รู้หรือไม่!! สมัยก่อนแพทย์ใช้หูของตัวเองแนบฟังอวัยวะภายในส่วนต่าง ๆ
ในสมัยก่อนนักจิตวิทยาใช้หูของตัวเองแนบฟังอวัยวะภายในส่วนต่าง ๆ เช่นปอดและหัวใจของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิดแบบในภาพ ก่อนที่เรอเน แลนเน็กจะคิดค้นหูฟังทางการแพทย์สำเร็จ
โดยที่ การฟังเสียง การตรวจคนไข้ (Auscultare "ฟัง" ; Physician auscultation ) คือการฟังเสียงภายในร่างกาย โดยปกติจะใช้เครื่องฟังเสียง การตรวจคนไข้จะดำเนินการเพื่อตรวจสอบ ระบบ ไหลเวียนโลหิตและระบบทางเดินหายใจ ( เสียงหัวใจและ ลมหายใจ ) รวมถึงช่องทางเดินอาหาร
ภาพประกอบจากปี พ.ศ. 2449 แสดงให้เห็นแพทย์ที่วางเครื่องตรวจฟังเสียงที่ทำจากไม้ Laennec ไว้ระหว่างหูซ้ายของเขากับหลังของผู้ป่วยที่รัดตัวเพื่อฟังเสียง
René Laennec ได้ใช้การฟังเสียงร่างกายเพื่อวัตถุประสงค์ในการวินิจฉัย ซึ่งนั่นก็มีมีต้นกำเนิดอาจเป็นช่วงต้นของอียิปต์โบราณ (การฟังเสียงและการคลำไปพร้อมกันในการตรวจร่างกายและเหมือนกันตรงที่ทั้งสองอย่างมีรากฐานมาแต่โบราณ ทั้งสองอย่างต้องใช้ทักษะ และทั้งสองอย่างยังคงมีความสำคัญในปัจจุบัน) ผลงานของ Laënnec คือการปรับแต่งขั้นตอน
Laennec ฟังผู้ป่วยต่อหน้านักเรียนของเขา
การเชื่อมโยงเสียงกับการเปลี่ยนแปลงทางพยาธิสภาพเฉพาะในทรวงอก และการประดิษฐ์ เครื่องมือที่เหมาะสม (หูฟังของแพทย์) เพื่อเป็นสื่อกลางระหว่างร่างกายของผู้ป่วยและหูของแพทย์
ปัจจุบัน การตรวจร่างกาย หรือ การตรวจร่างกายโดยแพทย์ ( Physical examination : PE, Medical examination หรือ Clinical examination) คือ ขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งที่แพทย์ปฏิบัติเพื่อใช้ในการช่วยวินิจฉัยโรค วินิจฉัยแยกโรค ประเมินวิธีการรักษา ติดตามผลการรักษา และประเมินสุจภาพโดยรวมของผู้ป่วย
การตรวจร่างกายของแพทย์มักจะอยู่ในกรอบการปฏิบัติใหญ่ ๆ 4 ข้อ คือ
1. การตรวจด้วยสายตา (Inspection) โดยอาศัยหลักการที่ว่า รูปกายภายนอกย่อมบอกสิ่งผิดปกติภายใน แพทย์จะดูผู้ป่วยทั้งตัวตั้งแต่ลักษณะของการเดิน นั่ง ยืน เคลื่อนไหว สีของใบหน้า เล็บ ผิวหนัง ผิวของลูกนัยน์ตา ผิวหนังภายในลำคอ เป็นต้น เพราะจะเป็นตัวช่วยบ่งบอกถึงโรคและสุขภาพของผู้ป่วยได้
2. การตรวจด้วยการใช้มือกดสัมผัส (Palpation) โดยอาศัยหลักที่ว่า “สิบตาเห็นไม่เท่าหนึ่งมือคลำ” เช่น การใช้นิ้วมือกดผิวหนังบริเวณหลังเท้าเพื่อดูว่ามีรอยบุ๋มหรือไม่, การใช้นิ้วและ/หรือฝ่ามือคลำตามส่วนต่าง ๆ เพื่อตรวจหาก้อนเนื้อ ขนาดอวัยวะ ความนุ่ม ความแข็ง ความเกร็ง และอาการเจ็บปวด (เช่น คลำเต้านม คลำช่องท้อง คลำต่อมน้ำเหลือง)
3.การตรวจด้วยการเคาะ (Percussion) โดยอาศัยหลักการที่ว่า “ถ้าเจ้าอยากเข้าประตูก็จงอย่ารีรอที่จะเคาะประตู” ซึ่งแพทย์จะวางมือหนึ่งบนตำแหน่งที่ต้องการตรวจ แล้วจึงใช้นิ้วมืออีกข้างเคาะบนหลังมือที่วางอยู่บนอวัยวะของผู้ป่วย เพื่อตรวจรับการสะท้อนของเสียง ดูลักษณะ และ/หรือขนาดของอวัยวะนั้น ๆ เช่น การเคาะปอด การเคาะช่องท้องเพื่อดูปริมาณของแก๊สในลำไส้ นอกจากนี้ยังมีการใช้ค้อนยางเคาะตรวจตรงบริเวณหัวเข่าด้วย การตรวจด้วยการฟังเสียง (Auscultation) โดยอาศัยการที่ว่า “เสียงเป็นสื่อสัมผัสซึ่งให้ความรู้สึกที่ลุ่มลึก” เช่น
4. การฟังเสียงพูดของผู้ป่วยว่าแหบผิดปกติหรือไม่, การใช้หูฟัง (Stethoscope) มากดฟังที่อกหรือแผ่นหลังเพื่อฟังเสียงการหายใจของปอด หรือกดฟังที่ช่องท้องเพื่อฟังเสียงการเคลื่อนไหวของลำไส้