Share Facebook LINE Twitter
หน้าแรก เว็บบอร์ด Chat ตรวจหวย ควิซ คำนวณ Pageแชร์ลิ้ง
หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน กินอะไรดี
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

อ.เจษฏา คลายข้อสงสัย? "อะไรอยู่ในหอยแครง...มันคือ ปูถั่ว ครับ"

โพสท์โดย อับดุล รอเเย๊ะส์

ได้คำถามหลังไมค์มาอีกแล้ว บอกว่าไปเจอคลิปติ๊กต๊อก (ดู https://www.tiktok.com/@jib_jib2512/video/7183668646181391643) ที่คุณผู้หญิงในคลิป กำลังเขี่ยเปิดให้ดูตัวประหลาดที่อยู่ในหอยครอง ซึ่งซื้อมาจากตลาดหนึ่งกิโลกรัม ทำเอาไม่กล้ากิน เพราะมีตัวอะไรไม่รู้อยู่ในหอย เห็นขาๆ ติดอยู่กับเนื้อหอยทุกตัวเลย ไม่รู้ว่ากินได้มั้ย ตั้งแต่กินหอยแครงมาก็ไม่เคยเจอ ใครรู้ บอกหน่อยว่ามันคืออะไร !?

คำตอบคือ มันเป็นปูชนิดหนึ่งครับ เรียกว่า ปูถั่ว (pea crab) ชอบอยู่ในหอย และไม่ได้เป็นอันตราย เอามาชุบแป้งทอดกินก็ยังได้เลยนะ (แต่ไม่น่าจะมีเนื้อเยอะ)

ปูถั่ว หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pinnotheres pisum (Pinnotheres เป็นภาษากรีกสำหรับ "ผู้พิทักษ์ของพินน่า Pinna" และ pisum เป็นภาษาละตินสำหรับถั่ว โดยอ้างอิงถึงรูปร่างของปูถั่ว) เป็นปูขนาดเล็ก ในวงศ์ Pinnotheridae ที่อาศัยอยู่เป็นปรสิตในหอยนางรม หอยกาบ หอยแมลงภู่และหอยสองฝาสปีชีส์อื่นๆ

ปูถั่วเป็นสัตว์จำพวกครัสเตเชีย (พวกกุ้งกั้งปู) ขนาดเล็ก ที่มีขนาดเท่าเม็ดถั่วหรือเหรียญสลึง โดยมีผิวหลังของกระดอง ที่เรียบเนียน กระดองของตัวผู้จะแข็งและเป็นวงกลม มีตาและหนวดยื่นออกมาจากด้านหน้า และตัวผู้จะมีก้ามที่ดูใหญ่แข็งแรงกว่าตัวเมีย (ก้ามของตัวเมียจะดูเป็นทรงยาวมากกว่า) ปูถั่วตัวเมียมักจะมีตัวที่ดูโปร่งแสงและทำให้เห็นอวัยวะภายในและอวัยวะสืบพันธุ์ เป็นสีเหลืองและสีแดง ขณะที่ตัวผู้จะเป็นสีเทาอมเหลืองมากกว่า และมีลายสีน้ำตาลเป็นหย่อมๆ (ดูรูปประกอบมุมบนขวา)

ปูถั่วมีความสัมพันธ์กับสัตว์ที่เป็นเจ้าบ้าน ในรูปแบบของการเป็นปรสิต มากกว่าที่จะเป็นการพึ่งพาอาศัยกัน เนื่องจากสัตว์เจ้าบ้านอาจได้รับอันตรายจากกิจกรรมการกินอาหารกินของปู เพราะปูถั่วต้องอาศัยเจ้าบ้านเพียงอย่างเดียว เพื่อการอยู่รอดทั้งเป็นอาหาร ให้ความปลอดภัย และรับออกซิเจน

ปูถั่วอาศัยสัตว์เจ้าบ้านได้หลากชนิด แต่ชนิดที่สำคัญที่สุดก็คือพวกสัตว์ตระกูลหอย โดยปูถั่วจะอาศัยอยู่ในช่องแมนเทิ้ล (mantle cavity) ของเจ้าบ้านเหล่านี้ นอกจากพวกหอยแล้ว ยังมีเม่นทะเล อีแปะทะเล (sand dollar) ฯลฯ ที่พบปูถั่วมาอาศัยอยู่ โดยปูถั่วจะพบในตัวของอีแปะทะเล ในทวารหนักของปลิงทะเล ในท่อหลอดของหนอน parchment worm (เป็นพวกโพลีคิต polychaete ชนิดหนึ่ง) ในโพรงของกุ้งโคลน (mud shrimp) หรือในเหงือกของเพรียงหัวหอม (sea squirt)

ไม่ค่อยเป็นที่ทราบกันนักเกี่ยวกับนิสัยการกินอาหารของปูถั่ว แต่ในกรณีของญาติของมัน คือ ปูหอยนางรม (oyster crab หรือ Zaops ostreus) พบว่า ในระยะตัวอ่อน จะอาศัยการกินแพลงก์ตอนที่หอยนางรมดูดเข้ามา ในขณะที่พวกตัวเต็มวัยจะกินอาหารที่เป็นส่วนหนึ่งของอาหารของหอย รวมทั้งกินสิ่งอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารของหอยด้วย ซึ่งกระบวนการกินอาหารของปูสามารถจะทำอันตรายต่อสัตว์เจ้าบ้านได้เมื่อมันกินเส้นเมือก (mucous string) ที่เจ้าบ้านใช้ช่วยลำเลียงอาหารเข้าสู่ปากของเจ้าบ้าน

สำหรับการจับคู่ผสมพันธุ์ ปูถั่วตัวผู้จะมาถูที่ขอบของเปลือกหอยที่มีปูถั่วตัวเมียอาศัยอยู่ โดยจะถูอยู่นานหลายชั่วโมง จนกว่าหอยจะยอมเปิดฝาออก และอนุญาตให้ปูตัวผู้เข้าไปได้ (ดูรูปประกอบมุมล่างขวา)

ภาพและข้อมูลจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Pea_crab

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: โยนี มีโยคีเป็นผัว
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
รู้หรือไม่? เลขบัตรประชาชนไทย 13 หลัก ไม่ได้สุ่มมั่ว ทุกหลักมีความหมาย สื่อถึงอะไรบ้างการออกกำลังกายหนักไปอาจไม่ใช่เรื่องดี กับ 7 อาการที่ร่างกายบ่งชี้ว่า “กำลังออกกำลังกายหนักเกินไป”ดื่มน้ำอ้อยเป็นประจำ ดีต่อสุขภาพหรือไม่ไหว้เจ้าที่กลางบ้าน ทำยังไงให้ปัง!Postjung ยังน่าทำอยู่ไหม? หรือแค่ตำนานยุคเว็บบอร์ดรุ่งเรือง?
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
วิธีทำ “พิซซ่าเวียดนาม” ลาดกระบังแบบง่ายๆ อร่อย ทำเองได้ที่บ้านPostjung ยังน่าทำอยู่ไหม? หรือแค่ตำนานยุคเว็บบอร์ดรุ่งเรือง?
รวมภาพตลกขบขัน..เฮฮา..ขำๆดราม่า "ต่อยมวย" ทำมวยไทยเสื่อม! เพจมวยบอกไม่สมควร?"กัน จอมพลัง" โพสต์ ลั่น! เดินหน้าลุยช่วยลุงกับป้าต่ออึ้ง! "แมงกะพรุน" นับหมื่นตัว! เกยตื้นตายปริศนาบนชายหาด อ.บ้านฉาง
ตั้งกระทู้ใหม่
หน้าแรกเว็บบอร์ดหาเพื่อนChatหาเพื่อน Lineหาเพื่อน SkypePic PostตรวจหวยควิซคำนวณPageแชร์ลิ้ง
Postjung
เงื่อนไขการให้บริการ ติดต่อเว็บไซต์ แจ้งปัญหาการใช้งาน แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม ข่าวประชาสัมพันธ์ ลงโฆษณา
เว็บไซต์นี้ใช้ Cookie
เพื่อประสบการณ์ที่ดีและการใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดูข้อมูลเพิ่มเติม อ่านนโยบายการใช้งาน
ตกลง