เรื่องนี้ควรรู้ ค่าไฟเกษตร กับ ค่าไฟครัวเรือน ต่างกันอย่างไร รวมถึงวิธีการขอใช้ที่แตกต่างกัน
เนื้อหาโดย padungpomn1234
สำหรับหลายๆ คนคงได้ยินแต่ค่าไฟฟ้าครัวเรือน หรือ ค่าไฟฟ้าบ้าน อาคาร ที่อยู่อาศัย ที่ทำงาน ร้านค้า ต่างๆ ซะส่วนมาก น้อยคนหนักคงยังไม่รู้จักว่าค่าไฟฟ้าเกษตร คืออะไร และต่างกันอย่างไร วันนี้เราจะพามาหาคำตอบให้ท่านทราบกันแบบเข้าใจง่ายๆ ตามข้อมูลต่อไปนี้
ค่าไฟฟ้าครัวเรือนคือ ค่าไฟฟ้าที่บุคคลประชาชนคนไทยทั่วไปใช้เพื่อเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันในครัวเรือน บ้านเรือนที่อยู่อาศัย หรือห้างร้านบริษัทออฟฟิศต่างๆ ที่ได้ขอการใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ซึ่งก็จะมีการติดตั้งหม้อแปลงตามหน้าบ้าน เพื่อใช้เป็นเครื่องนี้กำหนดชี้วัดในการใช้ไฟฟ้าในแต่ละเดือนของครัวเรือน หรือสถานที่นั้นๆ ตามราคามาตรฐานที่กำหนดไว้อยู่แล้ว ซึ่งเมื่อถึงกำหนดชำระก็ไปจ่ายเงินตามปกติที่ถือเป็นเรื่องทั่วไปที่หลายๆคนทราบกันดีอยู่แล้ว สำหรับวิธีการขอใช้ไฟฟ้าครัวเรือนก็ไม่ยุ่งยากหลักๆ ผู้ขอใช้ไฟฟ้าต้องเป็นผู้บรรลุนิติภาวะและเข้าเงื่อนไข ดังต่อไปนี้
-เจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้า มีที่อยู่ที่ชัดเจน สำเนาบัตรประชาชนเอกสารหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้า
-ผู้ที่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของที่ดิน หรือเจ้าของสถานที่ใช้ไฟฟ้าเป็นลายลักษณ์อักษร
-ผู้มีสิทธิครอบครองสถานที่ใช้ไฟฟ้าตามกฎหมาย หรือตามสัญญาต่างๆ เช่น สัญญาเช่า สัญญาจะซื้อ เป็นต้น
สำหรับค่าไฟฟ้าครัวเรือน ก็จะแตกต่างในการใช้งานกันออกไป รวมถึงยังมีค่า FT เพิ่มขึ้นมาอีกด้วย คราวๆ จะอยู่ประมาณ 4.4217 บาท ขึ้นไป ที่ยังไม่รวมค่าอื่นๆ อีก
แต่สำหรับไฟฟ้าการเกษตรนั้น หมายถึงคือ ไฟเกษตรคือไฟที่มีไว้ใช้สำหรับทำการเกษตรกรรมประเภทต่าง ๆ เช่น ไฟเดินเครื่องสูบน้ำ จ่ายน้ำ จ่ายไฟ ในสวน ไร่ นา เป็นต้น ซึ่งไม่ใช่ว่าใครจะสามารถใช้ไฟเกษตรได้ แต่ต้องผ่านเกณฑ์คุณสมบัติต่าง ๆ ที่โครงการกำหนดด้วย ดังนี้
จะขอไฟเกษตร ต้องผ่านเกณฑ์อะไรบ้าง?
1. ตรวจสอบให้แน่ชัดว่าพื้นที่ที่จะขอใช้ไฟไม่ได้เป็นพื้นที่หวงห้ามจากราชการ เพื่อที่จะได้รับการรับรองจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
2. เส้นทางต้องเป็นสาธารณะและสามารถสัญจรได้อย่างสะดวก
3. จุดที่ขอใช้ไฟฟ้าต้องสามารถเข้าถึงได้จากระบบจำหน่ายโดยวิธีปักเสาพาดสาย
4. ได้รับการรับรองด้านขนาดพื้นที่และชนิดของกิจกรรมการผลิตทางการเกษตรจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่วยงานราชการ
5. ระบุแหล่งน้ำที่จะใช้ในการผลิตทางการเกษตรให้ชัดเจน
6. ที่ดินต้องไม่ถูกถือครองโดยเอกชนรายใหญ่ และต้องมีเอกสาร/หลักฐานสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายที่ดินหรือหนังสือสัญญาเช่าที่ดินทำกินที่ถูกต้องตามกฎหมายของพื้นที่ทำการเกษตร
7. เป็นเกษตรกรรายย่อยที่ขอติดตั้งมิเตอร์ขนาดไม่เกิน 15(45) แอมป์ต่อ 1 ราย
ในส่วนของราคาก็จะแตกต่างกันออกไปอีกด้วย ซึ่งจะมีราคาที่ถูกกว่าค่าไฟฟ้าในครัว เพราะส่วนหนึ่งก็เพื่อช่วยลดต้นทุนในการช่วยเหลือพี่น้องชาวเกษตรกรเป็นหลัก
สำหรับอัตตราค่าไฟการเกษตรปัจจุบันจะอยู่ที่ราคา 4 บาทต่อหน่วย
ดังนั้นสำหรับไฟฟ้าเกษตรนั้น สามารถทำเรื่องขอได้ โดยพี่น้องเกษตรกร สามารถรวมตัวไปยื่นเรทค่าไฟเป็นไฟเกษตรได้ โดยรวมตัวกันตั้งแต่ 3 ครัวเรือนขึ้นไป ในละแวกพื้นที่การทำเกษตรด้วยกัน หรือ พื้นที่ไม่ห่างไกลกันมากนัก โดยสามารถติดต่อได้ที่ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ในพื้นที่ของท่านที่ท่านอยู่อาศัยหรือรายละเอียดเพิ่มเติมตามลิงค์นี้ https://safesavethai.com/articles/what-is-agricultural-electricity/
เนื้อหาโดย: padungpomn1234
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
25 VOTES (5/5 จาก 5 คน)
VOTED: อัศวิน ดีนะยานะ, หลานป้าพริก, padungpomn1234, ธรรมชาติบำบัด, กระทิบูด
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เงินดิจิทัล 10,000 บาท เฟส 3 มาแน่! คนทั่วไปรับผ่านดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจปี 2568Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
น้องเต้าหู้แจกไข่ให้ชาวบ้าน แต่กลับเจอมนุษย์ป้ารุมเข้ามาจัดการ ทำเอาน้องอึ้งจนพูดไม่ออก เห็นแล้วรู้สึกอายแทนจริงๆน้ำใจยิ่งใหญ่! หนุ่มไร้เงินขอติดรถกลับบ้าน เจอผู้ให้เต็มคันสุดอบอุ่น