7-Eleven สาขาแรกในประเทศไทยเริ่มเปิดดำเนินการ 24 ชั่วโมง
เนื้อหาโดย Idea DD
7-Eleven สาขาแรกในประเทศไทยเริ่มเปิดดำเนินการ 24 ชั่วโมงในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2532
ณ หัวมุมถนนพัฒน์พงศ์
ช่วงแรกที่นำแฟรนไชส์ 7-Eleven เข้ามาถือว่าเป็นความท้าทายที่ต้องแก้ปัญหาขาดทุนสะสมให้ได้ เพราะคนไทยยังไม่มาใช้บริการมากเท่าไรด้วยความที่เป็นธุรกิจรูปแบบใหม่ คนยังไม่ค่อยคุ้นเคย
ทางผู้บริหาร CP จึงกลับไปศึกษาเคล็ดลับจัดการแฟรนไชส์ร้าน 7-Eleven ในสหรัฐอเมริกาและในญี่ปุ่นอีกครั้ง เพื่อนำมาวางกลยุทธ์แก้ไขจุดบอดต่าง ๆ ของสาขาในประเทศไทย
ตัวอย่างการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ 7-Eleven ในประเทศไทย เช่น
- ปีพ.ศ. 2531-2532 การจัดตั้งบริษัท ซี.พี. ค้าปลีกและการตลาด จำกัด (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ซีพีแรม จำกัด) เพื่อประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายอาหารแช่แข็งและเบเกอรี่ ซึ่งสินค้าต่าง ๆ กลายเป็นของขายดีประจำร้าน เช่น ขนมจีบแช่แข็ง ซาลาเปาแช่แข็ง ขนมปังเลอแปง
- ปีพ.ศ. 2534 เปิดรับสมัคร Business Partner เพื่อให้บุคคลภายนอกมีโอกาสเปิดร้าน 7-Eleven เป็นของตัวเอง โดยทางบริษัทจะส่งเสริมผู้ประกอบการรายย่อยด้วยการเป็น Store Partner คือมีทีมงานมืออาชีพคอยให้คำปรึกษา
- ปีพ.ศ. 2537 ทาง 7-Eleven ได้เปิดให้บริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส ซึ่งเป็นตัวแทนรับชำระเงินค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเทอร์เน็ต จ่ายภาษี เบี้ยประกัน ฯลฯ นอกเหนือจากการขายสินค้าอุปโภคบริโภคเพียงอย่างเดียว
- ปีพ.ศ. 2545 เกิดประโยคฮิตที่ไม่ว่าลูกค้าคนไหนเดินเข้า 7-Eleven ก็จะได้ยิน ประโยคนั้นคือ “รับขนมจีบซาลาเปาเพิ่มไหมคะ” เพื่อกระตุ้นการขายแบบ Cross-Sell
- ปีพ.ศ. 2549 เริ่มวางขายเมนู ‘แซนด์วิชอบร้อน’ ปัจจุบันมียอดจำหน่ายวันละหลายแสนชิ้น รสชาติที่ขายดีคือแซนด์วิชแฮมชีส แซนด์วิชไส้กรอกชีส แซนด์วิชหมูหยองครีมสลัด
-
ปีพ.ศ. 2545
- ร่วมมือกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เพื่อเปิดให้บริการร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในสถานีบริการน้ำมันปตท. ทำให้คนในหลาย ๆ พื้นที่เข้าถึง 7-Eleven ได้มากขึ้น
ปีพ.ศ. 2546
- เข้าจดทะเบียนบริษัทในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ปีพ.ศ. 2550
- จัดตั้งสถาบันเทคโนโลยีปัญญาภิวัฒน์ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์)
- เปลี่ยนชื่อบริษัท เดิมชื่อ ‘บริษัท ซี.พี. เซเว่นอีเลฟเว่น จำกัด (มหาชน)’ เป็น ‘บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน)’
- เปลี่ยนชื่อย่อหลักทรัพย์ในระบบการซื้อขายจาก ‘CP7-Eleven ’ เป็น ‘CPALL’
ปีพ.ศ. 2552
- ฉลองการดำเนินงานครบรอบ 20 ปี นับตั้งแต่การเปิดสาขาแรกที่ซอยพัฒน์พงศ์
- มุ่งสู่การเป็น ‘ร้านอิ่มสะดวก’
ปีพ.ศ. 2559
- จัดตั้งบริษัทวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านอาหารชื่อ ‘บริษัท ซีพี ฟู้ดแล็บ จำกัด’
ปีพ.ศ. 2560
- เปิดร้าน 7-Eleven ครบ 10,000 สาขา
ปีพ.ศ. 2564
- เปิดร้าน 7-Eleven ครบ 13,000 สาขา
ปีพ.ศ. 2565
- มียอดขายเฉลี่ยต่อสาขาวันละประมาณ 77,000 บาท และสร้างรายได้กว่า 300,000 ล้านบาทในแต่ละปี
เนื้อหาโดย: Idea DD
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
13 VOTES (4.3/5 จาก 3 คน)
VOTED: origin, puypuy, Idea DD
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เพนตากอนรายงาน "UFO เกือบชนเครื่องบินโดยสาร!""ฟิล์ม รัฐภูมิ" เปิดใจสุดเศร้า "เหมือนโดนรุมจนไม่มีอากาศจะหายใจ"เจ้าหญิงยูริโกะของญี่ปุ่น สิ้นพระชนม์แล้วราคาทองร่วงหนัก"อบอุ่นไม่เปลี่ยน! เบิร์ด ธงไชย จากวันวานอุ้มรุ่นพ่อ สู่วันนี้อุ้มรุ่นลูก""ช็อกทางจิตใจ! พ่ออาจารย์มหาวิทยาลัยไม่พูด 3 วัน หลังรู้ผลสอบลูกสาว ป.3""รักเมียต้องจัดให้! หนุ่มจีนศัลยกรรมตาเลียนแบบพระเอกดัง ผลลัพธ์สุดปัง"10 อันดับเลข ยอดฮิต หวยแม่จำเนียร 16/11/67"ว่าที่บ่าวสาว แม็ค-วิว เปิดบ้านสุดอบอุ่นที่แคนาดา พร้อมโมเมนต์สุดพิเศษ"ร้อนรนทนนิ่งไม่ไหว !! "เจ๊พัช" ขอโทษ “รัฐมนตรีน้ำ” ปมคลิปเสียงหลุดเลขมงคล ท่านผู้หญิงอรอนงค์ ถวายผ้าพระกฐินพระราชทาน"พ่อใจดี! ซื้อรถให้ลูกสาวขับไป ม. รับประกันคืนทุนในปีเดียว"Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ด่วน รมต.น้ำ ส่งทนายแจ้งความ นักร้องเรียนหญิงกมธ.จี้ 'ปางช้างเล็ก' ชี้แจงด่วน!พระคัมภีร์ไบเบิล ที่เก่าแก่และสมบูรณ์ที่สุดจากเอธิโอเปียย้อนคำทำนาย "หมอปลาย" เคยเตือนเรื่องชฎา ก่อนเหตุการณ์หลุดกลางเวที Miss Universe 2024เพนตากอนรายงาน "UFO เกือบชนเครื่องบินโดยสาร!""ช็อกทางจิตใจ! พ่ออาจารย์มหาวิทยาลัยไม่พูด 3 วัน หลังรู้ผลสอบลูกสาว ป.3"