Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
News บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ส.ส.เสมอกันแนะ การทำนาเปียกสลับแห้งรับมือสู้ภัยแล้ง

โพสท์โดย เต้าข่าวมาเล่าข่าว

ส.ส.เสมอกันแนะ การทำนาเปียกสลับแห้งรับมือสู้ภัยแล้ง

เราต้องเท้าความถึง ปรากฏการณ์เอลนีโญ เกิดจากกระแสลมมีกำลังอ่อนและเปลี่ยนทิศทางพัดจากด้านตะวันออกของมหาสมุทรแปฟิซิกไปด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปฟิซิก ทำให้กระแสน้ำอุ่นไหล ไปยังทวีปอเมริกาใต้แทน ด้วยเหตุนี้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียขาดฝนและเกิดความแห้งแล้ง แต่ชายฝั่งของทวีปอเมริกาใต้กลับมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น โดยปรากฏการณ์นี้มักจะเกิดขึ้นเป็นเวลานาน 12-18 เดือน ในแต่ละครั้ง

ซึ่งปรากฎการณเอลนีโญ ส่งผลกระทบโดยตรงแก่เกษตรกรที่ทำการเกษตรในพหลายพื้นที่ในจังหวัดที่ลาบลุ่มแม่น้ำและทุกภูมิภาคของประเทศไทย 

.

ทาง ส.ส. เสมอกัน เที่ยงธรรม ส.ส.สุพรรณบุรี เขต 4 พรรคชาติไทยพัฒนาที่แนะนำการเกษตรทางเลือกสู้ภัยแล้ง อย่างการทำการเกษตรแบบบเปียกสลับแห้ง โดย มีพี่น้องชาวนาสนใจการทำนาแบบเปียกสลับแห้งสอบถามวิธีการทำมา ผมให้ทีมงานสรุปวิธีทำนาแบบเปียกสลับแห้งดังนี้ การทำนาแบบเปียกสลับแห้ง คือการควบคุมระดับน้ำในแปลงนา ให้มีช่วงน้ำขัง สลับกับช่วงน้ำแห้ง สลับกันไป ในช่วงเวลาที่เหมาะสม โดยใช้ปริมาณน้ำในการเพาะปลูกน้อยกว่าวิธีปลูกข้าวแบบทั่วไปถึง 50% ครับ 

✅ วิธีทำนา เปียกสลับแห้ง ✅ 

 

1️⃣ ติดตั้งท่อดูน้ำ โดยใช้ท่อ PVC ความสูง 25 เซนติเมตร เจาะรูรอบๆท่อ เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้

2️⃣ ปักท่อลงในแปลงนา ให้จมดิน 20 ซม.และปากท่อเหนือผิวดิน 5 ซม. ( ตามแบบในรูป )

3️⃣ ช่วงเดือนแรก ขังน้ำ โดยสูบน้ำเข้าแปลงนาให้สูงจากผิวดินประมาณ 5 ซม. ท่วมปากท่อ

4️⃣ หลังครบเดือน แกล้งข้าว ด้วยการลดน้ำ 2 ครั้ง ครั้งที่ 1 ระยะข้าวแตกกอ ครั้งที่ 2 ระยะแต่งตัวถึงออกดอก 

5️⃣ ช่วงปล่อยน้ำแห้ง ให้สังเกตระดับน้ำในท่อ ปล่อยให้น้ำแห้งจนต่ำกว่าผิวดิน 15 ซม. แล้วจึงสูบน้ำเข้าไปแปลง (เสมอปากท่อ) สลับกันไป 

 

การลดน้ำในนา 2 ครั้ง แบบนี้ จะช่วยกระตุ้นให้รากและลำต้นของต้นข้าวแข็งแรงขึ้น เนื่องจากดินและรากได้รับอากาศ เมื่อได้รับอากาศ ก็สามารถดูดซึมสารอาหารจากปุ๋ยได้ดีขึ้น ทำให้ลดการใช้ปุ๋ย เมื่อรากดูดสารอาหารได้ดีขึ้น ต้นข้าวแข็งแรง ลดการระบาดของโรคและแมลง ก็จะลดการใช้สารเคมี เป็นการลดต้นทุนการผลิตไปด้วย 

.

เมื่อต้นข้าวแข็งแรงก็จะแตกกอได้มากขึ้น รวงข้าวสมบูรณ์ ผลผลิตที่ได้รับก็เพิ่มขึ้นอีกด้วย ได้ประโยชน์หลายต่อและแน่นอนในวิกฤตภัยแล้งเช่นนี้การทำนาเปียกสลับแห้งก็นับเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับเกษตรกรที่ต้องการทำนาในช่วงวิกฤตภัยแล้งเล่นนี้

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
มาเป็นคนแรกที่ VOTE ให้กระทู้นี้
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
5 อันดับ ตึกที่สูงที่สุดของประเทศไทยในปัจจุบัน!วุ่นอีกแห่ง รพ.ตำรวจ รู้สึกสั่นไหว เร่งอพยพเเล้วราคาครุภัณฑ์ อาคาร สตง. เก้าอี้ห้องประชุม ตัวละ 97,900 บาท ชาวเน็ต ตั้งคำถามแพงกุมภาพันธ์ 68 อสังหาฯ ส่อแววฟื้นสิบเลขขายดี แม่จำเนียร งวด 1/4/68ตึกร้าง "สาธรยูนีค ทาวเวอร์" ที่กำลังถูกพูดถึงในช่วงนี้!ฝรั่งอุ้มลูกหนีแผ่นดินไหว แต่เจอเรื่องไม่คาดคิด ร้านตัดผมเล็กๆ แต่น้ำใจยิ่งใหญ่ก่อนซ่อม VS หลังซ่อม ชาวเน็ตแซวแบบนี้ก็ได้หรอ?"แพรรี่" ฟาดยับ! หมอดูคนดังเคลมแผ่นดินไหว..ออกมาท้าแน่จริงระบุวันเวลามาเลยรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้จ้า ส่วนข้อคิดประจำวันคือ ทอดมันนั้นกินดิบๆ ไม่ได้ ต้องเอาไปทอดก่อน ถึงจะกินได้ ขอบคุณมากครับเสาชุบแป้งทอด อันตราย ที่หลายคนวางใจ แต่ว่า ไม่ปลอดภัยต่อชีวิตรวมภาพเรียกรอยยิ้มประจำวันนี้ วันที่ท้องฟ้านั้นมีฝนพรำแต่เช้าๆในหลายๆพืั้นที่ อากาศน่านอนมากๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ราคาครุภัณฑ์ อาคาร สตง. เก้าอี้ห้องประชุม ตัวละ 97,900 บาท ชาวเน็ต ตั้งคำถามแพงแผ่นดินไหวพม่า สะเทือนถึงกรุงเทพฯ อาเซียนกังวล… แต่กัมพูชามาเหนือไฟลุก! ดราม่า “อิลสลิก” โอนเงินคืนกลางคอนเสิร์ต ผู้จัดโต้กลับแฉยับกุมภาพันธ์ 68 อสังหาฯ ส่อแววฟื้น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าววันนี้
ราคาครุภัณฑ์ อาคาร สตง. เก้าอี้ห้องประชุม ตัวละ 97,900 บาท ชาวเน็ต ตั้งคำถามแพงอินฟูสาว ถูกพบในสภาพยับเยิน หลังถูกจับไปทำงานเป็น โสlภณีวุ่นอีกแห่ง รพ.ตำรวจ รู้สึกสั่นไหว เร่งอพยพเเล้วเทคนิคใหม่ของไต้หวัน ช่วยเพิ่มผลผลิตดอกลำไยได้
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง