นักวิทยาศาสตร์งง!พบหลุมยักษ์ขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย 3 เท่าใต้มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ระดับน้ำทะเลตรงนั้นต่ำกว่ารอบๆ ถึง 106 เมตร
เหตุการณ์นี้น่าจะเรียกว่าปรากฏการณ์ธรรมชาติที่แปลกประหลาดก็ได้นะครับเมื่อนักวิทยาศาสตร์ค้นพบและยังไม่สามารถที่จะไขปริศนาเหตุการณ์นี้ได้ตามหัวข้อข่าวดังนี้ นักวิทยาศาสตร์งง! พบหลุมยักษ์ขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย 3 เท่าใต้มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ระดับน้ำทะเลตรงนั้นต่ำกว่ารอบ ๆ ถึง 106 เมตร
แม้แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ยังไม่สามารถไขปริศนาหลุมยักษ์ประหลาดนี้ได้เลย
ลองจินตนาการดูนะครับว่าหลุมยักษ์ที่ใหญ่โตมโหฬารนี้ถ้าเทียบกับประเทศไทยใหญ่กว่าประเทศไทย 3 เท่าใหญ่โตมโหฬารขนาดไหนเป็นอะไรที่น่าค้นหามากๆเลยนะครับ
นักวิทยาศาสตร์งง! พบหลุมยักษ์ขนาดใหญ่กว่าประเทศไทย 3 เท่าใต้มหาสมุทรอินเดีย ทำให้ระดับน้ำทะเลตรงนั้นต่ำกว่ารอบ ๆ ถึง 106 เมตร และมันยังมีแรงดึงดูดต่ำที่สุดในโลก เป็นความผิดปกติที่ผู้เชี่ยวชาญยังหาคำตอบไม่ได้
อย่างที่เรารู้กันดี ตามกฎความโน้มถ่วง (หรือเรียกง่าย ๆ ว่าแรงดึงดูด) ของนิวตัน แรงที่วัตถุจะดึงดูดสิ่งอื่น ๆ นั่นขึ้นอยู่กับมวลและระยะห่างยกกำลังสอง พูดให้ง่ายที่สุด ยิ่งมวลมาก แรงโน้มถ่วงยิ่งมา และยิ่งใกล้กัน แรงนี้ก็จะมากขึ้นตามไปด้วย มันเป็นแรงที่โลกดูดเราไว้ไม่ให้ปลิวออกไปนอกอวกาศ
เช่นเดียวกับโลก แรงดึงดูดไม่ได้เท่ากันทุกแห่งบนโลก เพราะมวลของโลกกระจายไม่เหมือนกัน เรามีภูเขาและร่องลึก มันทำให้แรงนี้มีผลต่อเราแตกต่างกันไป และนิวตันก็บอกว่าโลกไม่ได้เป็นทรงกลมสมบูรณ์
แต่มันยิ่งแปลกประหลาดขึ้นไปอีกเมื่อนักวิทยาศาสตร์พบว่า พื้นที่มากกว่า 3 ล้านตารางกิโลเมตร(พื้นที่ประเทศไทยประมาณ 513,120 ตารางกิโลเมตร) ใต้มหาสมุทรอินเดียยุบลงไปคล้ายหลุมยักษ์และมันทำให้ระดับน้ำทะเลต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากถึง 106 เมตร แต่กลับมีแรงดึงดูดต่ำที่สุดในโลก
ปัญหานี้เป็นทำให้นักวิทยาศาสตร์งงมานานหลายสิบปี ซึ่งพวกเขาก็พยายามหาคำตอบรวมถึง 2 นักธรณีวิทยาที่ได้ตีพิมพ์ความคิดของพวกเขาในวารสาร Geophysical Research Letters ว่ามันเป็นเพราะแผ่นเปลือกโลกเมื่อ 140 ล้านปีก่อน
“เราจำลองการสร้างแผ่นเปลือกโลกขึ้นใหม่ในรูปแบบของการพาความร้อนของชั้นเนื้อโลกที่เริ่มต้นจาก 140 ล้านปีก่อน” Debanjan Pal และ Attreyee Ghosh นักธรณีวิทยากล่าวในรายงาน
พวกเขาอธิบายว่า แผ่นที่ชื่อว่า Tethyan (แผ่นเปลือกโลกขนาดเล็ก) จมลงใต้แผ่นขนาดใหญ่ของแอฟริกา แล้วมันทำให้เกิดช่องว่างที่แมกมากร้อน ๆ จากเนื้อโลกพุ่งขึ้นมาใต้มหาสมุทรอินเดีย แล้วปกคลุมให้แผ่นใต้มหาสมุทรนี้จมลง จนระดับน้ำทะเลต่ำกว่าปกติ
แต่ความพิเศษคือ แมกมาเหล่านี้มีความหนาแน่นต่ำ ทำให้แรงดึงดูดแถวนั้นต่ำไปด้วย (จากกฎนิวตันด้านบน) เมื่อเทียบกับที่อื่น ๆ สิ่งเหล่านี้ “มีส่วนทำให้เกิดความผิดปกของ Geoid เชิงลบนี้” รายงานระบุ (Geoid คือแผนที่แสดงความแปรปรวนของแรงดึงดูด ย่อมาจาก Gravity for Earth, Ocean and Ice Dynamics)
ยังไงก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยังไม่ปักใจเชื่อโดยอ้างว่าข้อมูลยังน้อยเกินไป ดังนั้นต้องคงมีการศึกษากันต่อไป และทีมวิจัยคาดว่าความผิดปกตินี้น่าจะอยู่ต่อไปอีกหลายล้านปี ยังมีเวลาอีกมากให้ไขปริศนานี้
อ้างอิงจาก: americanoceans.org,theguardian/science/