ทำไมทุเรียนนิยมในจีน
ทุเรียน ขึ้นชื่อว่าเป็น "ราชาแห่งผลไม้" ที่คนจีนเชื่อว่าเป็นของบำรุงสุขภาพชั้นเลิศ อุดมไปด้วยวิตามิน A B C โปรตีนและแร่ธาตุหลายชนิด ซึ่งเชื่อว่ามีประโยชน์มากกว่ามะม่วงหรือผลไม้รสชาติอร่อยทั่วๆ ไป โดยเฉพาะคนกวางตุ้ง เชื่อว่าหากรับประทานทุเรียน 1 ลูก จะได้รับสารอาหารเท่ากับรับประทานไก่ 3 ตัว เลยทีเดียว
"ทุเรียน" เป็น "ราชาผลไม้ไทย" ไม่ใช่แค่ดังในไทยแต่ดังไกลไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศจีน ซึ่งช่วงที่ท่องเที่ยวไทยบูมในจีนก่อนปี 2563 โควิด-19 ระบาดหนัก ก็เป็นช่วงบูมของ "ทุเรียนไทย" เช่นกัน ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าทั้งในไทยเองและส่งออกไปในจีน ทั้งแบบลูกสด แช่แข็ง (แบบแกะเนื้อแล้ว) รวมถึงแบบแปรรูป เช่น ทุเรียนอบกรอบ (คนจีนจะนิยม "ทุเรียนอบ" มากกว่า "ทุเรียนทอด")
และอีกสิ่งหนึ่งที่การันตีถึงความนิยมทุเรียนไทยในจีน คือ พอช่วงสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น ยอดส่งออกทุเรียนไทยไปจีนในช่วงปี 2564 ที่ผ่านมา ทำสถิติสูงสุดในเดือนพฤษภาคม ราว 935 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โต 95.3% เทียบปีต่อปี โดยทุเรียนไทยคิดเป็นสัดส่วนมากกว่า 90% ที่นำเข้าไปในจีนและฮ่องกง ตามข้อมูลจากศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทย
ทุเรียน เป็นไม้ผลในวงศ์ฝ้าย (Malvaceae) ในสกุลทุเรียน (Durio)[2][1] (ถึงแม้ว่านักอนุกรมวิธานบางคนจัดให้อยู่ในวงศ์ทุเรียน (Bombacaceae)[3] ก็ตาม[1]) เป็นผลไม้ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้[4][5][6] ผลทุเรียนมีขนาดใหญ่และมีหนามแข็งปกคลุมทั่วเปลือก อาจมีขนาดยาวถึง 30 ซม. และอาจมีเส้นผ่าศูนย์กลางยาวถึง 15 ซม. โดยทั่วไปมีน้ำหนัก 1-3 กิโลกรัม ผลมีรูปรีถึงกลม เปลือกมีสีเขียวถึงน้ำตาล เนื้อในมีสีเหลืองซีดถึงแดง แตกต่างกันไปตามสปีชีส์
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย kaset