“Pradal Serey = Kun Khmer“ ???เมื่อ‘ประด่าลเสรี กับ กุนขแมร์’ ไม่ใช่อันเดียวกัน อย่างที่กัมพูชาบอก!?
⁉️🇰🇭 “Pradal Serey = Kun Khmer“ ???
เมื่อ‘ประด่าลเสรี’ กับ ‘กุนขแมร์’ ไม่ใช่อันเดียวกัน อย่างที่เขมรบอก!?
1.) ‘มติชนสุดสัปดาห์’ ฉบับ 8 ก.พ. 23 ตั้งข้อสังเกตุถึง “ประด่าล กับ กุนขแมร์” โดยกล่าวถึงหนังสือ ‘คุกการเมือง’ ของ ‘บุนจัน มุล (บุญจันทร์ มุล)’ ชาวเขมร ซึ่งบันทึกเรื่องราวยุคสงครามไว้
- ช่วงอายุ ‘บุน’ คือ ปี 1921-1975
- เคยชกมวยสมัครเล่นในปี 1938 ด้วยชื่อการต่อสู้ “ประด่าล” [“Pradal = การต่อสู้]
- ไม่เคยปรากฎชื่อ ‘กุนขแมร์’ มาก่อน!
2.) สงครามกลางเมืองในเขมร เริ่มต้นที่ทศวรรษ 1960s
หลัง 1979 เขมรแดงสลายแล้วอีกหลายปี เขมรถึงเริ่มฟื้นฟูศิลปะการต่อสู้
3.) โดยสถานีโทรทัศน์ช่อง 5 เขมร ร่วมกับโปรโมเตอร์มวยไทย นำนักมวยไทยมาชกกับนักมวยท้องถิ่นเขมร เรียกใหม่ว่า “ประด่าลเสรี”
[Pradal Serey // Serey = อิสระ]
กิจการรุ่งโรจน์มาก มีคู่แข่งคือ ‘ช่องทีวีบายน’ ของ ‘ฮุน มานา’ บุตรสาวคนโตของฮุนเซน
4.) ปี 2003 เกิดเหตุเผาสถานทูตไทย ‘สถานีช่อง 5’ ถูกกวาดล้าง แทนที่ด้วยกิจการ ‘ช่องทีวีบายน’ ที่นำมวยจากเมืองไทยมาแข่งขันต่อ และเปลี่ยนรูปใหม่ เพิ่มการประดับธงคาดหัว และ ผ้าขาวม้าผูกเอว
5.) ปัจจุบันข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตระบุว่า “ประด่าลเสรี ก็คือ กุนขแมร์”
น่ากังขาว่า มันมาได้อย่างไร? ตอนไหน? เพราะตามประวัติ ‘ประด่าล’ ที่ชาวเขมรบันทึกไว้ ก็ไม่มีชื่อ ‘กุนขแมร์’ มาเกี่ยวข้องเลย
6.) อ้างว่า ‘กุนขแมร์’ เป็นต้นแบบ ‘มวยไทย’ ?
นี่ก็ไม่จริง เพราะในทางปฏิบัติหลังปี 1979 เป็นต้นมา เขมรนำรูปแบบและกติกา ‘มวยไทย’ มาใช้ ตั้งแต่ยุคฟื้นฟู
7.) รวมถึงตำนาน ‘โบกาตอร์’ ที่ถูกเรียบเรียงขึ้นใหม่ จากของเดิมเป็นการต่อสู้ที่ใช้ไม้ขนาดสั้นเป็นอาวุธ กลายเป็น ‘การต่อสู้กับสิงโต’ ด้วยการอ้างภาพสลักหินโบราณ
8.) ทุกอย่างที่กล่าว น่าจะมาจากฝ่ายราชการเขมรยุคปัจจุบัน เป็นผู้กำหนดทั้งสิ้น
Cr. มติชนสุดสัปดาห์ / หนังสือ ‘คุกการเมือง’
…………………………………
Apart of ‘Political Prison’ , the book of ‘🇰🇭Bunchan Mul’ about his memory during wars in Cambodia , particularized that ‘Pradal’ was only one Khmer martial art.
No ‘Kun Khmer!!!