หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อ.เจษฎา โพสแจง "โทรศัพท์ และสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ไม่ได้ล่อฟ้าผ่า!

โพสท์โดย อับดุล รอเเย๊ะส์

ล่าสุดนั้น ทาง Facebook เพจของอาจารย์เจษฎา ก็ได้ทำการโพสต์ โดยมีเนื้อหาดังนี้

"โทรศัพท์ และสัญญาณโทรศัพท์มือถือ ไม่ได้ล่อฟ้าผ่า ครับ"

มีคนส่งภาพนี้มาสอบถาม กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนึ่งได้ออกมาเตือนประชาชนให้ระวังพายุฤดูร้อน บริเวณภาคอีสานตอนล่าง ซึ่งจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้ จึงเตือนว่า หากอยู่กลางแจ้งให้รีบเข้าอาคารหรือที่อยู่อาศัยที่มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันเศษวัสดุหรือสิ่งของต่างๆ ปลิวใส่เป็นอันตราย ห้ามอยู่ใต้ต้นไม้สูง เสาไฟฟ้า หรือ "มีโทรศัพท์เป็นสื่อล่อฟ้าอยู่ใกล้ตัว" เพราะจะถูกฟ้าผ่าได้ ฯลฯ

ซึ่งก็ต้องอธิบายซ้ำๆ อีกครั้ง ว่าเป็นความเชื่อผิดๆ ของสังคมไทยที่มีมานานแล้วครับ ... การที่บอกว่า "โทรศัพท์มือถือเป็นสื่อล่อฟ้าฝ่า" นั้น เป็นความเชื่อที่ผิดนะครับ !!

จริงๆ แล้ว มีผลการทดลองมากมายที่ระบุได้ว่า ทั้งสัญญาณโทรศัพท์ และตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือเอง ไม่ได้เป็นตัวล่อฟ้าฝ่าอย่างที่เชื่อกันแต่ประการใด ... แถมแม้แต่เรื่องการมีวัตถุโลหะติดตัว การใส่สร้อยทอง เข็มขัดนาค ยกทรงโครงเหล็ก ฯลฯ วัตถุพวกนั้นก็ไม่ได้เป็นตัวล่อฟ้าเช่นกัน

ซึ่งสาเหตุหลักของการที่ถูกฟ้าผ่า มักจะเป็นเรื่องของการที่อยู่ในตำแหน่งโดดเด่น-กลางที่โล่งแจ้ง อย่างเช่นการไปอยู่กลางไร่กลางนา ไปหลบฝนใต้ต้นไม้สูง ไปหลบฝนในกระท่อมกระต๊อบปลายนา ต่างหากครับที่เป็นจุดอันตรายกว่าที่ทุกคนคิด

นอกจากนี้ ยังเคยมีการทดสอบวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ยืนยันชัดเจนแล้วว่า ทั้งสัญญาณโทรศัพท์และตัวเครื่องโทรศัพท์มือถือ ไม่ได้เป็นตัวล่อฟ้าผ่าตัวอย่างไรครับ ! ลองอ่านรายละเอียดตามบทความ ของ สวทช. และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ด้านล่างนี้นะครับ (จาก https://www.nstda.or.th/sci2pub/lightning/)
-------
(บทความ) “ฟ้าผ่า” ข้อเท็จจริงที่ควรรู้

นักวิชาการร่วมไขข้อสงสัยการเกิดปรากฏการณ์ฟ้าผ่า และจริงหรือที่ตะกรุด สร้อย โทรศัพท์มือถือ MP3 เป็นสื่อล่อฟ้า?

ดร.คมสัน เพ็ชรรักษ์ หัวหน้าห้องจำลองฟ้าผ่า คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ฟ้าผ่าเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นภายใต้เมฆฝนฟ้าคะนอง ซึ่งเมื่อก้อนเมฆเคลื่อนที่ก็จะมีลมและเกิดการเสียดสีกับโมเลกุลของหยดน้ำ และน้ำแข็งภายในก้อนเมฆ ทำให้เกิดการแตกตัวของประจุไฟฟ้า โดยประจุลบส่วนใหญ่จะอยู่ทางด้านล่างของก้อนเมฆ ขณะที่ประจุบวกจะอยู่ทางด้านบนของก้อนเมฆ

จะเห็นว่าทุกบริเวณใต้เงาเมฆฝนฟ้าคะนองมีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดฟ้าผ่าได้หมด ไม่ว่าที่สูง ที่ต่ำ กลางแจ้ง เพียงแต่จุดเสี่ยงที่มีโอกาสเกิดฟ้าผ่าได้มากที่สุด คือ ที่โล่งแจ้ง เช่น สระน้ำ ชายหาด สนามกอล์ฟ ฯลฯ และจุดที่สูงในบริเวณนั้นๆ เช่น ต้นไม้ อาคารสูง เนื่องจากประจุไฟฟ้ามีโอกาสวิ่งมาเจอกันได้เร็วที่สุด

ส่วนวัตถุที่เป็นตัวทำให้ฟ้าผ่าใส่มนุษย์ได้มากที่สุด คือ วัตถุที่อยู่สูงเหนือจากศีรษะมนุษย์ขึ้นไป โดยเฉพาะสิ่งของที่มีปลายแหลม เช่น ร่มที่ด้านปลายบนสุดเป็นเหล็กแหลม เป็นต้น

กรณีของโลหะและโทรศัพท์มือถือ ไม่นับว่าเป็นสื่อล่อฟ้าได้แน่นอน เพราะโทรศัพท์เวลาใช้งานจะอยู่ต่ำกว่าตัวคน ที่สำคัญพลังงานของสัญญาณโทรศัพท์มือถือไม่สามารถทำให้อากาศแตกตัวเป็นตัวนำได้

พร้อมกันนี้ยังมีรายงานว่าการใช้โทรศัพท์อยู่ใกล้บริเวณที่เกิดฟ้าผ่า อาจจะมีผลเหนี่ยวนำให้แบตเตอรี่เกิดการลัดวงจรและเกิดการระเบิดจนเป็นสาเหตุ ของการบาดเจ็บได้ เป็นผลข้างเคียงแต่ไม่ใช่สื่อล่อให้ฟ้าผ่า

อย่างไรก็ดีการใช้โทรศัพท์มือถือในสภาวะที่เกิดฝนฟ้าคะนอง ก็นับเป็นสิ่งที่ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เพราะหากน้ำเข้าโทรศัพท์ก็มีโอกาสทำให้แบตเตอรี่เกิดการลัดวงจรได้เช่นเดียวกัน

นายสรรเสริญ ทรงเผ่า วิศวกรฝ่ายวิจัยและพัฒนา บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนา “ระบบป้องกันฟ้าผ่า” ซึ่งได้รับรางวัลชมเชยผลงานประดิษฐ์คิดค้น ประจำปี 2548 จากสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่เชื่อว่า สื่อโลหะและโทรศัพท์มือถือไม่ใช่สื่อล่อฟ้าผ่า แต่อาจส่งผลให้ผู้ที่ถูกฟ้าผ่าได้รับการบาดเจ็บมากขึ้นภายหลังที่เกิดฟ้าผ่าแล้ว

ดังกรณีของเครื่องประดับ เช่น สร้อยที่ไม่ใช่สื่อล่อฟ้าผ่า แต่เมื่อฟ้าผ่ามาที่คน กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายจะถูกเหนี่ยวนำให้มาที่สร้อยปริมาณมาก เนื่องจากมีค่าความต้านทานต่ำกว่าตัวคน จึงทำให้เกิดความร้อนและละลาย เป็นเหตุให้ผู้ถูกฟ้าผ่าได้รับการบาดเจ็บมากขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่สวมเครื่องประดับที่เป็นโลหะ

นอกจากนี้ประเด็นที่น่าสนใจและควรพึงระวังในขณะนี้ คือประชาชนมีการติดตั้งจานดาวเทียมจำนวนมากโดยไม่มีการต่อสายดิน เมื่อเกิดฟ้าผ่าลงเสาไฟฟ้าบริเวณใกล้เคียง จะทำให้เกิดสนามไฟฟ้าออกมาด้วย ซึ่งจานดาวเทียมหรือเสาอากาศทีวีที่อยู่ใกล้จะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามา และจะวิ่งเข้าสู่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ต่อกับปลั๊กไฟส่งผลให้เครื่องใช้ ไฟฟ้าภายในบ้านเกิดความเสียหายด้วย

ดังนั้นทางที่ดีจึงควรมีการต่อสายจากจานดาวเทียมที่เป็นโครงสร้างคล้ายโลหะ ต่อลงหลักดินด้วย

ขณะที่ ดร.บัญชา ธนบุญสมบัติ นักวิชาการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า นอกจากฟ้าผ่าจากก้อนเมฆลงสู่พื้นจะเป็นอันตรายต่อคนมากที่สุดแล้ว ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น ยังถือเป็นภัยจากฟ้าผ่าอีกรูปแบบหนึ่งที่มีอันตรายต่อคนได้ แต่ประชาชนกลับยังไม่ค่อยรู้จักนัก

“ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้นนั้น เป็นการปลดปล่อยประจุบวกออกจากก้อนเมฆ (ฟ้าผ่าแบบบวก) สามารถผ่าได้ไกลออกไปจากก้อนเมฆถึง 30 กิโลเมตร นั่นคือแม้ท้องฟ้าเหนือศีรษะจะดูปลอดโปร่ง แต่ก็อาจจะถูกฟ้าผ่า (แบบบวก) ได้ หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ห่างไกลออกไปราว 30 กิโลเมตร โดยฟ้าผ่าแบบบวกมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนอง คือ หลังจากฝนที่กระหน่ำเริ่มซาลงแล้ว

และแม้ว่าฟ้าผ่าแบบบวกจะเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก (น้อยกว่า 5% ของฟ้าผ่าทั้งหมด) แต่ก็ทรงพลังมากกว่าฟ้าผ่าแบบลบถึง 10 เท่า กล่าวคือ กระแสไฟฟ้าอาจสูงถึง 300,000 แอมแปร์ และความต่างศักย์ 1 พันล้านโวลต์เลยทีเดียว อีกทั้งฟ้าผ่าแบบบวกยังอาจทำให้เกิดไฟป่าได้อีกด้วย หากในป่าบริเวณที่โดนฟ้าผ่าเกิดไฟลุกไหม้ลาม และไม่มีฝนตกลงมาดับไฟ

สำหรับคำแนะนำถึงวิธีการสังเกตการเกิดฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้นมีกฎจำ ง่ายๆ ที่เรียกว่า กฎ 30/30 เป็นข้อปฏิบัติที่ทหารใช้กัน โดยเลข 30 ตัวแรกมีหน่วยเป็นวินาที หมายถึงว่า หากเห็นฟ้าแลบ แล้วได้ยินเสียงฟ้าร้องตามมาภายในเวลาไม่เกิน 30 วินาที แสดงว่า เมฆฝนฟ้าคะนองอยู่ใกล้มากเพียงพอที่ฟ้าผ่าจะทำอันตรายคุณได้ ให้หาที่หลบที่ปลอดภัยทันที (ตัวเลขนี้มาจากการที่เสียงเดินทางด้วยอัตราเร็วประมาณ 346 เมตร/วินาที ที่อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส)

ส่วนเลข 30 ตัวหลังมีหน่วยเป็นนาที หมายถึงว่า หลังจากที่พายุฝนฟ้าคะนองหยุดลงแล้ว (นั่นคือ ฝนหยุด และไม่มีเสียงฟ้าร้อง) คุณควรจะรออยู่ในที่หลบอีกอย่างน้อย 30 นาที เพื่อให้มั่นใจว่า เมฆฝนฟ้าคะนองได้ผ่านไป หรือสลายตัวไปแล้ว แต่อย่าลืมว่าฟ้าผ่าแบบบวกมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนอง”

นพ.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา ผู้อำนวยการสถาบันคุ้มครองผู้ บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า จากนำเสนอข่าวในหนังสือพิมพ์ต่างๆ พบว่าตั้งแต่มกราคม 2550-มิถุนายน 2552 ได้เกิดเหตุการณ์ฟ้าผ่าจนทำให้คนไทยเสียชีวิต 39 คน และบาดเจ็บ 16 คน และหลายกรณีถูกระบุว่ามีสาเหตุมาจากการพกพาหรือใช้โทรศัพท์มือถือขณะที่ฝนตก รวมทั้งในต่างประเทศก็มีหลายกรณีที่โทรศัพท์มือถือถูกระบุว่าเป็นสาเหตุให้เกิดฟ้าผ่าเช่นกัน ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลทางวิชาการใดที่สามารถยืนยันว่าโทรศัพท์มือถือเป็น สื่อล่อฟ้าได้ แต่เพื่อเป็นการป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น ประชาชนควรปิดมือถือเมื่ออยู่ภายใต้สภาวะฝนตกฟ้าคะนอง

นอกจากนี้ยังควรหลีก เลี่ยงการอยู่ในจุดเสี่ยง เช่น ที่โล่งแจ้ง สระน้ำ และอื่นๆ และเมื่อหลบเข้าภายในตัวอาคารแล้ว ก็ควรงดการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งทีวี อินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์แบบมีสาย เพราะหากเกิดฟ้าผ่าลงมาที่อุปกรณ์นอกอาคาร อาจจะได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้าวิ่งมาตามสายไฟฟ้าหรือสายโทรศัพท์ได้

ส่วนกรณีที่อยู่ในรถ ควรปิดประตูและกระจกหน้าต่างให้สนิท อย่าสัมผัสส่วนที่เป็นโลหะ และไม่ควรใช้โทรศัพท์มือถือ กรณีที่หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งไม่ทัน ให้นั่งยองๆ เท้าชิดกันและเขย่งปลายเท้า พร้อมทั้งเอามือปิดหูเพื่อป้องกันเสียง โดยพยายามให้ร่างกายสัมผัสกับพื้นให้น้อยที่สุด เพื่อลดความเสี่ยงกรณีกระแสไฟไหลมาตามพื้น

ทั้งนี้ภายในงานยังมีปฏิบัติการจำลองสภาวะฟ้าผ่ากับโทรศัพท์มือถือ เพื่อพิสูจน์ว่าเป็นสื่อล่อฟ้าดังที่กล่าวอ้างหรือไม่ โดยการทดลองแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1.โทรศัพท์มือถือที่ปิดเครื่อง
2.โทรศัพท์มือถือที่เปิดเครื่องและมีสายเรียกเข้า
3.โทรศัพท์มือถือที่เปิดเครื่อง มีสายเรียกเข้าและมีการตั้งรับอัตโนมัติ

ซึ่งผลการทดลองทั้ง 3 รูปแบบ พบว่าฟ้าไม่ผ่าลงโทรศัพท์มือถือแต่อย่างใด และโทรศัพท์ทุกเครื่องยังสามารถใช้งานได้ตามปกติ

นอกจากนี้เพื่อให้แสดงให้เห็นข้อเท็จจริงจากอันตรายจากฟ้าผ่า จึงได้มีการสาธิตกับวัตถุที่จำลองเป็นต้นไม้ โรงเรียน และคน พบว่าฟ้าผ่าลงที่บริเวณดังกล่าวเนื่องจากเป็นจุดที่สูงกว่าบริเวณอื่นๆ ที่สำคัญยังมีการจำลองสถานการณ์ให้ตุ๊กตา (เปรียบกับคน) ยืนหลบอยู่ใต้ต้นไม้เมื่อมีฝนฟ้าคะนอง ซึ่งผลปรากฏว่าฟ้าผ่าลงต้นไม้และมีกระแสไฟกระโดดเข้าตัวตุ๊กตา พบมีรอยไหม้บริเวณศีรษะ นับเป็นกรณีตัวอย่างอันตรายจากฟ้าผ่าที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประเทศไทย

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ครูไพบูลย์ เจ้าของฉายากงยูเมืองไทย อวดหล่อโชว์ซิกแพก กล้ามแน่น ทำเอาสาวแห่กรี๊ด!!สเปกหนูรัตน์ ชอบรวย หล่อแบบเกาหลีซูเปอร์สตาร์ที่ไม่มีงานแสดง แต่เป็นเศรษฐีระดับพันล้าน
กระทู้อื่นๆในบอร์ด ข่าวโซเชียล
สาระ แมวดั่งทุ่งลาเวนเด้อ!! จะรู้กันไหมนะ...⁉️ ไทยมีโดมดอกไม้ควบคุมอุณหภูมิ ปลูกดอกไม้เมืองหนาวได้ใครจะะรู้ว่าชาย ไม่สามารถหยุดการหลั่งน้ำoสุจิได้ เกิดขึ้นทุก ๆ 0.6 วินาที ของการกระตุกหลายโรงเรียน โพสต์แจ้งงดจัด กิจกรรมวันแม่ ห่วงความรู้สึกนักเรียน
ตั้งกระทู้ใหม่