทีแต่ไม่เกิน 4 ชั่วโมง ส่วนใหญ่หายเองได้เมื่อได้รับการรักษา
เห็ดมีพิษรุนแรง
ตับวาย ไตวาย ชักรุนแรงต่อเนื่อง หมดสติและเสียชีวิตได้ เกิดอาการ 4 ชั่วโมงขึ้นไปหลังรับประทานเห็ด
ลักษณะของเห็ดพิษที่ควรหลีกเลี่ยง
-หมวกเห็ดมีเกล็ดปุ่มปม
-มีสีน้ำตาล หรือ สีสันฉูดฉาด
-มีขนหรือหนามเล็กๆบริเวณโคน
-มีกลิ่นค่อนนข้างแรง เมื่อดอกแก่
-มีวงแหวนใต้หมวก
-เห็ดที่ขึ้นใกล้มูลสัตว์ ขึ้นในบริเวณที่มีการใช้สารเคมี