เห็ดพิษ เก็บเห็ดหน้าฝนข้อควรระวัง
ช่วงหน้าฝนประชาชนนิยมเก็บเห็ดป่าในธรรมชาติมากิน ซึ่งเห็ดป่านั้นมีทั้งเห็ดที่กินได้และเห็ดพิษกินไม่ได้ซึ่งมีลักษณะใกล้เคียงกัน อาจเกิดความเข้าใจผิด เห็ดที่ทำให้เสียชีวิตส่วนใหญ่คือ เห็ดระโงกพิษ
ชื่อ
.เห็ดระโงกหิน
เห็ดระงาก
.เห็ดตายซาก
ลักษณะ
มีหมวกขาวล้วน แก่และอ่อน มีปุยเล็กน้อยไม่เรียบมัน ก้านตันบ้างกลวงบ้างเห็ดระโงกพิษ เป็นเห็ดป่าในสกุล Amanita ถือเป็นเห็ดพิษชนิดรุนแรง และเป็นอันตรายที่สุด พบได้ในประเทศไทยโดยเฉพาะทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
อาการ
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ความดันต่ำบวมน้ำอ่อนเพลีย ตับและไตจะวาย และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต
อันตรายของเห็ดระโงกพิษ
- มีพิษอมาทอกซิน (Amatoxn) ที่ทนความร้อนถึงแม้รับประทานแบบปรุงสุกก็ยังทำให้เสียชีวิตได้
- พิษอมาทอกซินจะไปยับยั้งการทำงานของเอนไซม์สังเคราะห์พันธุกรรม และหยุดการสร้างดีเอ็นเอ ทำให้ไม่สามารถสร้างโปรตีนมาซ่อมแซมอวัยวะที่เสียหายจากฤทธิ์การทำลายดีเอ็นเอได้ และไปกระตุ้นให้เซลล์ตาย
- ตับเป็นอวัยวะที่เสียหายจากพิษนี้มากที่สุด เพราะตับมีหน้าที่กำจัดสารพิษ และการดูดซึมสารพิษเริ่มที่ตับ
คำแนะนำ
ไม่รับประทานเห็ดป่าที่ไม่รู้จักเมื่อรับประทานเห็ดพิษ หากไปโรงพยาบาลทันภายใน 1 ชั่วโมง สามารถทำการล้างกระเพาะได้
หากมาโรงพยาบาลด้วยการแสดงอาการในขั้นที่ 1 เช่น คลื่นใส้ อาเจียน ท้องเสีย ซึ่งจะเกิดภายใน 24 ชั่วโมงหลังรับประทาน การแจ้งประวัติถึงการรับประทานเห็ดจะมีความสำคัญมากเพื่อให้แพทย์รักษาได้อย่างทันท่วงที เพราะอาการที่แสดงจะแยกจากอาหารเป็นพิษได้ยาก
- เมื่อเข้าสู่วันที่ 4 จะเริ่มมีอาการขั้นที่ 2 อาจมีอาการของตับวายแสดงออกมา เช่น ตัวเหลือง ตาเหลืองในขั้นที่ 3 เมื่อตับวายแล้ว ความดันโลหิตจะตก ไตวายจากการที่ร่างกายบีบเส้นเลือดที่เลี้ยงไตตีบจนขาดเลือด (Hepatorenal syndrome)
อ้างอิงจาก: โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์