'เหอเซิน'อัครมหาเสนาบดี ผู้ฉ้อราษฎร์บังหลวง จนมั่งคั่งกว่าราชสำนัก
'เหอเซิน'
อัครมหาเสนาบดี
ผู้ฉ้อราษฎร์บังหลวง จนมั่งคั่งกว่าราชสำนัก
เหตุการ์เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลเฉียนหลง เมื่อเด็กหนุ่มสังกัดกองธงแดงนามว่า "ช่านเป่า" เข้าวังเป็นทหารมหาดเล็กธรรมดาๆคนหนึ่ง
แต่ด้วยความที่เขา มีความเชี่ยวชาญในภาษาแมนจู ฮั่น มองโกล และทิเบต ภายหลังจึงได้แสดงความสามารถที่มีต่อหน้าเฉียนหลง จึงทำให้เป็นที่โปรดปรานพิเศษ และได้รับการเลื่อนขั้นอย่างต่อเนื่อง จากมหาดเล็ก องครักษ์ และตำแหน่งรองผู้บัญชาการกองธงน้ำเงิน ไปตามลำดับ
ในช่วงเวลาที่รับราชการ 20 กว่าปีนั้น เขาได้รับการเลื่อนขั้นถึง 47 ครั้ง เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเก็บค่าธรรมเนียมประตูเมืองฉงเหวิน ดูแลท้องพระคลังส่วนพระองค์ และคลังหลวง
ในระยะแรกนั้น ซ่านเป่าเป็นขุนนางที่ซื่อสัตย์สุจริต และมีความสามารถมาก อีกทั้งยังช่วยหาทางเติมเต็มเงินในคลังหลวงให้มีมากพอกับค่าใช้จ่ายการดำเนินโครงการสำคัญ ๆ ในบ้านเมืองอย่างเช่น การทหาร การจัดซ่อมสร้างเขื่อน การสร้างสุสาน การคลี่คลายคดีที่หนุนหนัน การตรวจสอบบัญชีที่ซันตง และการคิดค้นหม้อไฟขนาดเล็ก ที่ทำให้งานเลี้ยงที่มีแขกกว่า 530 โต๊ะของเฉียนหลงนั้นสามารถมีอาหารที่อุ่นได้อยู่ตลอดเวลา
ด้วยความที่เฉียนหลงโปรดปรานมาก จึงทำให้เขาได้เป็นขุนนางใหญ่ แถมยังยกลูกสาวให้กับลูกชายเขาอีก ที่นี้เหอเซินก็เลยได้เป็นเครือญาติกับจักรพรรดิ ด้วย 2 อย่างนี้ จึงทำให้เขาจึงมีอำนาจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภายหลังเขาเริ่มใช้ตำแหน่งหน้าที่ หาเงินหาทองให้กับตัวเอง จึงได้เริ่มเปิดโรงรับจำนำ เปิดร้านรับแลกตั๋วเงิน เหมืองแร่ และกิจการซื้อขายอื่นๆอีกมากมาย
นอกจากนี้เขายังใช้ใช้อำนาจบาตรใหญ่ แบ่งพรรคแบ่งพวก รวมทั้งฉ้อราษฎร์บังหลวงไว้อย่างมโหฬาร
โดยมีหนังสือบันทึกเรื่องเขาไว้ว่า
"...รัชสมัยเฉียนหลงแห่งต้าชิง เหอเซินใหญ่ยิ่งคับแผ่นดิน มีอำนาจเหลือล้นราชสำนัก เหล่าขุนนางพร้อมพรักชิงประจบ ทั้งขูดรีดฉ้อโกงอย่างเปิดเผย ละเลยขุนนางพรรคพวกอื่น จนระบบปกครองต้องพังครืน เหล่าขุนนางดาษดื่นด้วยคนพาล...."
ตุลาคม ปี ค.ศ. 1796
เฉียนหลงประกาศสละสมบัติ
สาเหตุเนื่องจากไม่ต้องการครองราชย์นานกว่าพระอัยกาคังซี" หลังจากสละราชสมบัติแล้วเฉียนหลงก็ได้รับตำแหน่งใหม่ว่าพระราชบิดาหลวง ร่วมฟังข้อราชการกับจักรพรรดิใหม่เจียซิ่ง อยู่ 3 ปี ก็สิ้นพระชนม์
หลังจากเฉียนหลงจากไปได้แค่ 1 วัน เจียชิ่งก็มีคำสั่งให้ประกาศความผิดของอัครมหาเสนาเหอเซิน จำนวน 20 กระทง แล้วปลดออกจากตำแหน่ง ริบทรัพย์ทั้งหมดเข้าคลังหลวง ส่วนตัวคนนำไปกุมขัง
รายการทรัพย์สินของเหอเซินที่ยึดได้
1. ชามทองคำ 4,288 ใบ
2. โถเงิน 600 ชิ้น
3. จานทอง 119 ใบ
4.ทองคำ 5,800,000 ตำลึง
5. เงินแท่ง 50,000 แท่ง
6. ตั๋วเงิน 800 ล้านตำลึง
7. อัญมณี เพชร พลอย ผ้าแพรไหม ของมีค่าอื่น ๆอีกมากมาย ที่ไม่สามารถนับจำนวนทั้งหมดได้
สมบัติที่ถูกยึดจากจวนเหอเซิน ถูกขนเข้าคลังหลวงอย่างมากมาย จนมีการกล่าวขานว่า "..เหอเซินล้มกลิ้ง เจียชิ่งอิ่มท้อง.."
เหอเซินถูกกุมขังอยู่ 10 วัน เจียชิ่งจึงได้มอบผ้าขาวให้ เพื่อใช้อัตวินิบาตกรรมแทนการประหารด้วยการแล่เนื้อ ส่วนบุตรชายคนโตเนื่องจากได้อภิเษกกับองค์หญิงเหอเซี่ยวทำให้เว้นจากการติดคุก ส่วนลูกหลานที่เหลือของเหอเซินก็ถูกเนรเทศไปยังหมู่บ้านที่อยู่ทางใต้ของเมืองฮาร์บินลงมาราว 60 กิโลเมตร ในมณฑลฮาร์บิน
ก่อนที่เหอเซินจะผูกคอตายนั้น เขาได้ประพันธ์บทกวีสุดท้ายแสดงถึงความรันทดและความแค้นที่มี ไว้ว่า
"....ห้าสิบปี คืนวันดังความฝัน บัดนี้รา มือพลันลาโลก วันหน้า เมื่อวารีท่วมมังกร ตามหมอกควัน ขจรมาเกิดกาย...."
ซึ่งมีผู้แปลความหมายนี้ไว้ว่า
"...ถึงวันใด ที่มีผู้กลับมาควบคุมฮ่องเต้ไว้ คนผู้นั้น ก็คือเหอเซินที่กลับมาเกิดใหม่ ซึ่งมีคนตีความไว้ว่าเป็นซูสีไทเฮา ที่เกิดในปีค.ศ.1835 (ปีที่แม่น้ำฮวงโหเกิดอุทกภัยใหญ่)...."
ความมั่งคั่งร่ำรวยของเหอเซินนั้น ได้รับการจัดอันดับจากหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่าง " วอลล์ สตรีท เจอร์นัล " ให้เป็นหนึ่งใน 50 บุคคล ที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในรอบสหัสวรรษ เมื่อเดือนเม.ย. 2007 ซึ่งก่อนหน้านั้น เหอเซินก็เคยได้รับการจัดอันดับบุคคลที่รวยที่สุดในศตวรรษที่ 18
ปี ค.ศ. 1776
ตรงกับปีที่ 41 ของเฉียนหลง
เหอเซินเป็นประธานกรรมการ
ชำระประวัติศาสตร์จีน
การชำระประวัติศาสตร์ครั้งนั้น ถือเป็น
โศกนาฏกรรมทางประวัติศาสตร์และวรรณกรรมจีน อย่างมากมาย
เขาและพรรคพวกได้ร่วมมือกันบิดเบือนประวัติศาสตร์และวรรณกรรมอย่างมโหราฐ จากคนดี ๆ เขาก็ได้เปลี่ยนเป็นคนชั่ว จากคนชั่วก็กลายมาเป็นคนดี อาทิเช่น"เรื่องสามก๊ก" เป็นเรื่องที่ถูกบิดเบือนมากที่สุด ซึ่งอยู่ดี ๆ ผู้ร้ายบางคน ได้ปรับเปลี่ยนเป็นคนดี เป็นวีรบุรุษ บ้างคนก็เปลี่ยนสถานะเทพเจ้าไปเลยก็มี
หนังสือประวัติศาสตร์จีนหลายเล่ม ถูกขึ้นบัญชีดำเป็นหนังสือต้องห้าม แต่นักประวัติศาสตร์รุ่นใหม่ ๆ ก็ได้สืบเสาะจนพบว่า หนังสือประวัติศาสตร์ก่อนยุคเหอเซินนั้น ได้ถูกทำลายไปไม่น้อยกว่า 2,340 รายการ และถูกดัดแปลงให้เพี้ยนไปจากเดิมมากกว่าหมื่นรายการ
นอกจากนี้เหอเซินยังเคยได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานกรรมการปรับปรุงโบราณสถาน และโบราณวัตถุในปี ค.ศ. 1791 โดยมีทีมงาน 8 คน จนเกิดเป็นผลงานชิ้นโบว์แดง อย่างเช่น "มหาสารานุกรม 4 ชุด" เก็บไว้ในหอสมุด 4 แห่ง ซึ่งปัจจุบันยังคงหลงเหลืออยู่ จักรพรรดิเฉียนหลงเองก็โปรดปราน ถึงขนาดให้คณะทำงานนี้อยู่กินหลับนอนในวังได้เลย
ซึ่งปกติแล้ว ยามวิกาลผู้ชายจะอยู่ในวังหลวงไม่ได้ ซึ่งแค่นั้นยังไม่พอ ทีมงานของเขาบางคนเป็นโรคความต้องการสูง จึงต้องหาสาวสนมในวังมาช่วยคลายเครียด ห้องสมุดในครั้งนั้นก็เลยกลายเป็นหอรักไปในตัวด้วยอีกด้วย
อ้างอิงจาก: https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2552828618364099&id=1405747183072254