หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ การเงิน Pic Post แชร์ลิ้ง
 
Page หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype
 
อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่
 
เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ
 
คำนวณ การเงิน ราคา BitCoin/Crypto
 
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
 
Login เข้าสู่ระบบ สมัครสมาชิก
 
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ย้อนรอยซีเซียม 137 ที่โกยาเนีย!!! สิ่งเตือนใจถึงอันตรายของสารกัมมันตภาพรังสี

สารกัมมันตภาพรังสีเป็นสารอันตรายถึงชีวิตและมีพิษตกค้างได้นานทำให้ต้องมีการเก็บรักษาและกำจัดอย่างถูกวิธี แต่ด้วยความประมาทและรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้เกิดสารกัมมันตภาพรังสีรั่วไหลและเป็นอันตรายต่อประชาชนที่เมืองโกยาเนีย ประเทศบราซิล เรามาย้อนรอยเหตุการ์ดังกล่าวกันครับว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร และประชาชนได้รับผลกระทบอย่างไรบ้าง

ความน่าหลงไหลจากอุปกรณ์ทางการแพทย์เรืองแสงได้

ในปี 1985 สถาบันรังสีรักษาแห่งโกยาเนีย (The Goiania Institute of Radiotherapy: IGR) ได้ทำย้ายสถานที่ตั้งไปยังพื้นที่ใหม่ IGR ทำการขนย้ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ไปเป็นจำนวนมาก แต่มีทรัพสินบางส่วนที่ไม่ได้ถูกทิ้งร้างไว้ที่พื้นที่เดิม หนึ่งในนั้นคือแคปซูลที่บรรจุสารซีเซียม-137 (Caesium-137: CS-137) ซึ่งเป็นไอโซโทปกัมมันตภาพรังสีที่ใช้ในการรักษามะเร็ง

ในเดือนกันยายน 1987 พ่อค้าเศษเหล็กได้ลักลอบเข้าไปในอาคารร้างของ IGR และได้ค้นพบอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ถูกทิ้งแล้วหลายรายการซึ่งรวมถึงแคปซูล CS-137 ด้วย พ่อค้าเศษเหล็กจึงนำอุปกรณ์ไปขายที่ร้ายรับซื้อขยะในเมืองโกยาเนีย

ด้วยความที่ CS-137 ได้ปล่อยแสงแสงสีน้ำเงิน (เนื่องจากเป็นสารกัมมันตภาพรังสี) ทำให้ลูกจ้างร้านรับซื้อขยะเกิดความหลงไหล อดใจไม่ไหว นำแคปซูลดังกล่าวกลับไปที่บ้านของเขา ด้วยความไม่รู้ถึงความอันตรายของของดังกล่าว เขาได้เชิญชวนให้เพื่อนๆ และครอบครัวได้มาชมความสวยงามอันน่าพิศวงของ CS-137 โดยปล่อยให้พวกเขาสัมผัสกับวัสดุที่มีอันตรายถึงชีวิต

ภัยร้ายแสดงผล อาการเจ็บป่วยเริ่มแสดงออกมา

เมื่อ CS-137 ไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกวิธีและยังมีคนเข้าไปรับชมอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการรั่วไหลของสารกัมมัตภาพรังสี ผู้คนกว่า 112,000 คนเริ่มเกิดอาการต่างๆ เช่น อาเจียน ท้องร่วง ผิวหนังไหม้ และอาการป่วยจากรังสี ผู้คนหลายพันคนในพื้นที่ได้รับรังสีในระดับที่เป็นอันตรายไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ทางการบราซิลตอบสนองต่อเหตุการณ์ดังกล่าวช้า ซึ่งทำให้สารกัมมันตภาพรังสีแพร่กระจายและปนเปื้อนพื้นที่ขนาดใหญ่

ในที่สุด รัฐบาลบราซิลได้ประกาศภาวะฉุกเฉินและนำทีมผู้เชี่ยวชาญมาทำความสะอาดพื้นที่ปนเปื้อนและรักษาผู้ที่ได้รับผลกระทบ อย่างไรก็ตาม ความเสียหายได้เกิดขึ้นแล้ว อุบัติเหตุโกยาเนียยังคงเป็นหนึ่งในอุบัติเหตุทางรังสีที่ร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยมีผู้เสียชีวิต 4 ราย และอีกกว่า 200 คนป่วยด้วยอาการเจ็บป่วยจากรังสี

เรียนรู้และแก้ไขด้วยข้อบังคับที่สำคัญ

อุบัติเหตุที่โกยาเนียเน้นให้เห็นถึงความจำเป็นของกฎระเบียบและระเบียบปฏิบัติที่เข้มงวดเกี่ยวกับการจัดการ การจัดเก็บ และการกำจัดวัสดุกัมมันตภาพรังสี โศกนาฐกรรมทำหน้าที่เป็นเครื่องเตือนใจถึงผลร้ายแรงที่อาจเกิดขึ้นจากการขาดการป้องกันที่เหมาะสม อุบัติเหตุดังกล่าวยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการตอบสนองอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพต่อเหตุการณ์ดังกล่าว

ทุกวันนี้ หลายประเทศได้นำข้อบังคับและระเบียบปฏิบัติที่เข้มงวดมาใช้ในการจัดการวัสดุกัมมันตภาพรังสี รวมถึงขั้นตอนการจัดเก็บ การขนส่ง และการกำจัดที่เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้อุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นอีกในอนาคต

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 


โพสท์โดย: unboxyourthinking
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
20 VOTES (5/5 จาก 4 คน)
VOTED: unboxyourthinking, bemygon, thecalmgirl, แหวนดอกไม้วงนั้น
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
"ประชา​ธิปัตย์​" สนับสนุน​สิทธิ​เสรีภาพของ LGBTQ+ และร่วมเดินรณรงค์​ Bangkok Naruemit Pride ​ใน Pride Monthทำไมงูกะปะถึงอันตรายและน่ากลัวกว่างูจงอาง10อันดับมหาวิทยาลัยราชภัฎที่เด็กไทยอยากเรียนมากที่สุดชายโดนเมียทิ้งเพราะเอาบริษัทไปแลกหินก้อนเดียว ตอนนี้รู้ราคาแล้วงานเเต่งที่เเขกมาเยอะ จานชามก็จะประมาณนี้เเหละ บอกเลยว่าล้างกันจนท้อ 😂เงินเดือนผู้ประกาศข่าวป่วยโรคไตหรือมีไข้ ก็ห้ามทานรายได้ของทีวีดิจิตอล มาดูกันว่าช่องไหนจะมีรายได้สูงที่สุดวิธีกำจัดแมลงสาบอย่างได้ผล
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
3 อาชีพน่าสนใจในไทย ที่มีรายได้สูงระบบอักษรสำหรับคนตาบอดมีหลักการทำงานอย่างไร?ป่วยโรคไตหรือมีไข้ ก็ห้ามทานเมืองที่เกิดอุบัติเหตุทางรถไฟมากที่สุดของประเทศอียิปต์
ตั้งกระทู้ใหม่