หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ตรอกรักปั๋นใจ๋ ตอนที่ 4

เนื้อหาโดย Takflim ตากฟิล์ม

ตอนที่ 4

​เช้าวันใหม่หลังจากที่ครูสายใจกับสายปานไปโรงเรียนกันหมดแล้ว คุณย่าบัวเรียบยัง

เอนหลังนอนทอดยาวบนเก้าอี้โยกไม้สักหลังงามตัวเดิม พอสายอากาศเริ่มอบอุ่นขึ้นจากไออุ่น

ของแสงแดด ที่แผ่รัศมีสาดส่องเข้ามาทางช่องไม้เล็กๆ ของศาลาทรงไทย จึงชวนมะลิไปที่สวน

หลังบ้านที่ติดกับแม่น้ำปิง เพื่อไปตัดต้นกล้วยกับใบกล้วยมาเตรียมทำกระทงตอนเย็น

“ไปเร็วมะลิ เดี๋ยวสายอากาศจะร้อน”

“ค่ะ อาพั้วบัวเรียบ” มะลิตอบพลางเดินประคองคุณย่าบัวเรียบไปที่สวนหลังบ้านติดแม่น้ำปิง

หลังจากได้ต้นกล้วยกับใบกล้วยตามที่ต้องการ จึงนำมาล้างน้ำและเช็ดถูจนสะอาดเอี่ยมอ่อง

เพื่อจัดเตรียมไว้สำหรับสอนสายปานทำกระทงใบตอง หลังจากโรงเรียนเลิกกลับมาบ้านตอนเย็น

ซึ่งอุปกรณ์การทำกระทงใบตอง ประกอบไปด้วยลำต้นกล้วยขนาดพอเหมาะมือตามขนาดของต้นกล้วย ส่วนใหญ่จะหั่นเป็นท่อนวงกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7-8 นิ้ว และมีความสูง

ประมาณ 2-2.5 นิ้ว แล้วนำไปผึ่งลมวางเรียงเป็นแถวยาวบนโต๊ะ เพื่อให้น้ำที่อยู่ในลำต้นกล้วย

ระเหยออกมาจนเกือบแห้ง ส่วนใบกล้วยก็จะผึ่งลมให้นิ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้ใบกล้วยแตกขณะพับ

เป็นกลีบกระทง นอกจากนั้นยังมีดอกไม้สด ได้แก่ ดอกบัว ดอกมะลิ ดอกรัก และดอกบานไม่รู้โรย

เตรียมไว้เพื่อร้อยเป็นช่องาม แล้วมีประทีปถ้วยน้อยสีเหลืองนวลที่ใส่ด้ายรูปตีนกาหรือเทียนหอม

และธูปหอมด้วย มะลิช่วยคุณย่าบัวเรียบจัดโน้นเตรียมนี่อยู่พักใหญ่ จนตัดสินใจพูดเปรยๆ ขึ้นว่า

“อาพั้วบัวเรียบคะ มะลิคิดถึงบ้าน”

“อ้าว เป็นอะไรไปละยะแม่ดอกมะลิ ถึงเกิดอารมณ์คิดถึงบ้านขึ้นมาเชียว” คุณย่าบัวเรียบย้อนถามเสียงราบ

“มะลิอยากไปลอยกระทงที่บ้านกับครอบครัวค่ะ” มะลิเสียงเศร้าพร้อมสีหน้าสลด

“จะกลับไปได้ยังไงล่ะ ไกลออกซะขนาดนั้น อดทนหน่อยนะมะลิ ทำงานเก็บเงินเก็บทองได้สักก้อน

ค่อยกลับก็แล้วกัน”

“ค่ะ อาพั้วบัวเรียบ”

“เออ....แล้วที่บ้านมะลิมีประเพณีลอยกระทงกับเค้าด้วยรึ” คุณย่าบัวเรียบถามด้วยความสงสัย

“มีสิค่ะ สนุกมากด้วย” น้ำเสียงมะลิเริงร่าขึ้นพร้อมมีสีหน้าชื่นบานกว่าเดิมจนสังเกตได้

“ประเพณีลอยกระทงที่บ้านมะลิเหมือนกับประเทศไทยรึเปล่า”

“คล้ายๆ แต่ไม่เหมือนกันค่ะ เพราะประเทศพม่าบ้านของมะลิจะมีงานประเพณีของแต่ละเดือนในรอบหนึ่งปีที่แตกต่างกันไป เรียกว่า แซะนะล่ะหย่าตี่บะแว คือ เดือนหนึ่ง เรียกว่า เดือนดะกู

(มีนาคม-เมษายน) เป็นเดือนเริ่มศักราชใหม่และเป็นเดือนต้นฤดูร้อน โดยจะมีประเพณีที่สำคัญคือ

งานฉลองสงกรานต์ ซึ่งถือเป็นงานฉลองวันส่งท้ายปีเก่าและย่างเข้าสู่ปีใหม่ จะนิยมเข้าวัดเพื่อรักษาศีล

ช่วยกันกวาดลานวัดและลานเจดีย์ แล้วจะสรงน้ำพระพุทธและเจดีย์ ทำบุญตักบาตร และกลับบ้าน

27

ลูกหลานจะรดน้ำดำหัวพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย ตลอดจนครูบาอาจารย์ เหมือนประเพณีวันสงกรานต์

ของประเทศไทยค่ะ”

“อืม....” คุณย่าบัวเรียบพยักหน้ารับ ก่อนถามต่อว่า

“แล้วประเทศพม่าบ้านของมะลินับเดือนเหมือนประเทศไทยรึเปล่า”

“ไม่เหมือนกันค่ะ คือยังงี้เดือนหนึ่งของประเทศพม่าเท่ากับเดือนห้าของประเทศไทย และเดือนสิบสอง

ของประเทศไทยเท่ากับเดือนแปดของประเทศพม่า”

“อืม....” คุณย่าบัวเรียบพยักหน้ารับอีกครั้ง ก่อนเอ่ยถามต่อด้วยใบหน้าเปื้อนยิ้ม

“ฉันเข้าใจแหละ แล้วเดือนสองมีประเพณีอะไรบ้างจ๊ะแม่ดอกมะลิ”

“เดือนสอง เรียกว่า เดือนกะโส่ง (เมษายน-พฤษภาคม) เป็นเดือนที่แห้งแล้ง มีอากาศร้อนอบอ้าว

จึงมีสำนวนว่า “ดะกูน้ำลง กะโส่งน้ำแล้ง” โดยจะมีประเพณีที่สำคัญคือ งานรดน้ำต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นวันที่

พระพุทธเจ้าทรงประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน แต่ถ้าเป็นประเทศไทยก็คือวันวิสาขบูชา  เดือนสาม

เรียกว่า เดือนนะโหย่ง (พฤษภาคม-มิถุนายน) เป็นเดือนที่ฝนตกและเริ่มเพาะปลูก โดยจะมีประเพณีที่สำคัญในสมัยราชวงศ์เคยจัดพิธีแรกนาขวัญที่เรียกว่า งานมงคลไถนา แต่ถ้าเป็นประเทศไทย

ก็คือวันพืชมงคล จะประกอบด้วยสองพระราชพิธีคือ พระราชพิธีพืชมงคลและพระราชพิธีจรด

พระนังคัลแรกนาขวัญ ส่วนในทางศาสนาครั้นสมัยของพระเจ้าตาหลุ่นมีงตะยา แห่งอังวะยุคหลัง

เคยเป็นเดือนสอบท่องหนังสือพุทธธรรมสำหรับพระเณรด้วยวิธีปากเปล่า แต่ในปัจจุบันนี้มีทั้ง

การสอบเขียนและสอบท่อง แล้วย้ายไปจัดในเดือนดะกูที่เป็นเดือนแรกของปีเรียกว่า งานสอบพระธรรม

เดือนสี่ เรียกว่า เดือนหว่าโส่ (มิถุนายน-กรกฎาคม) เป็นเดือนสำคัญทางพุทธศาสนาคืองานบวช

พระเณร งานเข้าพรรษา และวันอาสาฬหบูชา ซึ่งจะตรงกับประเทศไทยด้วย  เดือนห้า เรียกว่า

เดือนหว่าข่อง (กรกฎาคม-สิงหาคม) เป็นเดือนกลางพรรษาที่มีฝนตกชุมมากที่สุด และจะมีงาน

บุญสลากภัตที่เรียกว่า สะเยดั่งบแว ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่ค่อยนิยมกันแล้ว แต่ในปัจจุบันจะมีงานใหม่

ขึ้นมาแทนคือ งานบูชาผีนัต ที่หมู่บ้านต่องปะโยง ชานเมืองมัณฑะเล  เดือนหก เรียกว่า เดือนต่อดะลีง

(สิงหาคม-กันยายน) เป็นเดือนน้ำหลาก น้ำเอ่อเต็มตลิ่งแม่น้ำลำคลองและมีปลาชุกชุมเป็นพิเศษ

โดยจะมีประเพณีที่สำคัญคือ งานแข่งเรือ แต่ถ้าเป็นประเทศไทยก็คืองานแข่งเรือเช่นกัน

เดือนเจ็ด เรียกว่า เดือนดะดีงจุ๊ต (กันยายน-ตุลาคม) เป็นเดือนออกพรรษา โดยจะมีประเพณี

ที่สำคัญคือ งานออกพรรษา ซึ่งจะตรงกับประเทศไทยด้วยเช่นกัน สำหรับประเทศพม่าพระสงฆ์

จะทำปวารณาที่เรียกว่า วันอภิธรรม กล่าวคือ เป็นวันที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงมาจากสรวงสรรค์

ชั้นดาวดึงส์ หลังจากทรงเทศนาพระอภิธรรมตลอดสามเดือนในช่วงพรรษาที่ผ่านมา ซึ่งจะจัด

งานจุดประทีปเพื่อสักการะบูชาพระพุทธเจ้า และมีงานลอยโคมไฟที่ทำเป็นโคมลอยขนาดใหญ่

28

รูปโพตู่ด่อหรือชีปะขาว รูปช้าง และรูปเสือ เพื่อบูชาพระธาตุจุฬามณีที่อยู่บนสรวงสรรค์ชั้นดาวดึงส์

เดือนแปด เรียกว่า เดือนดะส่องโม (ตุลาคม-พฤศจิกายน) เป็นเดือนเปลี่ยนฤดูจากหน้าฝนย่างเข้า

หน้าหนาว หรือที่เรียกว่า ปลายฝนต้นหนาว โดยจะมีประเพณีที่สำคัญคือ งานทอดกฐิน ซึ่งจะมี

การแห่ครัวทานที่เรียกว่า ปเดต่าบี่ง หรือ ต้นกัลปพฤกษ์ และในวันสุดท้ายของฤดูทอดกฐินจะมี

การจัดงานจุลกฐินที่เรียกว่า มโตตี่งกาง นอกจากนี้ยังมีงานตามประทีป ซึ่งจะมีการจุดเทียนไข

และประดับไฟที่หน้าบ้านและที่วัดเป็นเวลาสามคืน แล้วในคืนวันที่สองจะมีการลอยกระทงกัน

โดยจะเริ่มตั้งแต่ตีสี่จนสว่าง และตลอดงานจะมีการละเล่นร้องรำทำเพลงและมีลิเกพื้นบ้านแบบโบราณของพม่า แต่ถ้าเป็นประเทศไทยก็คืองานประเพณีลอยกระทง และยังมีงานทอดผ้าบังสุกุล

หรือปั้งดะกู่ เดือนเก้า เรียกว่า เดือนนะด่อ(พฤศจิกายน-ธันวาคม) เป็นเดือนเก็บเกี่ยวข้าว

เดิมเป็นเดือนบูชาผีนัตหรือผีหลวงที่เขาโปปาแห่งเมืองพุกามและการคล้องช้าง แต่ในปัจจุบันกำหนด

ให้เป็นงานเทิดเกียรติกวีและนักปราชญ์  เดือนสิบ เรียกว่า เดือนปยาโต่ (ธันวาคม-มกราคม)

เป็นเดือนที่มีอากาศหนาวเย็นมาก แต่ชาวไร่ที่กำลังเก็บเกี่ยวงาจะคอยเฝ้าระวังฝนหลงฤดู เพราะถ้าหาก

ฝนตกลงมาในช่วงเวลาเก็บงา งาก็จะเสียหายได้ จึงเรียกฝนที่ตกช่วงนี้ว่า ฝนพังกองงา และในอดีต

จะมีประเพณีที่สำคัญคือ งานอัศวยุทธ โดยมีการประลองยุทธด้วยช้างศึก ม้าศึก และการใช้อาวุธ

ต่างๆ อาทิ ดาบ หอก เป็นต้น แต่ในปัจจุบันไม่มีการจัดงานนี้แล้ว  เดือนสิบเอ็ด เรียกว่า เดือนดะโบ๊ะดแว

(มกราคม-กุมภาพันธ์) จะมีประเพณีที่สำคัญคืองานหลัวไฟพระเจ้าหรืองานบุญไฟ กล่าวคือ

เป็นการจัดงานบุญบูชาไฟแด่พระพุทธเจ้า และพระเจดีย์ซึ่งเป็นองค์แทนพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีการผิงไฟ ซึ่งเชื่อว่าการผิงไฟจะช่วยให้ธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ คืนสู่สมดุล และยังมีงาน

กวนข้าวทิพย์ ซึ่งมีมาตั้งแต่สมัยญองยาง  เดือนสิบสอง เรียกว่า เดือนดะบอง (กุมภาพันธ์-มีนาคม)

เป็นเดือนที่อากาศเริ่มคลายหนาว และเริ่มเปลี่ยนเข้าสู่ฤดูร้อน โดยจะมีประเพณีที่สำคัญคือ

งานก่อเจดีย์ทรายหรืองานดะบอง ซึ่งเป็นประเพณีที่เคยจัดในยุคราชวงศ์ ด้วยการก่อทรายเป็น

รูปจำลองเขาพระสุเมรุ ทำยอดซ้อนเป็นห้าชั้นแต่ในปัจจุบันไม่มีการจัดงานนี้แล้ว และยังมีงาน

บูชาเจดีย์ชเวดากอง ซึ่งตามตำนานเล่าว่าเดือนนี้เป็นเดือนที่เริ่มมีการสร้างเจดีย์พระเกศธาตุหรือ

พระเจดีย์ชเวดากอง จะตกในปีมหาศักราช 103 (ประเทศพม่าถือเป็นปีที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้)

และถือเป็นเดือนสุดท้ายของปีตามศักราชประเทศพม่าด้วยค่ะอาพั้วบัวเรียบ”

มะลิสาธยายยาวเหยียดอย่างมีความสุข เมื่อพูดถึงบ้านเกิดเมืองนอนที่จากมา คุณย่าบัวเรียบ

พยักหน้าหงึกหงักรับรู้เรื่องราวที่มะลิบรรยายอย่างละเอียด และภาคภูมิใจในสาวใช้พม่าผู้นี้นัก

เพราะเธอมีความรู้และความสามารถรอบตัวมากทีเดียว นึกสงสัยในภูมิหลังของสาวใช้พม่า

แต่กลับนิ่งเสียจะดีกว่า เพราะคิดว่าไม่เหมาะไม่ควรที่จะไปล่วงรู้ภูมิหลังของคนอื่น ถึงแม้ใจ

อยากจะซักถามก็ตาม หลังจากดื่มน้ำเก๊กฮวยร้อนจนหมดแก้วจึงกล่าวสรุปเสียงเรียบว่า

29

“ไม่น่าเชื่อเลยนะมะลิ แม้ว่าจะต่างกันคนละประเทศ แต่กลับมีขนบธรรมเนียมประเพณีที่คล้ายคลึงกัน

จนรู้สึกเหมือนเป็นบ้านพี่เมืองน้องร่วมสายโลหิตเดียวกัน ฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นไทย จีน พม่า ลาว

กัมพูชาและเวียดนาม ถ้าได้สืบสาวราวเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณีแล้ว ก็น่าจะมาจากแหล่ง

อารยธรรมและบรรพบุรุษเดียวกัน”

“ค่ะ อาพั้วบัวเรียบ” มะลิตอบรับพร้อมรอยยิ้มละไม

เมื่อจัดเตรียมอุปกรณ์ทำกระทงใบตอง สำหรับสอนสายปานตอนเย็นเรียบร้อยแล้ว ต่างก็แยกย้ายไปทำภารกิจของตนเอง จนกระทั่งพลบค่ำหลังจากรับประทานอาหารมื้อค่ำกันแล้ว ทุกคนมารวม

ตัวกันที่ศาลาทรงไทยริมแม่น้ำปิง เพื่อทำกระทงใบตอง แต่ในความคิดของสายปานจะไม่มีอะไร

สำคัญเท่า เรื่องเล่าของคุณย่าบัวเรียบเกี่ยวกับตรอกบ้านจีนกว่าเรื่องอื่นๆ อีกแล้ว

“แหม....แม่ตัวดี มานั่งคอยย่าหน้าสลอนเชียวนะ” คุณย่าบัวเรียบแกล้งตำหนิ พร้อมหัวเราะชอบใจ

ลงคออย่างมีความสุข

“ปานอยากทำกระทงใบตองใจจะขาดอยู่แล้วค่ะคุณย่า” สายปานทำเสียงออดอ้อน

“อยากทำกระทงใบตอง หรือว่าอยากจะฟังเรื่องเล่าตรอกบ้านจีนกันแน่ สารภาพมาตามตรง”

“คุณย่านี่ช่างรู้ใจปานเสียจริงๆ” ว่าพลางแอบค้อนเล็กๆ ให้ผู้เป็นย่า แล้วทุกคนต่างหัวเราะพร้อมกัน

“วันนี้ย่าจะสอนพับกลีบกระทงแบบง่ายๆ ก่อนดีกว่า เอาแบบกลีบผกากับแบบกลีบกุหลาบแล้วกันนะลูก”

“ได้ค่ะคุณย่า” สายปานตอบด้วยใบหน้าพริ้มเพรา คุณย่าบัวเรียบให้มะลินำอุปกรณ์ทำกระทงใบตอง

ที่จัดเตรียมไว้มากองอยู่ตรงหน้า พร้อมอธิบายเสียงใสว่า

“แบบแรกที่จะสอนพับคือ พับแบบกลีบผกา นี่คือตัวกระทงได้มาจากลำต้นของกล้วย แล้วส่วนนี้คือ

ใบตอง ได้มาจากใบของกล้วยสำหรับใช้ทำกลีบกระทง เริ่มแรกนะลูก เรานำใบตองที่ทำความสะอาด

และได้ผ่านการผึ่งลมมาเรียบร้อยแล้ว เพราะการผึ่งลมเป็นการป้องกันการแตกเวลาพับทำกลีบกระทง

ตัดให้มีขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว และยาว 6 นิ้วแล้วแบ่งครึ่งเพื่อพับลงทั้งสองข้างซ้ายขวาจนได้ครบ

จำนวนสามกลีบ จากนั้นนำมาวางซ้อนให้ลดหลั่นกันไป ซึ่งจะนับเป็นหนึ่งตับ แล้วนำมาติดโดยรอบ

ขอบของฐานตัวกระทงด้วยเข็มหมุดจนเสร็จ เอ้า....ลองทำกันดูลูก”

ทั้งสายปานกับมะลิกุลีกุจอสาละวนอยู่กับการพับใบตอง เพื่อทำกลีบกระทงแบบกลีบผกาอย่าง

ตั้งอกตั้งใจจนประสบความสำเร็จ แล้วทั้งสองต่างยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ชื่นชมในฝีมือการทำกระทงใบตอง

เมื่อคุณย่าบัวเรียบเรียกร้องขอดูผลงาน

“ไหนเอามาดูหน่อยสิ” คุณย่าบัวเรียบพยักหน้ายอมรับ พลางกล่าวชมแกมตำหนิว่า

“สวย แต่ยังไม่ค่อยจะเรียบร้อยสักเท่าไหร่ เอาล่ะ....ต่อไปเป็นแบบที่สองคือ พับแบบกลีบกุหลาบ แบบที่สองนี้จะยากกว่าแบบกลีบผกา แต่ย่าว่าคงไม่ยากเกินความสามารถของทุกคนนะ”

30

“ค่ะคุณย่า” สายปานตอบรับด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม

“กลีบกระทงแบบกลีบกุหลาบ จะนำใบตองมาตัดให้มีขนาดความกว้าง 1.5 นิ้ว และยาว 6 นิ้ว

แล้วพับริมใบตองตั้งฉากให้ชิดกัน โดยพับทบครึ่งตลบสันทบมาทางขวาเป็นเส้นโค้ง ส่วนด้านซ้าย

พับตลบเช่นเดียวกันจนได้ครบจำนวนสามกลีบ จากนั้นนำมาสวมเรียงกันให้มีระยะห่างพองาม

ตามความชอบ ให้ยอดและลอนของกลีบตรงเสมอเป็นแนวเดียวกัน แล้วใช้ด้ายสีเขียวหรือสีใกล้เคียง

กับใบตองเย็บติดกันด้วยด้นถอยหลังให้เป็นแนวตรงเสมอกันตลอด โดยจะพับกลีบใบตองแล้ว

เย็บต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งสามารถหุ้มขอบของฐานตัวกระทงได้โดยรอบด้วยเข็มหมุด

แล้วขลิบส่วนที่เลยให้เสมอกับฐานตัวกระทงจนเสร็จเป็นกระทงใบตองแบบกลีบกุหลาบ

ซึ่งถ้ามองเผินๆ จะมีลักษณะคล้ายมงกุฎจ้ะลูก”คุณย่าบัวเรียบพูดไปพลางมือทำไปพลาง โดยมี

ครูสายใจ สายปาน และมะลิทำตามแบบอย่างที่คุณย่าบัวเรียบสอนทำกระทงใบตอง จนทุกคนเข้าใจและทำสำเร็จเป็นกระทงใบตอง ทั้งแบบกลีบผกาและแบบกลีบกุหลาบ เวลาผ่านไปเกือบ

จะสองทุ่มคุณย่าบัวเรียบเอ่ยขึ้นหลังจากมองไปข้างนอกศาลาทรงไทยว่า

“พรุ่งนี้ก็จะเป็นวันลอยกระทงแล้วสินะ พระจันทร์เริ่มเปล่งประกายสีเหลืองนวล และใกล้จะเต็มดวงแล้ว”

คุณย่าบัวเรียบเชิญชวนทุกคนมองไปยังดวงจันทร์ที่ใกล้จะเต็มดวง เพราะในใจกลับหวนไปคิด

คำนึงถึงงานลอยกระทง เมื่อครั้นในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่คุณย่าบัวเรียบจะเล่าเหตุการณ์

เรื่องราวต่างๆ ในอดีตเกี่ยวกับชุมชนตรอกบ้านจีนให้ทุกคนได้รับฟัง โดยเฉพาะสายปาน ปันใจ

ที่นั่งรอคอยอย่างใจจดใจจ่อ จ้องมองผู้เป็นย่าตาแป๋วใสอย่างใคร่รู้เต็มทน

วันพุธที่ 16 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2453ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ปีจอ เป็นวันลอยกระทง

ณ ลานวัดสีตลารามหรือวัดน้ำหัก เสียงเพลงรำโทน (รำวงมาตรฐาน) ดังกระหึ่มไปทั่วบริเวณนั้น

“ดวงจันทร์วันเพ็ญ ​ลอยเด่นอยู่ในนภา

​ทรงกรดสดสี​รัศมีทอแสงงามตา 

​แสงจันทร์อร่าม​ฉายงามส่องฟ้า 

ไม่งามเท่าหน้า​นวลน้องยองใย

งามเอยแสนงาม​งามจริงยอดหญิงชาติไทย

​งามวงพักตร์ยิ่งดวงจันทรา​จริตกิริยานิ่มนวลละไม 

​วาจากังวาน​อ่อนหวานจับใจ 

​รูปทรงสมส่วนยั่วยวนหทัย​สมเป็นดอกไม้ขวัญใจชาติเอย” 

(รำโทนหรือรำวงพื้นบ้าน เป็นการละเล่นพื้นบ้านด้วยการรำและร้องของชาวบ้านที่ใช้เล่นกัน

ในเทศกาลรื่นเริงต่างๆ ซึ่งจะรำกันเป็นคู่ๆ เกี้ยวพาราสีระหว่างชายและหญิง รอบครกตำข้าว

ที่วางคว่ำไว้ หรือรำกันเป็นวงกลม โดยมีโทนเป็นเครื่องดนตรีประกอบจังหวะ ลักษณะการรำและ

31

ร้องเป็นแบบง่ายๆ ไม่มีแบบแผน มุ่งเน้นที่ความสนุกสนานรื่นเริง ต่อมาเมื่อปีพุทธศักราช 2487

ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เล็งเห็นศิลปะพื้นบ้านอันสวยงามของไทย จึงมอบหมายให้กรมศิลปากรเป็นผู้รับผิดชอบในการปรับปรุงและพัฒนาการรำโทนขึ้นใหม่ ทั้งทาง

ด้านเนื้อร้อง ทำนองเพลง และนำท่ารำจากแม่บทกำหนดเป็นท่ารำเฉพาะแต่ละเพลงอย่างเป็น

แบบแผนตามแบบนาฏศิลป์ไทย ให้มีความอ่อนช้อย อ่อนหวาน และเป็นเพลงปลุกใจ สนุกสนาน

แล้วเปลี่ยนชื่อมาเป็น “รำวงมาตรฐาน” ซึ่งประกอบด้วยเพลงทั้งหมด 10 เพลงและท่ารำดังนี้

​1. กรมศิลปากร แต่งเนื้อร้อง จำนวน 4 เพลง ได้แก่  

1) งามแสงเดือน​​สอดสร้อยมาลา

2) ชาวไทย​​ชักแป้งผัดหน้า

3) รำมาซิมารำ​รำส่าย

4) คืนเดือนหงาย​สอดสร้อยมาลาแปลง

2. ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม แต่งเนื้อร้อง จำนวน 6 เพลง ได้แก่

5) ดอกไม้ของชาติ​รำยั่ว

6) ดวงจันทร์วันเพ็ญ​แขกเต้าเข้ารังและผาลาเพียงไหล่

7) หญิงไทยใจงาม​พรหมสี่หน้าและยูงฟ้อนหาง

8) ดวงจันทร์ขวัญฟ้า​ช้างประสานงาและจันทร์ทรงกลดแปลง

9) ยอดชายใจหาญ​(หญิง) ชะนีร่ายไม้  (ชาย) จ่อเพลิงกาฬ

10) บูชานักรบ​เที่ยวที่ 1 (หญิง) ขัดจางนาง  (ชาย) จันทร์ทรงกลด

เที่ยวที่ 2 (หญิง) ล่อแก้ว     (ชาย) ขอแก้ว

ส่วนทำนองเพลงของรำวงมาตรฐานทั้ง 10 เพลง กรมศิลปากรและกรมประชาสัมพันธ์ เป็นผู้แต่ง)

​หนุ่มสาวชาวเมืองระแหงจับคู่ร่ายรำรำโทนกันเต็มลานกว้างของวัด ที่จัดไว้ให้หนุ่มสาวมา

ร้องรำทำเพลง และมาร่วมลอยกระทงในงานประเพณีลอยกระทง ซึ่งวัดสีตลารามจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

แล้วในลานกว้างรำโทนนั้น มีคู่ของนายหมงกับสายบัวจับคู่ร่ายรำรำโทนปะปนไปกับหนุ่มสาวคู่อื่นๆ เช่นกัน

“รำเสร็จแล้วประเดี๋ยวเราไปลอยกระทงกันนะจ๊ะน้องสายบัว” นายหมงเชื้อเชิญสายบัวอย่างร่าเริง

แต่สายบัวไม่ตอบ กลับเบือนหน้าเอียงอายอมยิ้มเล็กๆ ที่มุมปากอย่างชื่นใจก่อนว่า

“มาทำเป็นชวน พี่หมงขออนุญาตคนที่บ้านแล้วหรอกรึ”

“ทำไมพี่จะต้องไปขออนุญาตผู้ใดด้วย เพราะพี่มีน้องสายบัวเพียงคนเดียวเท่านั้น”

“เชื่อได้รึ เห็นลือกันหนาหูทั่วทั้งตรอกบ้านจีน ว่าพี่หมงมีสาวๆ มาให้เลือกเสียตั้งมากมาย

ใครๆ ก็อยากจะมาเป็นคุณนายของเถ้าแก่หมงเศรษฐีพ่อค้าไม้รายใหญ่กันทั้งเมืองระแหง”สายบัวว่าพลาง

32

แกล้งค้อนให้วงใหญ่ กิริยาเอียงอายกลับทำให้หัวใจของนายหมงพองโตอิ่มเอม และเป็นสุขมากยิ่งนัก

“พี่จะไปมีใครที่ไหนกันล่ะ หัวใจของพี่ให้น้องสายบัวไปจนหมดสิ้นแล้วทั้งดวง ไม่เชื่อลองจับดูสิ”

นายหมงกล่าวยังไม่ทันขาดคำ รีบคว้าข้อมือของสายบัวจับจนแน่น แล้วดึงร่างอันบอบบางเข้าประชิดตัว เพื่อหวังให้สายบัวอยู่ในอ้อมกอดสายบัวนิ่งงันไปครู่หนึ่งเพราะตกอยู่ในวงแขนอันแข็งแกร่งที่เต็มไปด้วยมัดกล้ามสมชายชาตรีของนายหมง แล้วสายตาของคนทั้งสองประสบพบกันแบบไม่กะพริบ ทำให้หัวใจเต้นระรัวไม่เป็นจังหวะ จนแสดงอาการเขินอายด้วยกันทั้งคู่

“บ้าจังเลยพี่หมงนี่” สายบัวกล่าวตำหนิ แต่ใบหน้าเรียวรูปงามกลับแดงระเรื่อก้มหน้าเอียงอาย แล้วทุบไปที่แผงอกอันกำยำเบาๆ ก่อนผละออกจากอ้อมแขน จากนั้นรีบสาวเท้าเดินหนีออกไป

จากลานกว้างรำโทน โดยมุ่งตรงไปที่ท่าน้ำวัดน้ำหัก

“น้องสายบัว....น้องสายบัว พี่ขอโทษ” นายหมงตะโกนร้องเรียกตามหลังมาติดๆ จนทั้งสองมาหยุดอยู่ตรงบริเวณสนามหญ้าใต้ต้นดอกพิกุลสูงใหญ่ใกล้ท่าน้ำวัดน้ำหัก

“พี่หมงทำแบบนี้เหมือนไม่ให้เกียรติน้อง ผู้คนที่เห็นทั่วลาดวัด จะเอาน้องไปนินทาว่าร้ายให้เสียหายได้

แล้วถ้าเรื่องนี้ไปเข้าหูพ่อกับแม่ของน้อง พี่หมงจะว่ายังไง”

“พี่ขอโทษ พี่ขอโทษน้องสายบัวจริงๆ นะจ๊ะ” น้ำเสียงเศร้าสลดแสดงอาการสำนึกผิดขอความเห็นใจ

สายบัวนิ่งไม่โต้ตอบได้แต่ยืนหันหลังให้ พลางส่งเสียงร้องไห้กระซิกสลับเสียงแผ่วสะอื้นเบาๆ

“น้องสายบัวไม่ต้องเป็นกังวล พี่ยินดีรับผิดชอบทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นจ้ะ”

“พี่หมงพูดเช่นนี้หมายความว่ากระไร” สายบัวแสดงสีหน้าฉงนสงสัย

“พี่จะให้เตี่ยกับแม่ไปสู่ขอน้องสายบัวแต่งงานและพี่คิดว่าอาโปรยกับอายุพินคงจะไม่ขัดขวางในความรักของเราสองคน” นายหมงกล่าววาจาด้วยความมั่นใจ เพราะตลอดเวลาที่ผ่านมา

นางยุพินผู้เป็นมารดาของสายบัว มักจะมาหยิบยืมเงินที่บ้านของนายหมงเป็นประจำในยามขัดสน

โดยที่นายโปรยกับลูกๆ ทุกคนของนางยุพินไม่มีผู้ใดล่วงรู้มาก่อน

“ทำไมพี่หมงถึงมั่นใจขนาดนั้นละจ๊ะ” สายบัวตั้งคำถามสงสัยในคำกล่าวของคนรัก

“เอาเถอะเชื่อพี่ก็แล้วกัน เพราะพี่คิดว่าผู้ใหญ่ของเราทั้งสองฝ่ายต่างยินดี และเข้าใจในความรักของเราสองคนแน่นอน” นายหมงกล่าวให้คนรักเชื่อมั่นในความรักที่เขามอบให้ โดยเก็บความลับ

เอาไว้ในใจแต่เพียงผู้เดียว

“แต่ว่า….”

“ไม่ต้องมีแต่….น้องสายบัวไม่ต้องเป็นกังวลอะไรทั้งนั้น หัวเด็ดตีนขาดยังไงเสีย พี่ก็จะแต่งงานกับ

น้องสายบัวแต่เพียงผู้เดียว”

33

“พี่หมง!”

นายหมงไม่กล่าวอะไรต่อ เขากลับโอบรั้งร่างบางนุ่มนิ่มของสายบัวเข้ามากอดจนแน่นอ้อมแขน

แล้วฝังปลายจมูกลงที่แก้มนวลอันหอมกรุ่นอย่างชื่นใจ พลางกระซิบเสียงนุ่มข้างหูเบาๆ ว่า

“พี่รักน้องสายบัวนะจ๊ะ ” ว่าพลางกอดกระชับแน่นมากขึ้นกว่าเดิม ร่างนุ่มนิ่มของสายบัวอยู่ใน

วงแขนอันกำยำอย่างดิ้นไม่หลุด ใบหน้าของเธอเกลือกกลิ้งอยู่บนแผ่นอกอย่างมีความสุข

ความรักของคนทั้งสองเบ่งบานเหมือนดอกไม้งามที่ชูช่อเบิกบานรับแสงอรุณยามเช้าตรู่ หัวใจรัก

พองโตอิ่มเอิบอิ่มเอมจนหาอะไรมาเปรียบเปรยมิได้

“น้องสายบัวรักพี่รึเปล่าจ๊ะ” นายหมงกระซิบถามหวานใจที่อยู่ในอ้อมกอด

“ถ้าน้องไม่รักพี่หมง แล้วน้องจะปล่อยให้พี่หมงมากอดมาหอมแก้มอยู่อย่างนี้ได้ยังไงกันละจ๊ะ”

นายหมงได้ยินคำตอบแล้วชื่นใจ จึงฝังปลายจมูกลงที่แก้มนวลอันหอมกรุ่นของเธออีกครั้งก่อนว่า

“ชื่นใจจริงๆ ยอดรักของพี่” สายบัวเอียงคอทำท่าเขินอาย เมื่อถูกคนรักแอบขโมยหอมแก้มอีกฟอดใหญ่

แล้วทั้งสองแหงนมองไปที่พระจันทร์ดวงโต ที่กำลังส่องแสงสว่างเป็นสีเหลืองนวลเรืองรองผ่องอำพัน

สวยงามโดดเด่นอยู่กลางนภาที่ไร้เมฆามาบดบังนายหมงใช้มือช้อนใบหน้าเรียงงามให้เชิดขึ้น

แล้วบรรจงประทับจูบตรงหน้าผากที่โหนกนูนขาวเนียนด้วยความรักใคร่ ก่อนเอ่ยเสียงแผ่วเบาว่า

“พี่ขอให้พระจันทร์คืนนี้ เป็นพยานในความรักของเราทั้งสอง พี่ขอสาบานว่า จะรัก จะซื่อสัตย์

และจะทะนุถนอมเลี้ยงดูน้องสายบัวคนนี้ของพี่ให้อยู่ดีมีสุขตราบชั่วฟ้าดินสลาย แต่ถ้าพี่ผิด

คำสาบานเมื่อใด พี่ขอให้ฟ้าดินจงลงโทษ ให้มีอันเป็นไปภายในสามวันเจ็ดวัน และขอให้....”

สายบัวได้ยินคำสาบานแล้วเกิดอาการตระหนกตกใจ จึงรีบใช้เรียวมืองามแตะไปที่ปากของเขา

เพื่อให้หยุดพูดแล้วว่า

“พอเถอะพี่หมง แค่นี้น้องก็เชื่อมั่นในความรักของพี่หมง ที่มีให้กับน้องแล้วจ้ะ”

นายหมงส่งยิ้มหวานให้ แล้วโน้มตัวยื่นหน้าจะหอมแก้มใหม่อีกฟอด แต่คราวนี้สายบัวให้ฝ่ามือ

ปกป้อง โดยการดันใบหน้าเขาไว้ก่อนว่า

“พอได้แล้ว เดี๋ยวผู้ใดมาเห็นเข้าจะไม่งาม แค่นี้ก็มากเกินพอแล้ว”

“จ้ะ ยอดรักของพี่” นายหมงว่านอนสอนง่าย แม้ในใจจะขัดกับความรู้สึกของตนเองก็ตาม จากนั้นทั้งสอง

ต่างจูงมือกันไปยังท่าน้ำวัดน้ำหัก เพื่อร่วมลอยกระทงด้วยกัน

“น้องสายบัวอธิฐานอะไรหรือจ๊ะ” นายหมงถามคนรักด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม

“น้องขอขมาพระแม่คงคา ที่ท่านให้เราได้ใช้น้ำเพื่อดื่ม กิน อาบ และทำไร่ทำนาอย่างเหลือเฟือ

ไม่ขาดแคลน และอธิฐานต่อว่าขอให้ความรักของเราสมหวังจ้ะ”

“เช่นกันจ้ะ พี่ก็ขอขมาพระแม่คงคา และอธิฐานขอให้ความรักของเราทั้งสองสุขสมหวังไม่มี

34

อุปสรรคอะไรมาขวางกัน จนกระทั่งเราสองคนได้แต่งงานกันจนมีลูกมีหลานเต็มบ้านเต็มเมือง”

“บ้า พูดอะไรไม่อายปาก” สายบัวว่าพลางค้อนให้เล็กๆ

“พี่พูดเรื่องจริงจะอายไปทำไมกัน” นายหมงพูดปนหัวเราะชอบใจ

“ถ้าเราสองคนเป็นเนื้อคู่กันจริงๆ ยังไรเสียเราคนสองก็คงได้ใช้ชีวิตร่วมกันล่ะจ้ะ”

“จ้ะ ยอดรักของพี่”

แล้วทั้งสองร่วมกันปล่อยกระทงใบงามลงสู่แม่น้ำปิง ที่ไหลเอื้อยอยู่เบื้องหน้า ด้วยหัวใจเต็มเปี่ยม

ไปด้วยความสุขอย่างเหลือล้น แต่ทุกย่างก้าวที่คนทั้งสองได้เคลื่อนไหวไปนั้น จะอยู่ในสายตาของสาวๆ หลายคน ที่จับจ้องมองด้วยความอิจฉาริษยาในความรักของคนทั้งสอง เพราะสาวๆ ในละแวกนั้น

ทั้งใกล้และไกล ต่างหมายปองอยากจะมาเป็นคุณนายของเศรษฐีพ่อค้าไม้รายใหญ่ที่สุดในจังหวัดตาก

กันทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นสาวน้อย สาวใหญ่ สาวแก่ แม่หม้าย และแม้กระทั่งสาวประเภทสอง

ดังคำร่ำลือว่า รูปหล่อพ่อรวย เพราะเป็นทายาทผู้สืบทอดธุรกิจค้าไม้และโรงเลื่อยไม้รายใหญ่ที่สุด

ในจังหวัดตาก รวมไปถึงกิจการค้าขายกับประเทศพม่าอีกมากมายต่อจากผู้เป็นบิดา ที่ได้ดำเนินการ

ธุรกิจนี้มาตั้งแต่ครั้งอดีตกาลในช่วงปลายสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ 5) ส่วนเรื่องความหล่อเหลาของนายหมง แซ่ตัน ก็ใช่ว่าจะขี้ริ้วขี้เหร่แต่อย่างใดเพราะถ้ายึดถือตามหลักโหงวเฮ้งแล้ว ก็นับว่าเป็นบุคคลที่มีลักษณะดี เป็นผู้มีบุคลิกสง่างามสมชายชาตรีคนหนึ่ง

เลยทีเดียว กล่าวคือ รูปร่างสูงใหญ่กำยำล้ำสันได้สัดส่วน สีผิวกายดำแดง หน้าตาคมคายด้วยขนคิว

ดกดำสนิทที่เรียงแถวเป็นระเบียบ จมูกโด่งเป็นสันเรียวรับกับริมฝีปากบางหยักคล้ายกระจับสีแดงระเรื่อ

ดวงตายาวรีคมกริบ ทำให้รูปหน้าดูคมเข้มมีเสน่ห์น่าพิศชวนมอง จึงเป็นเหตุให้สาวๆ ต่างต้องตาต้องใจ

หมายปองอยากจะมาเป็นคุณนายของพ่อเลี้ยงหมงกันทั้งสิ้น และหนึ่งในเหล่าสาวๆ ที่หมายปองนั้น

มีหญิงสาวงามนามนกยูงที่หล่อนพยายามเปิดตัวอย่างแรงและตามตื้อนายหมงจนออกนอกหน้า

โดยหล่อนประกาศความเป็นเจ้าข้าวเจ้าของในตัวนายหมงไปทั่วชุมชนตรอกบ้านจีน ตั้งแต่หัวตรอก

ยันท้ายตรอก เพื่อเป็นการป้องกันมิให้หญิงอื่นเข้ามาวุ่นวาย โดยที่นายหมงไม่ค่อยจะพอใจในพฤติกรรม

ของนกยูงสักเท่าไหร่นัก เพราะที่ผ่านมาเคยพูดคุยปรับความเข้าใจกันแล้วว่า เขารักนกยูงได้

แค่เพียงในฐานะเป็นน้องสาวเท่านั้น มิได้รักไปในทางเชิงชู้สาวแต่อย่างใด เนื่องจากเป็นคนใน

เครือญาติตระกูลแซ่หลีเดียวกัน แต่นกยูงกลับปฏิเสธ และยังยืนยันกระต่ายขาเดียวว่าหล่อนจะรัก

และต้องการเป็นภรรยาของพี่หมงให้สำเร็จจงได้โดยความในใจลึกๆ แล้วหล่อนต้องการอยากจะ

เป็นคุณนายของพ่อเลี้ยงหมง ผู้ซึ่งเป็นเศรษฐีพ่อค้าไม้รายใหญ่ที่สุดในจังหวัดตาก เพียงเพื่อหวัง

ในทรัพย์สมบัติที่มั่งคั่งร่ำรวย และอยู่สุขสบายในฐานะแม่เลี้ยง ซึ่งเหตุการณ์ในคืนนี้ที่นายหมง

กับสายบัวมาลอยกระทงร่วมกันที่ท่าน้ำวัดน้ำหักก็มิได้รอดพ้นสายตาคู่งามของนกยูงเพื่อนสนิท

ของกิมลั้งลูกสาวของเถ้าแก่สิงห์แต่อย่างใด

 

บทประพันธ์โดย นิพรรณา

เนื้อหาโดย: Takflim ตากฟิล์ม
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Takflim ตากฟิล์ม's profile


โพสท์โดย: Takflim ตากฟิล์ม
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เตโอตีวากาน (Teotihuacan) กับตำนาน วันสิ้นโลก เมืองโบราณที่ไม่รู้ใครสร้างเงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568เลขเด็ด "แม่นมาก ขั้นเทพ" งวดวันที่ 2 มกราคม 68 มาแล้ว!..อยากรวย มาส่องกันเลย!!
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้องเต้าหู้แจกไข่ให้ชาวบ้าน แต่กลับเจอมนุษย์ป้ารุมเข้ามาจัดการ ทำเอาน้องอึ้งจนพูดไม่ออก เห็นแล้วรู้สึกอายแทนจริงๆน้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น
กระทู้อื่นๆในบอร์ด นิยาย เรื่องเล่า
โบราณสถานอายุกว่า 1,300 ปี แห่งไซบีเรีย ซึ่งเต็มไปด้วยปริศนาที่รอคำตอบโบสถ์เซนต์แมรี่แห่งไซออน, เอธิโอเปียเขาพระวิหาร: สัญลักษณ์แห่งความงดงามและความขัดแย้งภาพสุดท้าย
ตั้งกระทู้ใหม่