พบดาบอายุ 3,000 ปี ที่เยอรมัน สวยงามตะลึงราวกับหลุดมาจากภาพยนต์แฟนตาซี
พบดาบอายุ 3,000 ปี ที่เยอรมัน สวยงามตะลึงราวกับหลุดมาจากภาพยนต์แฟนตาซี
ยิ่งกว่านิยายคลาสสิค โรมิโอและจูเลียดเลยนะครับตายคู่กันในหลุมศพแถมยังพบดาบดาบที่สวยงามราวกับหลุดมาจากภาพยนต์แฟนตาซีอีกด้วยแต่แปลกตรงที่มีโครงกระดูกเด็กโผล่มาอีกร่างหนึ่ง
ดูตามข่าวครับ
อย่างกับหลุดมาจากนิยาย! นักโบราณคดีพบดาบที่สวยงามราวกับหลุดมาจากภาพยนต์แฟนตาซีที่เยอรมนี ซึ่ง ‘มันเกือบจะส่องแสงอยู่’ ตามคำกล่าวของรายงาน ดาบเล่มนี้มีอายุ 3,000 ปี และถูกตีด้วยยอดผีมือ เชื่อเป็นดาบที่ใช้ในพิธีกรรม หรือสัญลักษณ์บางอย่าง แต่ก็เป็นอาวุธสังหารที่ยอดเยี่ยมได้ด้วยเช่นกัน
การค้นพบที่ไม่ธรรมดาเกิดขึ้นขณะที่นักโบราณคดีพบหลุมฝังศพในยุคสำริดที่ย้อนไปถึงศตวรรษที่ 14 ก่อนคริสตศักราช ที่เมืองเนิร์ดลิงเงน รัฐบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี โดยในหลุมนั้นมีศพของ ชาย หญิง และเด็ก ที่ถูกฝังอย่างรวดเร็ว แต่ยังยืนยันไม่ได้ว่าทั้ง 3 คนเกี่ยวข้องกันหรือไม่
แต่สิ่งที่สะดุดตาทุกคนคือดาบเล่มนี้ “สภาพ (ของดาบ) นั้นยอดเยี่ยมมาก!” Mathias Pfeil หัวหน้าสำนักงานรัฐบาวาเรียเพื่อการอนุรักษ์อนุสาวรีย์กล่าวในแถลงการณ์ “ของแบบนี้หายากมาก!”
นักโบราณคดีระบุว่า วัตถุยุคสำริดโดยเฉพาะของที่มีคุณค่าเช่นนี้นั้นหาได้ยากมาก เนื่องจากหลุมฝังศพมักถูกปล้นไปตลอดหลายพันปีที่ผ่านมา ยังไงก็ตามดาบเล่มนี้ก็ยังรอดมาได้ ‘มันเกือบจะยังส่องแสงอยู่’ รายงานระบุ ด้ามของมันมีลักษณะ 8 เหลี่ยมที่ดูหรูหราทำจากทองสัมฤทธิ์เช่นเดียวกับใบดาบ
น่าเสียดายที่เราไม่อาจเห็นความสวยงามได้เต็มที่เนื่องจากเวลาที่ผ่านไปหลายพันปี ทำให้ทองสัมฤทธิ์ประกอบไปด้วยทองแดง ซึ่งเป็นโลหะที่เกิดออกซิไดซ์(คล้ายกับเหล็กที่เป็นสนิม)ได้เมื่อสัมผัสกับอากาศ มันจึงเปลี่ยนเป็นสีเขียวอย่างที่เราเห็น
รายงานระบุว่ามีเพียงช่างตีเหล็กที่มีทักษะเท่านั้นที่สามารถสร้างลวดลายแบบนี้ได้ ใบดาบไม่มีร่องรอยของการสึกหรอใด ๆ พวกเขาจึงเชื่อว่าดาบเล่มนี้มีจุดประสงค์เพื่อใช้ประกอบในพิธีหรือสัญลักษณ์บางอย่าง แต่ก็พบว่าดาบมีจุดศูนย์ถ่วงที่ยอดเยี่ยม ทำให้มันกลายเป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน
“ดาบและการฝังศพยังคงต้องได้รับการตรวจสอบ เพื่อให้นักโบราณคดีของเราสามารถจำแนกสิ่งที่พบได้อย่างแม่นยำมากยิ่งขึ้น” Mathias Pfeil กล่าว
ที่มา:
"Exceptional" Bronze Sword Unearthed In Germany Is Still Shiny After 3,000 Years | IFLScience