ภาพนู้ดสาวชาวสยาม..เมื่อร้อยหกสิบกว่าปี!!
#ขออนุญาตคุณPhet Saengsawangครับ
ภาพนี้มีเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์กวายบร็องลี่ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้บันทึกข้อมูลไว้ว่า "สาวชาวสยามอายุ 15 ปี ถ่ายในกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2405 ภายใต้การควบคุมของนายโบคูรท์" และข้อมูลเกี่ยวกับภาพมีบอกเพิ่มเติมอีกว่า
"หมายเลขภาพ : 1988 - 18743 - 173 หมายเลขหมวด : PP002-4926
สถานที่ : เอเชีย / ประเทศไทย
สถานที่ทางภูมิศาสตร์ : เอเชีย / เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ / ประเทศไทย / กรุงเทพฯ
ช่างภาพ : มารี เพียร์ แมง โบคูรท์ ( พ.ศ .2362 - 2447)
ทำซ้ำโดย : จ๊ากส์ - ฟิลิปป์ พอตโต (พ.ศ. 2350- 2419)
ผู้บริจาค : พิพิธภัณฑ์มนุษยวิทยา ห้องปฏิบัติการ
วันที่ : พ.ศ. 2405"
นายมารี เพียร์แมง โบคูรท์ เป็นนักสัตววิทยาทำงานอยู่กับห้องแลปของสวนพฤกษชาติวิทยาและยังเป็นช่างเขียนแบบที่คุ้นเคยกับสัตววิทยาหลายสาขา ในกรุงปารีส เขาได้รับคัดเลือกให้เป็นหนึ่งในคณะเจ้าหน้าที่หรือคณะทูตฝรั่งเศสผู้ที่มาในนามจักรพรรดิฝรั่งเศส เดินทางมาสยามเพื่อรับพระราชทานสัตว์(ช้าง) จากกษัตริย์แห่งกรุงสยาม(รัชกาลที่ 4)
พวกเขาได้เดินทางออกจากฝรั่งเศสในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2404 พร้อมกับเจ้าหน้าที่จากสถานทูตสยามพวกเขามาถึงกรุงเทพฯในวันที่ 10 ธันวาคม ที่ซึ่งโบคูรท์ได้เริ่มทำงานโดยมีบาทหลวงลาร์โนดีเป็นผู้สนับสนุน โบคูรท์ไม่ได้ทำงานแต่ในกรุงเทพฯเท่านั้นเขายังได้เดินทางไปทำงานที่เพชรบุรีและอยุธยา ซึ่งเขาได้พบเห็นโขลงช้างที่ถูกกักไว้เขาได้ใช้ความสามารถในการวาดภาพจากการทำงาน ให้พิพิธภัณฑ์มนุษย์ยุทธวิทยา และเขายังได้รับความช่วยเหลือจากศิลปินมากความสามารถในกรุงเทพฯ คือนายปีแอร์ รอซิเอร์ โดยที่เขาได้ซื้อภาพถ่ายโบราณสถานและสถานที่ที่มีชื่อเสียงของอยุธยาจากศิลปินท่านนี้มามากมายหลายชิ้น
เมื่อโบคูรท์ได้ทำหน้าที่เป็นผู้แทนองค์จักรพรรดิฝรั่งเศสในการรับพระราชทานสัตว์จากพระมหากษัตริย์แห่งกรุงสยามและคนอื่น ๆ ต่อมาในวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2405 เขาได้ออกเดินทางไปยังสิงคโปร์และถึงกรุงปารีสในวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2405
ดังนั้นภาพนี้จึงกล่าวได้ว่าถ่ายทำครั้งแรกที่กรุงเทพฯ โดยมีนายมารี เพียร์แมง โบคูรท์ เป็นผู้ควบคุมในการถ่ายแล้วนำไปจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์มนุษยวิทยา กรุงปารีส แล้วมีการทำซ้ำโดย จ๊ากส์ - ฟิลิปป์ พอตโต และบริจาคให้พิพิธภัณฑ์กวายบร็องลี่ ปารีส นำมาจัดแสดงอยู่ในปัจจุบัน ครั้นนับอายุภาพแล้วก็จะได้ 161 ปีในปี พ.ศ.2566 นี้.
ขอบคุณและอ้างอิงหนังสือ ฉายาลักษณ์สยาม : ภาพถ่ายโบราณ พ.ศ. ๒๔๐๔ - ๒๔๕๓ ของบริษัท สำนักพิมพ์ริเวอร์ บุ๊คส์ จำกัด
====================