หวัดแดด
หวัดแดด
หวัดแดด โรคลูกผสม ของไข้หวัด กับอากาศที่ร้อน
หวัดแดด เกิดจากการที่ความร้อนจัด หรือเปลี่ยนแปลงของอากาสอย่างกะทันหัน และระบายความร้อนไม่ทัน แล้วร่วมกับการไปเจอคนเยอะๆ กินอาหารเย็น ของกรอบ พักผ่อนน้อย ทำให้ภูมิต้านทานต่ำ ก็เลยเกิดอาการ น้ำมูก ไหล ปวดเมื่อยเนื้อตัว ครั่นเนื้อครั่นตัวได้ เมื่อมาอยู่ในที่ร่ม
มักเกิดกับคนที่ทำงานกลางแจ้ง เกษตรกร นักกีฬา ผู้สูงอายุ คนที่เจออากาศร้อนจัดแล้วไปเจออากาศเย็นทันที ซึ่ง ปัจจัยเสี่ยงคือมีโรคประจำตัว, พักผ่อนน้อย, ตากแดดนานๆ , โดนฝนร่วมด้วย, ชอบทานอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง
อาการอาจจะคล้ายกับไข้หวัดใหญ่มากๆ ต่างกันที่ไม่รุนแรงเท่า
ไข้หวัดธรรมดา – มีไข้ ปวดศีรษะ เป็นหวัด เป็นหวัดปวดหัว คัดจมูกมาก อ่อนเพลีย และ มีอาการเจ็บคอ น้ำมูกไหล มีเสมหะร่วมด้วย
ไข้หวัดแดด – จะเกิดจากร่างกายสะสมความร้อนเอาไว้มาก จนระบายออกไม่ทัน ผู้ป่วยจะมีไข้ ตัวร้อน ปวดศีรษะมาก ตาแดง แต่ไม่ค่อยคัดจมูก มีน้ำมูก หรืออาจมีน้ำมูกใสเล็กน้อย และไม่มีอาการเจ็บคอ แต่จะรู้สึกขมปาก คอแห้ง แสบคอแทน
การป้องกัน
1.หลีกเลี่ยงอากาศร้อนจัด หากเจออากาศร้อนจัดแล้วต้องเข้าห้องแอร์ ควรนั่งพักให้อากาศถ่ายเทก่อน
2.สวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี
3.ดื่มน้ำอุ่นให้มากๆ
4.ทานผักผลไม้ที่มีวิตามินซีมากๆ
5.พักผ่อนให้เพียงพอ
6. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ(ในช่วงที่ไม่ป่วย)
ส่วนการรักษา มักรักษาตามอาการ เช่น กินยาแก้แพ้ ซึ่งมีชนิดที่ง่วง(กรณีอยากพักผ่อน) และไม่ง่วง (กรณียังต้องทำงานต่อหรือต้องขับรถ เดินทาง ก่อนจะไปพัก), ยาแก้ไอ, ยาลดไข้ เช็ดตัว ดื่มน้ำอุ่นมากๆ