หม้อหุงข้าวทำงานอย่างไร และหม้อหุงข้าวรู้ได้อย่างไรว่าข้าวสุกแล้ว!?
หม้อหุงข้าวทำงานอย่างไร และหม้อหุงข้าวรู้ได้อย่างไรว่าข้าวสุกแล้ว เด็กๆ บางคนเข้าใจว่ามีการติดตั้งกล้องไว้ในหม้อ มีคนคอยสั่งกด เมื่อข้าวสุก
เรามาดูกันว่าระบบการทำงานของหม้อหุงข้าวว่ารู้ได้อย่างไรว่าข้าวสุกแล้ว
ที่ก้นของหม้อหุงข้าวจะมี เทอร์โมสตัท จะติดอยู่ที่ก้นหม้อชั้นนอก และมักจะเป็นแม่เหล็กที่ประกอบด้วยโลหะ 2 ชนิด คือ แท่งแม่เหล็กถาวร และเหล็กเฟอร์ไรต์ โดยแท่งแม่เหล็กถาวรจะมีแรงดูดน้อยลงในขณะที่มีความร้อนสูงขึ้นเรานำหลักการนี้มาใช้
เมื่อความร้อนสัมผัสกับหม้อชั้นใน และมีสปริงติดอยู่ เมื่อกดสวิตช์ คานจะทำให้สปริงดันตัวขึ้นไป แท่งแม่เหล็กด้านล่างจะดูดแท่งเหล็กเฟอร์ไรต์ที่อยู่ด้านบนของสปริง ไฟฟ้าจึงไหลผ่านเกิดเป็นวงจรกระแสไฟฟ้า ความร้อนที่ส่งผ่านจะทำให้ข้าวสุก
วงจรหม้อหุงข้าว
วงจรหม้อหุงข้าว เกิดขึ้นเมื่อกดสวิตช์ ทำให้คานที่มีแท่งแม่เหล็กประกบติดกันเกิดเป็นวงจรให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน ขณะหุงข้าวเมื่อน้ำระเหยออกหมด
หลังจากเดือดที่ 100 องศา C ปกติหม้อจะใช้น้ำเป็นตัวช่วยระบายความร้อน ในเมื่อน้ำระเหยหมด ความร้อนจะสูงเพิ่มขึ้นจนทำให้ ความเป็นแม่เหล็กน้อยลง ทำให้เกิดการตัดวงจรขึ้น ข้าวจึงไม่ไหม้ และเข้าสู่โหมดอุ่นแทน
สรุปได้ว่า เทอร์โมสตัท (Thermostat) เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยตัดกระแสไฟฟ้าในขณะที่ข้าวสุก แต่ข้าวสวยจะนุ่มเด้งพอดีรับประทานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำที่หุงนั่นเอง สาเหตุของกรณีเข้าแฉะ คือการใส่น้ำมากเกินไป เพราะข้าวดูดซึมน้ำจนสุกบานออกเต็มที่แล้วแต่ยังมีน้ำเหลืออยู่ ส่งผลให้ข้าวอุ้มน้ำมากเกินจนจับเป็นก้อน หรือก็คือ “ข้าวแฉะ” นั่นเอง
อ้างอิงจาก: Google และ facebook