ยีราฟอาจสูญพันธุ์นักวิทยาศาสตร์เตือนยีราฟพันธุ์มาไซผสมพันธุ์กันเองในกลุ่มจนเกิดภาวะ ‘เลือดชิด’อาจสูญพันธุ์ในไม่ช้านี้
ยีราฟอาจสูญพันธุ์นักวิทยาศาสตร์เตือนยีราฟพันธุ์มาไซผสมพันธุ์กันเองในกลุ่มจนเกิดภาวะ ‘เลือดชิด’อาจสูญพันธุ์ในไม่ช้านี้
จริงๆแล้วปัญหานี้ไม่ว่ามนุษย์หรือสัตว์ก็มีลักษณะคล้ายๆกันผสมพันธุ์แบบกันเองในกลุ่มจนเกิดภาวะ ‘เลือดชิด’ ทำให้ลูกที่ออกอ่อนแอและตายง่ายจนท้ายที่สุดอาจต้องสูญพันธุ์ไป
แต่นี่เกิดกับยีราฟปัญหานี้อาจจะทำให้ยีราฟมาไซสูญพันธุ์ไปเลยก็เป็นได้
น่าวิตก! ยีราฟมาไซอาจผสมพันธุ์กันเองจนสูญพันธุ์ นักวิทยาศาสตร์เตือน ยีราฟใกล้สูญพันธุ๋สปีชีส์ที่นี้กำลังมีจำนวนลดอย่างน่าใจหาย และอาจผลักดันให้พวกมันผสมพันธุ๋กันเองในกลุ่มจนเกิดภาวะ ‘เลือดชิด’ ทำให้ลูกที่ออกอ่อนแอและตายง่ายจนท้ายที่สุดอาจต้องสูญพันธุ์ไป
ยีราฟมาไซ (Masai giraffes) หรือมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า ‘Giraffa camelopardalis tippelskirchi’ ซึ่งเป็นสปีชีส์ย่อยที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศเคนยาและแทนซาเนีย พวกมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ที่แยกจากกันด้วยภูมิประเทศที่เป็นหน้าผามานานกว่า 250,000 ปี
สถานที่เหล่านี้เป็นส่วนหนึ่ง
อุทยานกแแห่งชาติชื่อดังเช่น Tarangire, Serengeti และ Ngorongoro แต่น่าเศร้าที่จำนวนของยีราฟมาไซกำลังลงอย่างน่าใจหาย ประชากรของพวกมันหายไปครึ่งหนึ่งในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการล่าและพื้นที่อยู่อาศัยลดลง แต่ตอนนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่าพวกมันมีภัยคุกคามอย่างใหม่เพิ่มขึ้น
นั่นคือการผสมพันธุ์กันเอง ทีมวิจัยพบว่าทั้ง 2 กลุ่มในแทนซาเนียและเคนยา มีการผสมพันธุ์กันเองในกลุ่มระดับสูง และหากปล่อยไว้ มันอาจนำไปสู่สิ่งที่นักชีววิทยาเรียกว่า ‘เลือดชิด’ ซึ่งก็คือการผสมพันธุ์กับคู่ที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับเรา พูดง่าย ๆ ว่าญาติ
จะทำให้มีความเสี่ยงเกิด ‘ลักษณะด้อย’ เช่นโรค หรือความผิดปกติมากขึ้น ส่งผลให้ประชากรมีลักษณะดีน้อยลงไปเรื่อย ๆ จนท้ายที่สุดจะล้มหายตายจากไป กลายเป็นสาเหตุของการสูญพันธุ์ได้
“ในสถานการณ์นี้ แง่ของภัยคุกคามต่อการสูญพันธุ์ มันเพิ่มความเสี่ยงเป็น 2 เท่า” Douglas Cavener นักพันธุศาสตร์แห่งเพนน์สเตทและผู้นำการวิจัยกล่าว “อีก 50 ปีข้างหน้าจะยังมียีราฟมาไซไหม? ผมไม่รู้ ผมคิดว่าโอกาสเป็น 50/50”
หากยีราฟสายพันธุ์นี้ไม่สามารถเคลื่อนที่กระจายตัวไปหากันและผสมพันธุ์กันเพื่อให้เกิดการไหลของพันธุกรรมได้ อนาคตที่เราจะเห็นยีราฟมาไซสูญพันธุ์ก็จะสูงขึ้นตามไป
อ้างอิงจาก: livescience/animals,newsobserver/news,YouTube