แว่นก๊อกเกิลกันหิมะใช้กันมากว่า 4,000 ปี!!
ชาวอินูอิต (Inuits) หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อเอสกิโม รวมถึงชนพื้นเมืองอื่นๆ ในแถบขั้วโลกเหนือล้วนรู้จักวิธีการปกป้องสายตาจากอาการ snow blindness มาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคน โดยใช้แว่นตาที่เรียกว่า ilgaak หรือ iggaak
แว่นตานี้สามารถประดิษฐ์จากวัสดุธรรมชาติหลากชนิด เปลือกไม้สน กระดูกสัตว์ งาของวอลรัส เขากวางคาริบูโดยจะวัดขนาด จากใบหน้าผู้สวมใส่ หลังจากตัดเป็นรูปทรงที่แนบสนิทกับผิวหน้าแล้วจะเจาะช่องสำหรับการมอง
Snow Blindness หรือ Photokeratitis คือภาวะการมองไม่ชัดชั่วขณะ เกิดจากอักเสบของกระจกตา สำหรับคนที่อยู่ในพื้นที่ๆ มีหิมะนั้น สาเหตุมักมาจากการที่จ้องหิมะหรือเกล็ดน้ำแข็งต่อเนื่องนานๆ แสง UV จากดวงอาทิตย์เมื่อกระทบกับพื้นสีขาวโดยเฉพาะน้ำแข็งจะทำให้เกิดแสงจ้าสะท้อนเข้าตา ยิ่งถ้าเป็นระยะเวลานานอาจทำให้ผิวกระจกตาถลอกได้ จะมีอาการแสบตา น้ำตาไหล ปวดตา หรือปวดศีรษะ คล้ายกับช่างเชื่อมเหล็กที่ไม่ใส่แว่นหรือหน้ากากกันแสง
อาการนี้ในภาษาอังกฤษมีคำศัพท์ใช้เรียกหลายคำเช่น arc eye / welder's flash / bake eyes / flash burns
ปกติ snow blindness สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกพื้นที่ๆ มีหิมะตก แต่ในเขตขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ หรือ บนเขาที่สูงมากๆ ภาวะนี้จะรุนแรงกว่าปกติ เพราะชั้น Ozone จะค่อนข้างบางทำให้ปริมาณแสง UV มีมากกว่าบริเวณอื่น