ช่างภาพบันทึกภาพ ลูกม้าลาย ลายจุดที่หายากมากๆได้ในเคนยา...เกิดจากการกลายพันธุ์ที่เรียกว่า (pseudo melanism)
ช่างภาพบันทึกภาพ ลูกม้าลาย ลายจุดที่หายากมากๆได้ในเคนยา...เกิดจากการกลายพันธุ์ที่เรียกว่า (pseudo melanism)
📸ช่างภาพ แฟรงก์ หลิว (Frank Liu) บันทึกภาพ "ม้าลาย" ที่ลวดลายสะดุดตาในเขตสงวนแห่งชาติมาไซมารา ประเทศเคนยา
🦓เหตุการณ์ที่ช่างภาพถ่ายภาพม้าลายได้โดยบังเอิญเป็น"ม้าลาย" ที่ลวดลายสะดุดตาแปลกกว่าตัวอื่นๆลวดลายแปลกตานี้อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ในเขตสงวนแห่งชาติมาไซมารา ประเทศเคนยา
มาลาตัวนี้จึงกลายเป็นสัตว์ที่หายากมากๆ...pseudo melanism zebra
ช่างภาพ แฟรงก์ หลิว (Frank Liu) บันทึกภาพ "ม้าลาย" ที่ลวดลายสะดุดตาในเขตสงวนแห่งชาติมาไซมารา ประเทศเคนยา ที่นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า ลวดลายแปลกตานี้อาจเกิดจากการกลายพันธุ์ที่เรียกว่า สูโด เมลานิสึม (pseudo melanism)
แฟรงก์ หลิว (Frank Liu) กำลังมองหาแรดในทุ่งงหญ้าที่โล่งเตียนของเขตสงวนฯ แต่เขากลับสะดุดตากับลูกม้าย อายุราวหนึ่งสัปดาห์ “เมื่อมองแวบแรก มันดูเหมือนสัตว์ต่างสายพันธุ์โดยสิ้นเชิง” หลิวกล่าว โดยแอนโทนี ทีรา ไกด์ท้องถิ่นชาวมาไซ เป็นผู้พบเห็นลูกม้าลายลายจุดตัวนี้เป็นคนแรก และตั้งชื่อให้มันว่า ทีรา
🦓ลวดลายบนตัวม้าลายเป็นลวดลายที่เป็นเอกลักษณ์ เปรียบเสมือนลายนิ้วมือของมนุษย์ที่ไม่ซ้ำกัน ครั้งนี้นับเป็นครั้งแรกที่พบลูกม้าลายลายจุดในเขตสงวนฯ ตามคำกล่าวอ้างของหลิว ก่อนหน้านี้มีรายงานพบม้าลายลักษณะเดียวกันในพื้นที่ปากแม่น้ำโอกาวางโก ประเทศบอตสวานา
zebraและลูกสัตว์อื่น ๆ ที่ปรากฏลักษณะลวดลายเช่นนี้ เรียกว่า pseudo melanism ซึ่งเป็นการกลายพันธุ์ทางพันธุกรรมที่พบได้ยาก
👉🏿ซึ่งเป็นการแสดงออกของยีนที่บ่งบอกถึงความผิดปกติบางอย่างผ่านลวดลายของมัน เร็น แลริสัน นักชีววิทยาที่ศึกษาวิวัฒนาการของลายม้าลาย มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ลอสแองเจลิส กล่าว
👉🏿นอกจากนี้ จากรายงานที่ผ่านมา ม้าลายยังปรากฏความผิดปกของสีขนในแบบอื่นๆ เช่น "สีบลอนด์" ที่หายากมาก ซึ่งมีนักสำรวจถ่ายภาพไว้ได้เมื่อต้นปี ที่ผ่านมา ในอุทยานแห่งชาติเซเรนเกติ ประเทศแทนซาเนีย
การสำรวจและติดตามประชากรม้าลายที่มีรูปแบบสีขนผิดปกติมีประโยชน์ต่อกระบวนทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการติดตามการเปลี่ยนแปลงของสายพันธุ์ และการบริหารจัดการพื้นที่เขตสงวนฯ โดยชุมชนท้องถิ่น
อ้างอิงจาก: National Geographic,google และ YouTube