ปวดหัวไมเกรนไม่ควรมองข้าม ควรเข้ารับการตรวจหาไมเกรน
หากคุณกำลังสงสัยว่าตัวเองมีอาการเข้าข่ายจะเป็นโรคไมเกรน หรือคุณรู้สึกว่าตัวเองมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง แนะนำให้พบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยว่าคุณกำลังเป็นโรคไมเกรนอยู่หรือเปล่า ซึ่งในปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ต่างๆมากมายที่สามารถทำการตรวจหาอาการปวดศีรษะของคุณได้ และยังมีแนวทางการรักษาที่ปลอดภัย เพื่อให้คุณหายจากอาการปวดศีรษะ และบรรเทาอาการปวดได้
เนื่องด้วยสภาวะในปัจจุบันที่มีทั้งความเครียด และมลภาวะ มีคนส่วนใหญ่ไม่น้อยที่ตรวจพบว่าตัวเองมีอาการปวดหัวแบบไมเกรน ซึ่งบางคนมีอาการรุนแรงจนส่งผลต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้ป่วยไม่น้อยที่เข้ารับการตรวจวินิจฉัย และเข้ารับการรักษาอาการปวดหัวไมเกรนเพื่อให้กลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างปกติ การตรวจไมเกรนนั้นส่วนใหญ่จะเป็นตรวจวินิจฉัยโดยการสอบถามประวัติ และอาการปวดศีรษะของคนไข้จากแพทย์ รวมถึงอาจจะมีการตรวจสภาพร่างกายต่างๆ เพื่อประกอบการวินิจฉัยด้วย
อย่างไรก็หากคุณมีอาการปวดศีรษะเรื้อรัง และไม่หายสักที อย่าปล่อยอาการเหล่านั้นไว้คุณควรรีบเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจหาไมเกรน และขอคำแนะนำจากแพทย์ในการรักษา ซึ่งแพทย์จะประเมินอาการของคุณว่าอยู่ในความรุนแรงระดับไหน แล้วแนะนำวิธีรักษาที่ถูกต้องให้
อาการแบบไหน เข้าข่ายโรคไมเกรน
สัญญาณเตือนอะไรบ้างล่ะที่คุณมีโอกาสเข้าข่ายเป็นโรคไมเกรน หากคุณคิดว่ากำลังจะพบแพทย์เพื่อตรวจหาไมเกรน ให้คุณสังเกตอาการเหล่านี้เบื้องต้นก่อนทำการเข้าพบแพทย์
- คุณมีอาการปวดศีรษะข้างเดียวในระดับปานกลางไปจนถึงรุนแรง ซึ่งสามารถเป็นข้างใดข้างหนึ่งก็ได้ โดยไม่จำเป็นต้องปวดเฉพาะแค่ซีกใดซีกหนึ่งตลอดทุกครั้ง อาจสลับข้างกันได้
- จะมีอาการปวดเพิ่มขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหว อย่างเช่น การเดิน หรือการขึ้นบันได
- ลักษณะของการปวด จะมีอาการปวดแบบตุบๆ คล้ายกับจังหวะของชีพจร
- มีอาการปวดอย่างต่อเนื่อง โดยปกติจะอยู่ที่ราวๆ 4 - 72 ชั่วโมง
- อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยในขณะที่ปวดศีรษะ
ซึ่งอาการปวดหัวแบบไมเกรนนั้นสามารถเกิดขึ้นได้ซ้ำๆ หากมีปัจจัยต่างๆมากระตุ้น โดยปัจจัยที่มากระตุ้นให้อาการปวดหัวไมเกรนกำเริบ มีดังต่อไปนี้
- นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
- มีสภาวะเครียดสะสม
- ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และคาเฟอีน หรือสูบบุหรี่
- การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในเพศหญิง
- สภาพแวดล้อมที่มีสิ่งกระตุ้นอย่างเช่น แสงไฟที่จ้า เสียงรบกวน หรือกลิ่นที่ไม่พึงประสงค์ เป็นต้น
การตรวจวินิจฉัยโรคไมเกรน
ในปัจจุบันการตรวจไมเกรนไม่ได้มีการตรวจเฉพาะเจาะจงเหมือนการตรวจวินิจฉัยโรคชนิดอื่น ซึ่งการตรวจวินิจฉัยโรคไมเกรนมักจะมาจากการสอบถามข้อมูลคนไข้จากแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัย ซึ่งจะมีการสอบถามประวัติคนไข้อย่างละเอียดว่า เคยมีอาการปวดหัวที่เข้าข่ายเป็นโรคไมเกรนมาก่อนหรือเปล่า หรือคนในครอบครัวมีอาการปวดหัวรุนแรงบ้างไหม เป็นต้น
นอกจากนี้แพทย์จะทำการประเมินระดับความรุนแรงของโรค โดยการสอบถามอาการปวด และตำแหน่งที่คนไข้ปวด เพื่อหาแนวทางการรักษา โดยแพทย์จะต้องทำการบันทึกประวัติและติดตามผลการรักษาว่า คนไข้มีอาการดีขึ้นไหมหลังจากได้รับการรักษา เพราะว่าคนไข้บางคนรับประทานยาแล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น หากอาการไม่ดีขึ้นแพทย์จะต้องทำการวินิจฉัยแล้วหาแนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ต่อไป
ในการตรวจวินิจฉัยอาจมีการตรวจสภาพร่างกายของคนไข้ ตรวจเลือด หรือตรวจระบบประสาทต่างๆด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าอาการปวดหัวของคนไข้นั้นเป็นการปวดหัวแบบไมเกรน ไม่ได้ปวดศีรษะเพราะโรคอื่นๆ หากเป็นการปวดศีรษะด้วยโรคอื่นๆ แพทย์จะได้ดำเนินการรักษาได้อย่างถูกต้อง
วิธีตรวจไมเกรน ตรวจอะไรบ้าง
หากคุณต้องเข้ารับการตรวจไมเกรน แพทย์จะทำการตรวจอะไรคุณบ้าง และจะมีการสอบถามอาการของคุณอย่างไร เพราะฉะนั้นลิสต์รายการดังต่อไปนี้เป็นสิ่งที่แพทย์จะต้องสอบถามจากคุณ และใช้เพื่อประกอบการวินิจฉัยโรคปวดศีรษะของคุณ
1.สอบถามอาการปวดศีรษะของคุณ ว่าคุณปวดตำแหน่งไหน มีลักษณะอาการปวดอย่างไร แล้วในการปวดแต่ละครั้งปวดนานแค่ไหน ความถี่ของการปวด และอาจถามถึงระดับความรุนแรงในการปวด
2.สอบถามอาการต่างๆเพิ่มเติม ในขณะที่คุณปวดหัวคุณมีอาการอื่นๆร่วมด้วยหรือไม่ อย่างเช่น สายตาพร่ามัว อาการชัก อาการอ่อนแรง หรือคลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น
3.สอบถามประวัติการรักษาของคุณ ประวัติโรคประจำตัว ยาที่คุณใช้ในปัจจุบัน หรือประวัติคนในครอบครัวที่มีอาการปวดหัวคล้ายๆกับคุณ
4.แพทย์จะทำการตรวจสภาพร่างกายของคุณอย่างละเอียด เพื่อตรวจสอบความผิดปกติของร่างกาย และนำไปใช้ในการวินิจฉัย
5.แพทย์อาจมีการสอบถามรายละเอียดส่วนตัวพื้นฐาน หรือกิจกรรมที่คุณทำในแต่ล่ะวันอย่างเช่น
- คุณนอนหลับพักผ่อนเพียงพอหรือไม่ นอนวันล่ะกี่ชั่วโมง
- คุณได้มีการออกกำลังกายหรือเปล่าในแต่ล่ะสัปดาห์
- คุณมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารอย่างไร และดื่มอะไรในแต่ล่ะวัน
- คุณมีความเครียดสะสมไหม จากการทำงาน
- สภาพแวดล้อม สภาพอากาศที่คุณอยู่อาศัยมีลักษณะอย่างไร
นี่ก็เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ของการสอบถามข้อมูลพื้นฐานของคุณ เพื่อใช้ประกอบการวินิจฉัยโรค ซึ่งตามสถาบันการแพทย์ และโรงพยาบาลต่างๆก็จะมีแพ็คเกจการตรวจคัดกรองอาการปวดศีรษะต่างๆ ที่สามารถตรวจหาโรคที่นำมาซึ่งอาการปวดศีรษะของคุณได้อย่างละเอียดว่าอาการที่คุณเป็นนั้นเป็นอาการปวดหัวแบบไมเกรน หรือปวดหัวเพราะโรคอื่นๆ
ปวดไมเกรนแบบไหนควรพบแพทย์
อาการปวดหัวแบบไมเกรนอาจเป็นสิ่งที่คนมองข้าม เพราะบางครั้งเวลาที่คุณปวดหัว คุณอาจรับประทานยาแก้ปวดแล้วหาย แต่สำหรับบางกรณีก็มีคนที่มีอาการปวดหัวรุนแรง ปวดหัวแบบเรื้อรัง ปวดหัวบ่อยๆ ทานยาก็ไม่หายสักที ซึ่งบางทีอาการเหล่านี้ได้ส่งผลต่อการใช้ชีวิตของคุณในแต่ล่ะวัน ไม่ว่าจะเป็นการทำงาน หรือการเรียนหนังสือ เป็นต้น
เราจึงแนะนำให้คุณสังเกตอาการของตัวเอง หากมีอาการปวดศีรษะแบบไมเกรนดังต่อไปนี้ให้รีบเข้าพบแพทย์เพื่อทำการรักษาอย่างถูกวิธี
- ปวดไมเกรนในระดับที่รุนแรงมาก จนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้
- รับประทานยาแล้วแต่อาการปวดไมเกรนไม่ดีขึ้น แถมยังรู้สึกปวดมากกว่าเดิม
- มีอาการปวดไมเกรนถี่ และบ่อยครั้ง มีระดับการปวดที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ล่ะครั้ง
- อาการปวดไมเกรนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน หรือเรื่องเรียน
หากคุณมีอาการปวดหัวไมเกรนแบบรุนแรงดังข้อที่กล่าวมาข้างต้น นี่เป็นสัญญาณเตือนว่าถึงเวลาแล้วที่คุณจะต้องเข้ารับการรักษาอาการปวดไมเกรนแบบจริงจังกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
บันทึกอาการปวดหัวเพื่อวินิจฉัยไมเกรน
ในการเข้ารับการรักษาอาการปวดหัวแบบไมเกรนนั้น เพื่อให้แพทย์สามารถรักษาอาการของคุณได้อย่างตรงจุด เราจึงแนะนำให้คนไข้จดบันทึกอาการปวดหัวไมเกรนของคุณในแต่ล่ะครั้ง หรือจดบันทึกอาการของคุณในช่วงระยะ 2 - 3 สัปดาห์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งรายละเอียดในการบันทึกอาการจะประกอบไปด้วย
- วัน และเวลา ที่มีอาการปวดหัวไมเกรนแต่ล่ะครั้ง
- อะไรที่คุณทำแล้วส่งผลให้คุณมีอาการปวดหัวแบบไมเกรน
- ระยะเวลาในการปวด คุณปวดนานแค่ไหน
- ลักษณะอาการปวดหัวแบบไหนที่คุณกำลังเผชิญอยู่
- หากคุณปวดหัวแบบไมเกรนแล้วคุณรับประทานยาอะไร
อย่างไรก็ตามการที่คุณทานยาแก้ปวดทุกครั้งที่มีอาการปวดไมเกรน อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้การรักษาอาการปวดหัวของคุณยากขึ้นด้วย เพราะอาการปวดของคุณจะมีอาการดื้อยา และทำให้ปวดหัวรุนแรงขึ้นกว่าเดิม ถึงแม้ว่าทานยาอาการก็อาจจะไม่ดีขึ้น โดยทั่วไปแล้วคุณไม่ควรทานยาแก้ปวดไมเกรนติดต่อกันนานเกิน 10 วันในแต่ล่ะเดือน
เพราะฉะนั้นการบันทึกข้อมูลอาการปวดไมเกรนของคุณ และการทานยาแก้ปวดไมเกรนในแต่ล่ะครั้ง สามารถนำมามีส่วนช่วยในการรักษา และประเมินระดับความรุนแรงของอาการของคุณ คุณจะสามารถเข้าใจ และหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่จะทำให้อาการปวดไมเกรนของคุณกำเริบ และแพทย์จะสามารถแนะนำการรักษาที่เหมาะสมและถูกต้องตามระดับอาการของคุณได้
แนวทางการรักษาไมเกรน
ปัจจุบันแนวทางในการรักษาไมเกรนนั้นจะมีด้วยกัน 2 ประเภท คือการรักษาไมเกรนด้วยตนเอง และวิธีการรักษาไมเกรนทางการแพทย์
การรักษาไมเกรนด้วยตัวเอง
การรักษาไมเกรนด้วยตนเองเป็นการรักษาอาการเบื้องต้น เพื่อลดอาการความรุนแรงของการปวดไมเกรน หรือเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้อาการปวดกำเริบขึ้น ซึ่งวิธีการต่อไปนี้เป็นวิธีการที่คุณสามารถทำได้เองโดยไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ เช่น
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
คุณอาจจะหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น โดยการเริ่มออกกำลังกายเบา อย่างเช่น โยคะ เป็นต้น ซึ่งการออกกำลังกายจะมีส่วนช่วยให้อาการการปวดไมเกรนของคุณลดลง หรือคุณอาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินของคุณ มากินของที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากขึ้น
- สมุนไ พรรักษาไมเกรน
สมุน ไพรถือว่ามีประโยชน์หลายอย่าง และสามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้ด้วย สมุนไ พรอย่างเช่น ขิง สามารถลดอาการปวดไมเกรนได้ และยังสามารถช่วยปรับระบบการไหลเวียนของเลือดได้ดีอีกด้วย ซึ่งสมุนไพรเหล่านี้เป็นสมุนไพรที่หาได้ในครัวเรือน
- การประคบเย็นเพื่อลดอาการปวด
การประคบเย็นก็เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้ โดยนำที่ประคบเย็นมาประคบบริเวณลำคอ หน้าผาก และดวงตา จะช่วยให้รู้สึกดีขึ้น
- การนวดกดจุดแก้ปวดไมเกรน
ในปัจจุบันมีแพ็คเกจการนวดกดจุดแก้ปวดไมเกรนหลายที่ คุณอาจให้ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในการนวดกดจุดนวดให้คุณก็ได้ หรือคุณจะศึกษาวิธีการนวดกดจุดแล้วนวดด้วยตนเองก็ได้
การรักษาไมเกรนทางการแพทย์
นอกจากการรักษาไมเกรนด้วยตนเองแล้ว คุณก็สามารถรักษาไมเกรนทางการแพทย์กับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญได้ ซึ่งทางการแพทย์ก็จะมีการรักษาไมเกรนที่ปลอดภัยและได้รับการรับรองเช่นกัน
- ยารักษาไมเกรน
หากคุณเข้ารับการรักษาไมเกรนกับแพทย์ แพทย์อาจจะจ่ายยารักษาอาการไมเกรนของคุณตามอาการและความเหมาะสม เพื่อบรรเทาอาการปวดไมเกรนของคุณ
- ฉีดยาแก้ไมเกรน
หากแพทย์วินิจฉัย และแนะนำให้คุณฉีดยาแก้ไมเกรน คุณก็สามารถฉีดได้ตามที่แพทย์สั่ง ซึ่งลักษณะของการฉีดยาก็จะแตกต่างกันไป การฉีดยาเพื่อรักษาไมเกรนจะเป็นการฉีดยาเพื่อยับยั้งสาร CGRP ซึ่งจะช่วยควบคุมอาการและป้องกันอาการปวดไมเกรน
- ฝังเข็มรักษาไมเกรน
การฝังเข็มเพื่อรักษาอาการไมเกรนเป็นศาสตร์ทางการแพทย์ของจีนที่สามารถบรรเทาอาการปวดไมเกรนได้เหมือนกัน โดยจะมีการฝังเข็มไปยังจุดต่างๆของร่างกาย เพื่อปรับการไหลเวียนของเลือด
- ฉีดโบท็อกรักษาไมเกรน
หลายคนอาจไม่รู้ว่าโบท็อกนอกจากใช้ในเรื่องของความงามแล้วยังสามารถนำมารักษาอาการปวดไมเกรนได้ด้วย การฉีดโบท็อกรักษาอาการไมเกรนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยโบท็อกที่ใช้ในการรักษาอาการปวดหัวไมเกรนคือ Botulinum toxin ชนิด A ซึ่งจากผลการวิจัยโบท็อกสามารถลดอาการปวดหัวไมเกรนได้ถึง 90% ด้วยเหตุนี้การรักษาไมเกรนด้วยโบท็อกจึงมีการแพร่หลายอย่างมากในปัจจุบัน
หากตรวจไมเกรนแล้วไม่เข้าข่าย
หากใครที่เข้ารับการตรวจไมเกรนแล้วไม่เข้าข่ายว่าเป็นโรคไมเกรน คุณอาจจะเป็นโรคอันตรายอื่นๆก็ได้ เพราะฉะนั้นแนะนำให้ทำการตรวจวินิจฉัยด้วยวิธีอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อตรวจหาโรคที่ทำให้ปวดหัวอย่างถูกต้อง และรักษาได้ทันเวลา ซึ่งอาจจะเป็นรายการตรวจเพิ่มเติมดังต่อไปนี้
- ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC)
- ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (BS)
- ตรวจระดับไขมันไม่ดีในเลือด (Direct-LDL-)
- ตรวจการทำงานของตับ (LFT)
- ตรวจการทำงานของไต (BUN, Creatinine)
- ตรวจสารเกลือแร่ในร่างกาย (Electrolyte)
- ตรวจการอักเสบในร่างกาย (ESR)
- ตรวจวัดความดันลูกตา
นี่เป็นการยกตัวอย่างของรายการการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมในกรณีที่คุณไม่ได้มีอาการปวดหัวแบบไมเกรน ซึ่งคุณอาจปรึกษากับแพทย์เพื่อขอคำแนะนำว่าคุณควรทำการตรวจร่างกายแบบไหนเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยโรค
การตรวจวินิจฉัยอื่นๆ
โดยปกติแล้วหากคุณมีอาการปวดหัวรุนแรง หากคุณไม่ได้เข้าข่ายเป็นไมเกรน แพทย์อาจเป็นกังวลและแนะนำให้คุณทำการตรวจวินิจฉัยหาโรคโดยการสแกนสมอง ซึ่งจะเป็นการตรวจหาอาการปวดหัวของคุณอย่างละเอียด ซึ่งการตรวจสแกนแบบนี้จะมีอยู่ 2 แบบ คือ
- การตรวจวินิจฉัยแบบ MRI (Magnetic Resonance Imaging)
การตรวจร่างกายแบบ MRI จะเป็นการสแกนสมองและหลอดเลือด โดยการใช้คลื่นแม่เหล็กที่มีประสิทธิภาพสูง ซึ่งตัวเครื่องสแกน MRI จะมีการแสดงภาพการตรวจสแกนที่มีความละเอียดและชัดเจน ซึ่งในทางการแพทย์มักใช้ตรวจหาเนื้องอกในสมอง อาการปวดหัวเรื้อรัง และอาการเส้นเลือดโป่งพองในสมองอีกด้วย
- การตรวจวินิจฉัยด้วย CT Scan
CT Scan จะเป็นการตรวจสอบความผิดปกติของร่างกายโดยใช้รังสี X-ray ซึ่งสามารถนำมาตรวจสอบระบบสมองเพื่อตรวจหาอาการปวดหัวแบบรุนแรงได้ โดยเมื่อทำการสแกนเครื่อง CT Scan จะทำการประมวลผลและส่งผ่านข้อมูลมายังคอมพิวเตอร์ เพื่อให้แพทย์ได้ตรวจสอบและวินิจฉัย
ตรวจไมเกรนที่ไหนดี
หากคุณรู้สึกว่าคุณไม่ควรปล่อยให้อาการปวดหัวของคุณเป็นเรื่องเล็กอีกต่อไปได้แล้ว คุณต้องการที่จะเข้ารับการตรวจไมเกรน และรักษาอาการของคุณให้ดีขึ้น แต่ไม่รู้ว่าจะเข้ารับการรักษาที่ไหนดี นี่คือสิ่งที่คุณควรพิจารณาก่อนเข้ารับการตรวจไมเกรน และรักษาโรคไมเกรนแบบจริงจัง
- สถานพยาบาล หรือโรงพยาบาลที่ได้รับความน่าเชื่อถือ และได้รับการรับรองจากมาตรฐานองค์กรที่เชื่อถือได้
- สถานพยาบาลควรมีความทันสมัย สะอาด และมีอุปกรณ์ที่ครบครันต่อการรักษา
- แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง และได้รับการรับรองในการประกอบวิชาชีพ
- เจ้าหน้าที่ หรือพยาบาลควรมีความเชี่ยวชาญในการดูแลผู้ป่วย มีบริการอย่างเป็นมืออาชีพ
- มีราคาที่สมเหตุสมผลต่อการรักษา และคุ้มค่าในการตรวจวินิจฉัย
- ตัวยาที่สถานพยาบาลนั้นใช้ควรมีการรับรอง และปลอดภัยต่อคนไข้
- มีการรีวิวจากผู้เข้ารับการรักษาว่า รักษาแล้วได้ผลจริง
หากคุณกำลังมองหาสถาบันพยาบาลที่มีมาตรฐานตามที่กล่าวมา เราขอแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจไมเกรนและเข้ารับการรักษาที่ BTX Migraine Center สถาบันทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการรักษาไมเกรนโดยเฉพาะ พร้อมเครื่องมือทันสมัย และครบครัน คุณจะไม่ต้องกังวลกับอาการปวดหัวไมเกรนของคุณอีกต่อไป
ข้อสรุป
หากคุณมีอาการปวดหัวแบบเรื้อรัง และปวดหัวแบบรุนแรง อย่าปล่อยอาการเหล่านั้นของคุณเลวร้ายไปมากกว่าเดิม เราแนะนำให้คุณเข้ารับการตรวจ และรับคำแนะนำจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโดยตรงดีกว่า คุณอาจจะเข้าข่ายการเป็นโรคไมเกรน หรือโรคอันตรายอื่นๆก็ได้
BTX Migraine Center สถาบันการแพทย์เฉพาะทางที่รักษาโรคไมเกรนโดยเฉพาะ เรามีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรมืออาชีพ จะช่วยบรรเทาอาการปวดหัวไมเกรนของคุณ ให้คุณกลับมาดำเนินชีวิตได้ปกติ และไม่ต้องกังวลกับอาการปวดหัวอีกต่อไป