หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

การนอนหลับของคุณมีคุณภาพหรือไม่ รู้ได้ด้วยการตรวจ Sleep Test

เนื้อหาโดย Life Style Chidon

 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ ไม่ว่าจะเป็น นอนไม่หลับ นอนหลับยาก นอนแล้วกล้ามเนื้อแขน ขา กระตุก นอนกรน หรือแม้แต่หยุดหายใจขณะหลับ คุณควรเข้ารับการตรวจสุขภาพการนอนหลับ หรือที่เรียกว่า Sleep Test แต่การตรวจ Sleep Test ที่ว่านี้คืออะไร มีขั้นตอนการตรวจอย่างไรบ้าง แล้วก่อนจะมาตรวจต้องเตรียมตัวอย่างไร ไปหาคำตอบกันได้เลย

 

การตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test) สำคัญอย่างไร?

สุขภาพการนอนหลับที่ไม่ดี เป็นต้นเหตุของอาการนอนเท่าไหร่ก็ไม่พอ ง่วงนอนตลอดเวลา ซึ่งหลายคนคิดว่าไม่มีผลอะไร แต่การนอนไม่หลับ หรือการนอนไม่เพียงพอกลับมีผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่คิดไว้ โดยเฉพาะเมื่อนอนแล้วมีอาการกรน และภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย หรือง่วงนอนผิดปกติในเวลากลางวัน โดยอาการเหล่านี้เป็นการบอกให้รู้ว่าร่างกายของคุณกำลังมีปัญหา และต้องการการรักษา ซึ่งหากปล่อยเรื้อรังอาจเป็นความเสี่ยงของโรคต่างๆ เช่น ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง เบาหวาน กรดไหลย้อน หลอดเลือดสมอง และยังอาจมีผลทำให้สมรรถภาพทางเพศลดลงก่อนวัยอันควร และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ดังนั้นการตรวจหาความผิดปกติของการนอนหลับ (Sleep Test) จึงเป็นเรื่องสำคัญ และไม่ควรมองข้าม โดย การตรวจสอบการนอนหลับนั้นจะเป็นการตรวจวัดคุณภาพการนอนหลับในด้านต่างๆ เช่น การหายใจ คลื่นไฟฟ้าสมองขณะนอนหลับ ซึ่งผลการตรวจที่ได้นั้นจะช่วยวินิจฉัยโรค และประเมินความรุนแรงของโรคได้ เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น การกัดฟันขณะนอนหลับ การกระตุกของขาขณะนอนหลับ เป็นต้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จะนำมาพิจารณาเพื่อทำการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ผู้ที่ควรมาตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Test)

  1. ผู้ที่มีอาการนอนกรนเสียงดังกว่าปกติ และเป็นประจำทุกวัน
  2. ผู้ที่มีอาการสะดุ้งตื่นกลางดึก หายใจเฮือกหรือหายใจเหนื่อยขณะนอนหลับ
  3. เมื่อคนใกล้ตัวสังเกตเห็นว่า ขณะนอนหลับมีอาการหยุดหายใจเป็นพักๆ หรือมีอาการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ เช่น กัดฟัน ขากระตุกขณะนอนหลับ นอนหลับไม่สนิท นอนกระสับกระส่าย และดิ้นเปลี่ยนท่าบ่อย
  4. ผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  5. ภาวะอ้วน ที่มีค่าดัชนีมวลกาย หรือ ค่า BMI > 30
  6. ผู้ที่มีความง่วงมากผิดปกติในเวลากลางวัน ถึงแม้มีชั่วโมงการนอนที่เพียงพอหรือ ผู้ที่มีอาการมึนศีรษะ เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ หงุดหงิดภายหลังตื่นนอน ง่วง หลับในขณะขับรถ ความจำถดถอย หลับในขณะประชุม
  7. ผู้ที่มีเส้นรอบวงของคอมากกว่า 40 เซนติเมตร
  8. มีโรคประจำตัว เป็นโรคความดันโลหิตสูง

หากประเมินแล้วว่าเข้าข่ายอาการ 3 ใน 8 ข้อ แนะนำว่าควรเข้ามารับการตรวจ เพื่อวินิจฉัยและหากพบความผิดปกติควรเข้ารับการรักษาแต่เนิ่นๆ แทนที่จะปล่อยให้เรื้อรัง หรือเลือกทานยาโดยไม่ผ่านการวินิจฉัยโรคอย่างถูกต้อง

ขั้นตอนการตรวจสุขภาพการนอนหลับเป็นอย่างไร

การตรวจสุขภาพการนอนหลับจะทำการตรวจวัดค่าความผิดปกติตอนนอน ดังนี้

  1. ตรวจลมหายใจ เป็นการตรวจวัดลมหายใจที่ผ่านเข้าออกทางจมูกและปาก พร้อมทั้งตรวจวัดการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อทรวงอกและกล้ามเนื้อหน้าท้องที่ใช้ในการหายใจ เพื่อให้ทราบว่ามีการหยุดหายใจหรือไม่ เป็นการหยุดหายใจชนิดไหน ผิดปกติหรืออันตรายมากน้อยเพียงใด
  2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนอนหลับ เพื่อให้ทราบถึงระยะการนอนหลับว่ามีการหลับตื้น หลับลึก และระยะหลับฝันมาก-น้อยเพียงใด มีการนอนหลับที่มีคุณภาพหรือไม่ รวมทั้งความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าสมองขณะนอนหลับ
  3. ตรวจเปอร์เซ็นต์ความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด เป็นการตรวจเพื่อให้ทราบว่าขณะนอนหลับ สมอง หัวใจ ขาดออกซิเจนหรือไม่
  4. ตรวจอัตราการเต้นของหัวใจ หรือคลื่นไฟฟ้าหัวใจ เป็นการตรวจเพื่อให้ทราบว่าขณะนอนหลับอัตราการเต้นของหัวใจมากน้อยเพียงใด มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่ ในช่วงหยุดหายใจ หรือขณะนอนหลับ
  5. ตรวจเสียงกรน เป็นการตรวจเพื่อให้ทราบว่า นอนกรนจริงหรือไม่ กรนมาก-น้อยเพียงใด กรนตลอดเวลาหรือไม่ กรนขณะนอนท่าไหน
  6. ตรวจท่านอน เป็นการตรวจเพื่อให้ทราบว่าในแต่ละท่านอน มีการกรนหรือการหายใจผิดปกติอย่างไร

การเตรียมตัวสำหรับการมาตรวจการนอนหลับ

  1. ต้องสระผมให้สะอาดก่อนมารับการตรวจ และห้ามใส่น้ำมันหรือครีมที่ผม เพราะการติดอุปกรณ์ที่หนังศีรษะ จำเป็นต้องให้บริเวณที่ติดอุปกรณ์ไม่มีไขมัน เพื่อให้สัญญาณกราฟคมชัด และสามารถอ่านระดับการนอนหลับได้ถูกต้อง
  2. งดทาแป้งหรือครีมที่บริเวณใบหน้า คอและขา เพื่อทำให้อุปกรณ์ที่ติดอยู่ได้นานตลอดทั้งคืน
  3. งดดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ก่อนมาตรวจ เพราะจะทำให้คุณภาพของการนอนหลับผิดปกติไป ยกเว้น ในรายที่ดื่มเป็นประจำ และต้องให้แพทย์ที่ทำการรักษารับทราบก่อนทำการตรวจ
  4. งดรับประทานยาระบายหรือยานอนหลับ ก่อนมารับการตรวจเพราะจะทำให้การนอนตรวจไม่ต่อเนื่อง ในรายที่รับประทานยาระบาย และในรายที่รับประทานยานอนหลับจะทำให้การนอนหลับไม่เป็นตามการนอนปกติที่ควรเป็น ยกเว้นในรายที่แพทย์อนุญาตเท่านั้น
  5. ยาที่ผู้ป่วยรับประทานเป็นประจำ เช่น ยาควบคุมความดันโลหิต และยารักษาโรคอื่นๆให้รับประทานได้ตามเดิม และกรุณาแจ้งให้เจ้าหน้าที่รับทราบทุกครั้ง
  6. ทางโรงพยาบาลจะนัดท่านมารับผลการตรวจและพบแพทย์หลังจากการทำการตรวจอย่างน้อย 3 วัน

สรุปแล้ว การนอนกรนนอกจากจะผลเสียต่อสุขภาพของตนเองแล้ว ยังเกิดเสียงดังรบกวนต่อคนรอบข้างด้วย ซึ่งผู้ที่มีอาการนอนกรนอาจมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นร่วมด้วย เมื่อมีภาวะหยุดหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือดแดงอาจจะต่ำลงกว่าปกติ รวมทั้งมีการตื่นตัวของสมองเป็นช่วงๆ ขณะนอนหลับ ส่งผลให้การนอนหลับพักผ่อนไม่มีประสิทธิภาพและนำไปสู่โรคร้ายแรงในระยะยาว ดังนั้นอาการดังกล่าวไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัย เพื่อการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม 

 
โหวต Poll: (โหวตไม่ลับ)
มีสาระ
0
ขอบคุณที่แนะนำ
1
+1
0
ขอบคุณ
0
ดูว่าใครโหวตอะไรบ้าง
หากต้องการโหวต Poll, กรุณา Login เข้าสู่ระบบ ก่อนค่ะ
เนื้อหาโดย: DD News Update
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Life Style Chidon's profile


โพสท์โดย: Life Style Chidon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
5 VOTES (5/5 จาก 1 คน)
VOTED: DD News Update
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
ทบ.มีคำสั่งให้ พล.ท.ณรงค์ สวนแก้ว เจ้ากรมยุทธศึกษาทหารบก ถูกย้ายจากตำแหน่ง หลังเกิดกรณีซ้อมที่รุนแรงแอฟ ทักษอร และ นนกุล คู่รักสุดอบอุ่น รับบทช่างภาพคู่ เฝ้ากองเชียร์ น้องปีใหม่ โชว์ความสามารถบนเวทีคลั่งยาllอบดูสาวอาบน้ำ ประวัติพึ่งพ้นคุกเทคนิคสร้างความมั่นใจง่าย ๆ ด้วยตัวเอง เปลี่ยนเป็นคนใหม่ ที่มั่นใจได้เต็มร้อย'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"6 วิธีเติมพลังใจในวันศุกร์ เพื่อเตรียมพร้อมรับวันหยุดสุดสัปดาห์"ผู้บริหารมาม่าไขปริศนา ยอดขายพุ่งเพราะเศรษฐกิจแย่ หรือแค่คิดไปเอง?"บ้านในฝันก็ต้องปล่อย! 'กวินท์-ปุ้มปุ้ย' เปิดใจขายบ้าน 19.5 ล้าน ทั้งที่รักมาก
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
'ไทเลอร์ ติณณภพ' ลูกชาย 'ธานินทร์' ดาวเด่นยุค 80 สู่พระเอกยุคใหม่"วิธีใช้รีโมทแอร์ในโหมดต่าง ๆ เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้าหมอเหรียญทองกำลังมองหาสถานที่เช่าสำหรับตั้งซูเปอร์คลินิก เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีบัตรทองจากโรงพยาบาลมงกุฎวัฒนะครูสงสัยทำไม นร.ชายใส่กระโปรง..รู้เหตุผลแล้วบอกเลย ใจนายแมนมาก
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระดี สาระเด็ด
การดื่มน้ำบ่อยๆทำให้ผิวชุ่มชื้นจริงไหมสัญชาติ Nationality - ตัวย่อ ของสัญชาติต่างๆ ทั่วโลกการดูแลสุขภาพองค์รวม (Holistic Health) คืออะไร?ใครไม่รู้จัก :เห็ดลม ถือว่าเชย: มาดู ประโยชน์ และ เมนูอร่อยๆ จากเห็ดลมกันว่ามีอะไรบ้าง
ตั้งกระทู้ใหม่