หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ย้อนรอยรถไฟฟ้าสายสีทอง ขนส่งมวลชนขนาดรอง เสริมการเดินทางสายหลัก รัฐไม่ต้องลงทุน ประชาชนรับประโยชน์

โพสท์โดย giantchub

หลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 คลี่คลาย กรุงเทพมหานครค่อย ๆ กลับเข้าสู่ภาวะปกติ ถนนที่โล่งมา 3 ปี กลับมาคึกคัก การจราจรหนาแน่นเหมือนเดิม แต่ระบบขนส่งมวลชนของกรุงเทพฯ ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ  เพราะมีทางเลือกในการเดินทางให้ประชาชนหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรือโดยสารสาธารณะ หรือรถไฟฟ้าทั้งใต้ดินและบนดิน ทำให้การเดินทางของคนเมืองค่อนข้างง่ายและสะดวก โดยในอนาคตอันใกล้นี้จะมีรถไฟฟ้าเพิ่มขึ้นมาอีกหลายสีหลายเส้นทาง ซึ่งปัจจุบันกำลังดำเนินการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ เช่น รถไฟฟ้าสายสีส้ม รถไฟฟ้าสายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีชมพู เป็นต้น

 

เมื่อพูดถึงระบบรถไฟฟ้า นอกจากกรุงเทพฯ จะมีรถไฟฟ้าสายหลักแล้ว ก็ยังมีรถไฟฟ้าสายรองด้วย ที่น่าสนใจอย่างรถไฟฟ้าน้องเล็ก ที่อาจจะไม่โดดเด่นมากนัก แต่เป็นที่รู้จักไม่น้อย ก็คือ รถไฟฟ้าสายสีทอง ซึ่งเป็นระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนขนาดรอง ทำหน้าที่เป็นระบบเสมือน (Feeder System) ให้แก่ระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระบบหลัก ที่ส่งเสริมการเข้าถึงและเป็นทางเลือกการเดินทางโดยไม่ใช้รถยนต์ แม้จะมีปริมาณผู้โดยสารน้อยเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนหลัก เพราะเป็นสายรองระยะทางสั้น เฟสแรกมี 3 สถานี แต่ก็ถือว่า “จิ๋วแต่แจ๋ว” เพราะมีบทบาทช่วยการเดินของผู้คนในย่านฝั่งธนบุรี บรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาการจราจรที่ค่อนข้างแออัดคับคั่งได้ไม่น้อยทีเดียว ที่สำคัญเป็นโครงการที่รัฐไม่ต้องออกเงินลงทุนเองเลยแม้แต่บาทเดียว แต่รายได้และกรรมสิทธิ์ทุกอย่างของโครงการตกเป็นของรัฐทั้งหมด เพื่อมอบประโยชน์ให้แก่ประชาชน

 

ที่มาโครงการ

 

- เป็นโครงการที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) เป็นผู้ดูแล

- โดยกรุงเทพมหานครได้มอบหมายให้ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ซึ่งเป็นวิสาหกิจของกทม. เป็นผู้บริหารและพัฒนาโครงการ รวมทั้งมีสิทธิในการจัดเก็บค่าโดยสาร การหารายได้เชิงพาณิชย์จากโครงการต่างๆ ของบริษัท และการหาแหล่งเงินทุนในการก่อสร้าง (ซึ่งกทม. ไม่ได้สนับสนุนงบประมาณแก่เคทีแต่อย่างใด)

- กรุงเทพธนาคมไม่ได้ใช้งบประมาณของภาครัฐ แต่เป็นรูปแบบความร่วมมือกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนากรุงเทพฯ ไปด้วยกัน ทำให้โครงการเกิดขึ้นเร็ว ไม่ต้องรอกระบวนการวิธีของบประมาณจากภาครัฐ

- เอกชน คือ กลุ่มสยามพิวรรธน์ เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณการลงทุนเอง 100% หรือราว 3,000 ล้านบาท

- ทรัพย์สินในโครงการทั้งหมดเป็นกรรมสิทธิ์ของกทม. รวมถึงรายได้จากค่าตั๋วโดยสาร

- เมื่อการดำเนินงานได้ผลกำไร บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด จะต้องจ่ายผลตอบแทนให้กับกรุงเทพมหานครในอัตราร้อยละ 50 (ตามสัญญาระหว่างกรุงเทพมหานคร และบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด)

 

ข้อมูลโครงการ

 

- เริ่มก่อสร้างในปี 2561 (เปิดบริการ 16 ธ.ค. 2563)

- ก่อสร้างโดยบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์

- ระยะทาง 1.8 กิโลเมตร วิ่งตามแนวถนนกรุงธนบุรี ถนนเจริญนคร และถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน

- ให้บริการ 4 สถานี ประกอบด้วย (G1) สถานีกรุงธนบุรี - เชื่อต่อกับรถไฟฟ้า BTS, (G2) สถานีเจริญนคร – เชื่อมต่อกับไอคอนสยาม, และ (G3) สถานีคลองสาน - โรงพยาบาลตากสิน

- รถไฟฟ้าเป็นระบบ Automated Guideway Transit (AGT) หรือระบบขนส่งมวลชนแบบนำทางอัตโนมัติ หรือระบบ Automated People Mover (APM) ซึ่งเป็นระบบไร้คนขับสายแรกของประเทศ

- รถที่นำมาใช้เป็นรถไฟฟ้ารุ่น Bombardier Innovia APM 300

- ใช้รางเบานำทาง วิ่งบนล้อยาง ทำให้เกิดเสียงขณะวิ่งรถน้อยกว่าเมื่อเทียบกับรถไฟฟ้าระบบอื่น ช่วยลดมลพิษทางเสียง และได้มาตรฐานด้านความปลอดภัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

- ความเร็วสูงสุด 80 ก.ม./ช.ม. จำนวน 3 ขบวนๆ ละ 2 ตู้ (ใช้รับส่งผู้โดยสาร 2 ขบวน และสำรองในระบบ 1 ขบวน)

- ความจุผู้โดยสาร 138 คน/ตู้ หนึ่งขบวนจุผู้โดยสารได้ 276 คน และรองรับผู้โดยสารได้มากถึง 4,200 คน/ชั่วโมง/ทิศทาง

- ตู้รถไฟฟ้ามีความกว้าง 2.8 มตร ความยาว 12.75 เมตร ความสูง 3.5 เมตร ประตูมีความกว้าง 19 เมตร ความสูงของพื้นรถ 1.1 เมตร

- อัตราค่าโดยสาร 3 สถานี 15 บาท (ปัจจุบันปรับเป็น 16 บาท)

- เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีเขียว หรือรถไฟฟ้า BTS สายสีลม บริเวณสถานี BTS กรุงธนบุรี (G1)

-ถูกออกแบบมาเพื่อให้เป็นสายเชื่อมต่อการคมนาคมทางรถ เรือ และระบบราง ซึ่งมีการวางแผนก่อสร้างเฟสขยายในอนาคต เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีแดงและสายสีม่วงด้วย

- อยู่ในเส้นทางที่เป็นทำเลทางเศรษฐกิจของฝั่งธนบุรี ที่มีทั้งที่อยู่อาศัย สถานที่ราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล โรงแรม ร้านค้า ร้านอาหาร และแหล่งช้อปปิ้ง

 

แผนการในอนาคต

- โครงการรถไฟฟ้าสายสีทองระยะที่ 2 ในอนาคต จะเป็นการต่อยอดโครงข่ายการให้บริการให้เกิดความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยจะขยายต่อจากสถานีคลองสาน (G3) บริเวณหน้าโรงพยาบาลตากสินไปตามแนวถนนสมเด็จเจ้าพระยา ระยะทาง 900 เมตร ซึ่งจะก่อสร้างสถานีประชาธิปก (G4)

- สถานีประชาธิปก จะห่างจากสถานีรถไฟฟ้าสายสีม่วงประมาณ 400 เมตร

- ในอนาคตจะมีการพัฒนาโครงข่ายต่อขยายเส้นทางจากทางด้านเหนือไปอีก 3 สถานี (ระยะทางประมาณ 1.82 ก.ม.) เพื่อเชื่อมโครงข่ายการเดินทางไปยังรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (ช่วงหัวลำโพง-บางแค)

- เมื่อโครงการแล้วเสร็จทั้ง 2 ระยะตามแผนที่ศึกษาไว้ จะมีระยะทางรวม 2.7 กิโลเมตร

 

 

https://youtu.be/Yhdk1Ye8D3c

โพสท์โดย: giantchub
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
giantchub's profile


โพสท์โดย: giantchub
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: yensabai
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สื่อฮาแตก หลัง "ลิลลี่" เผยเหตุเลิกราอดีตประธานสภาฯเด็กจงใจทำให้รถไฟตกราง เพื่อถ่ายฉากเด็ด ลงหนังที่สร้างเองข่าวเศร้าสะเทือนวงการ! "เบนซ์ ธนธิป" เสียชีวิตแล้ว😱 คลิปสยอง! หนุ่มจีนถือแบตฯ ลิเทียมเข้าลิฟต์ ระเบิดตูม! ย่างสดคาที่ 🔥สรุปประเด็น "เปิ้ล หัทยา" ยอมรับเป็นผู้จัดที่ "หนุ่ม สุรวุฑ" ทวงค่าตัว !!เลขเด็ด เลขมาเเรง เลขดัง "รวมหวยเด็ดสำนักดัง" งวดวันที่ 1 สิงหาคม 2567สาวถูกเครื่องอุ่นคอระเบิด เสียโฉมก่อนแต่งงาน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
ข่าวเศร้าสะเทือนวงการ! "เบนซ์ ธนธิป" เสียชีวิตแล้วหนังที่ทำรายได้น้อยที่สุดตลอดกาล เท่าที่เคยมีบันทึกไว้ในโลก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
สิงคโปร์ล้ำไปอีกขั้น โดยการใช้เครื่องพิมพ์ 3 มิติ พิมพ์ QR Code ที่กินได้ใช้เวลาสร้าง 20 ปี แต่สิ่งที่ได้คือคุกที่เล็กที่สุดในโลก แต่แข็งแรงอยู่ถึงปัจจุบันนวลฉวี เปิดแฟ้มคดีสะเทือนขวัญ ฆาตกรรมหึงหวงในอดีตการตอบสนองของพืชมีอะไรบ้าง พืชก็มีชีวิตและความรู้สึกนะรู้ไหม?
ตั้งกระทู้ใหม่