จัดเลือกตั้งยังไงให้งง รวมการแบ่งเขตสุดปวดหัวของ กกต. ที่รู้แล้วชวนงง
ใกล้ถึงช่วงเลือกตั้งหลายพรรคเริ่มออกมาขยับ ในการเปิดตัวผู้สมัคร และแย่งติดป้ายหาเสียงชนิดที่ว่า ไม่มีเสาไฟฟ้าต้นไหนที่ว่างเลย
.
แต่ปัญหาที่พบเจอตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2562 คือการแบ่งเขตที่สุดแสนจะฉงน ของคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. จนปัจจุบันมีชาวเน็ตเรียกฉายา ติดตลกว่า "คณะกรรมการกีดกันการเลืกตั้ง"
.
ซึ่ง กกต. ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2540 ก็คือเกิดขึ้นมาหลังจากการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญปี 2540 สมัยนายกรัฐมนตรี นาย บรรหาร ศิลปอาชา เป็นองค์กรอิสระภายใต้รัฐธรรมนูญที่มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งทั้งระดับท้องถิ่น และระดับประเทศอีกทั้งการจัดการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญในปี 2549 และ รัฐธรรมนูญปี 2560
.
แต่ข้อครหาของ กกต. ตั้งแต่อดีตในฐานะ หลัง ปี 2550 ตั้งแต่กรณีการบัตรเลือกตั้งที่มีปัญหา การนับคะแนน การแบ่งเขต หรือแม้กระทั่ง การประกาศรับรองผลการเลือกตั้งที่นานเกินปกติ
.
ล่าสุด เป็นประเด็นที่ถกเถียงกันในโลกโซเชียล คือการแบ่งเขตเลือกตั้ง ในกรุงเทพมหานคร ที่มีการแบ่งเขต จำนวน 33 เขต ซึ่งเพิ่มขึ้น จากปี 2562 จำนวน 3 เขต และแน่นอนว่า เขตเลือกตั้งที่เพิ่มขึ้นมา ส่งผลให้มีการแบ่งเขตใหม่ และการแบ่งเขตใหม่รอบนี้ก็ ทำชาวบ้านสับสนแบบเต็มคาราเบล
ซึ่งการแบ่งเขตในรอบนี้ในส่วนของกรุงเทพมหานครเป็นการแบ่งเขตที่ถือได้ว่าแปลก เพราะไม่มีเขตไหนที่มีการแบ่งเต็มเขตที่เป็นเขตใหญ่ ยกเว้นเขตดอนเมืองเขตเดียว นอกนั้นจะเป็นการเฉือนแขวง ไปปะปนรวมกับเขตอื่นหรือเขตข้างๆ ที่หนักที่สุด คือการเฉือนแขวง ของ 3 เขตมารวมเป็นเขตเดียว
.
นับว่าเป็นการแบ่งเขตที่สร้างความสับสนให้ชาวบ้านไม่น้อย เมื่อเทียบกับ จังหวัดที่เป็นจังหวัดที่เขตเลือกตั้งไม่เยอะและลงตัวที่ขอยกมาเป็นตัวอย้าง อย่างจังหวัดสุพรรณบุรี ที่เป็นบ้านใหญ่ของพรรคชาติไทยพัฒนา ที่ตอนนี้ มีเขตเพิ่มขึ้นมา 1 เขต จากในปี 2562 มีเพียง แค่ 4 เขตการเลือกตั้งเท่านั้น ขนาดจังหวัดที่มีพรรคเดียวครองแชมป์ก็ยังต้องเจอกติกา สุด งง ของ กกต.
แน่นอนว่าการแบ่งเขตที่สับสน นำมาซึ่งอุปสรรคการเลือกตั้ง อย่างแน่นอน แน่นอนว่าคนส่วนใหญ่ต้องสับสน และ ต้องการผิดเบอร์ ซ้ำร้ายที่สุดคือการทำบัตรเสีย
.
ก็น่าคิดนะครับ ว่าแทนที่การจัดการเลือกตั้งควรจะอำนวยความสะดวก ใช่หรือที่จะมาเพิ่มความมึนงง และความสับสน และแสดงความไม่เป็นมืออาชีพหรือทำตามใบสั่งใครอยู่หรือไม่อย่างไร



