หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

วิธีดูแลปอดหลังติดโควิด ใครเป็นแล้วห้ามปล่อยผ่านเด็ดขาด

เนื้อหาโดย Life Style Chidon

 

การเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มโปรแกรมกายภาพบำบัดอย่างง่ายด้วยตนเอง

สำหรับขั้นตอนนี้มีข้อควรระวังคือหากมีโรคประจำตัวต่อไปนี้ ได้แก่ โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคไต ตับรุนแรง โรคหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดดำอุดตัน หรือหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เพิ่งเป็นไม่นาน โรคลิ้นหัวใจตีบ โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ไม่ควรทำกายภาพบำบัดด้วยตนเองและควรปรึกษาแพทย์

ก่อนเริ่มการฝึก ต้องวัดสัญญาณชีพว่าอยู่ในเกณฑ์ต่อไปนี้ ด้วยปรอทวัดไข้และ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว

ที่สำคัญระหว่างการฝึก ควรสังเกตอาการของตนเองอยู่เสมอ หากมีอาการผิดปกติ ได้แก่ เจ็บแน่นหน้าอก ใจสั่น หอบเหนื่อยรุนแรง คลื่นไส้อาเจียน ตาพร่ามัว ให้หยุดการฝึกทันที ถ้าพักแล้วไม่ดีขึ้น ควรรายงานให้แพทย์หรือพยาบาลทราบ

 

การฝึกหายใจด้วยตนเอง

วัตถุประสงค์ในการฝึกหายใจด้วยตนเองนั้น เพื่อเป็นการเพิ่มการระบายอากาศและการแลกเปลี่ยนก๊าซภายในปอด ช่วยป้องกันภาวะปอดแฟบ เพิ่มประสิทธิภาพของกล้ามเนื้อในการหายใจ ใช้พลังงานในการหายใจน้อยลง ช่วยเพิ่มความผ่อนคลาย ทั้งนี้การฝึกในส่วนนี้ สามารถทำได้ทุก 1-2 ชั่วโมง ยกเว้นช่วงที่นอนหลับพักผ่อน

1. การฝึกหายใจด้วยกล้ามเนื้อกระบังลม

เริ่มโดยอยู่ในท่าที่สบาย เช่น นั่งบนเตียงที่ปรับเอนประมาณ 45 องศา รองหมอนที่ศีรษะและเข่า หรือสามารถนั่งบนเก้าอี้แทนได้ จากนั้นให้วางมือข้างหนึ่งบนหน้าอก และมืออีกข้างหนึ่งที่ท้องส่วนบน บริเวณใต้ลิ้นปี่ ผ่อนช่วงคอบ่าลงโดยไม่ต้องเกร็ง จากนั้นหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ให้ท้องป่อง หายใจออกทางปากช้าๆ ท้องยุบ โดยสังเกตว่ามือที่วางอยู่บนหน้าท้องขยับขึ้น และลง ตามการหายใจ ในขณะที่ทรวงอกไม่ขยับ สังเกตว่ามือที่วางบนทรวงอกจะนิ่ง ทำชุดละ 5-10 ครั้ง

2. การฝึกหายใจโดยเน้นการขยายตัวของทรวงอกส่วนล่าง

อยู่ในท่าที่สบาย วางมือทั้งสองข้างที่ทรวงอกส่วนล่าง บริเวณชายโครง หายใจเข้าช้าๆ ให้ทรวงอกส่วนล่างขยาย หายใจออก ทรวงอกส่วนล่างหุบเข้า โดยสังเกตว่ามือที่วางอยู่บนชายโครงขยับตามการหายใจ หายใจเข้า ซี่โครงบานออก หายใจออกซี่โครงหุบเข้าทำชุดละ 5-10 ครั้ง

3. การเคลื่อนไหวผนังทรวงอกด้วยตนเอง นั่งในท่าที่สบาย

การระบายเสมหะด้วยตนเอง (ในกรณีที่มีเสมหะ)

หากคุณมีเสมหะร่วมด้วย สามารถระบายเสมหะด้วยตนเองตามขั้นตอน ทั้งนี้ควรเตรียมอุปกรณ์เช่น กระดาษทิชชู ถุงสำหรับใส่ทิชชูเปื้อน เจลแอลกอฮอล์ล้างมือ สำหรับทำความสะอาดเมื่อมีการไอขับเสมหะระหว่างการฝึก และควรอยู่ห่างจากผู้อื่นอย่างน้อย 2 เมตร สวมใส่หน้ากากอนามัยขณะฝึก และไอใส่กระดาษทิชชู

สามารถฝึกเทคนิคการขับเสมหะโดยการพ่นลมหายใจ (huffing) ดังนี้

ครั้งที่ 1 หายใจเข้าลึกที่สุด โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ห่อปากเป็นรูปวงกลม พ่นลมออกทางปากแรงและยาว ใช้แรงจากหน้าท้องช่วย

ครั้งที่ 2 หายใจเข้าลึกเท่าปกติ ทำเช่นเดียวกับครั้งแรก เมื่อทำได้แล้ว เราจะฝึกหายใจสลับกับพ่นลมหายใจเพื่อขับเสมหะ เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายอากาศและการขับเสมหะ ตามขั้นตอน ดังนี้

  1. หายใจด้วยกระบังลม 3 ครั้ง โดยการวางมือข้างหนึ่งบนหน้าอก และมืออีกข้างหนึ่งที่ท้องส่วนบน บริเวณใต้ลิ้นปี่ ผ่อนช่วงคอบ่าลง ไม่เกร็ง จากนั้นหายใจเข้าทางจมูกช้าๆ ให้ท้องป่อง หายใจออกทางปากช้าๆ ท้องยุบ
    • หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ นับ 1
    • หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ นับ 2
    • หายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องยุบ นับ 3
  2. หายใจโดยเน้นการขยายตัวของทรวงอกส่วนล่าง 3 ครั้ง
    • วางมือทั้งสองข้างที่ทรวงอกส่วนล่าง บริเวณชายโครง
    • หายใจเข้าช้าๆ ให้ทรวงอกส่วนล่างขยาย หายใจออก ทรวงอกส่วนล่างหุบเข้า
    • หายใจเข้าซี่โครงบาน หายใจออกซี่โครงหุบเข้า นับ 1
    • หายใจเข้าซี่โครงบาน หายใจออกซี่โครงหุบเข้า นับ 2
    • หายใจเข้าซี่โครงบาน หายใจออกซี่โครงหุบเข้า นับ 3
  3. ขับเสมหะโดยการพ่นลมหายใจ
    • ครั้งที่ 1 หายใจเข้าลึกที่สุด โน้มตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ห่อปากเป็นรูปวงกลม พ่นลมออกทางปากแรงและยาว เกร็งหน้าท้องช่วย
    • ครั้งที่ 2 หายใจเข้าลึกเท่าปกติ ห่อปากเป็นรูปวงกลม พ่นลมออกทางปากแรงและยาว เกร็งหน้าท้องช่วย โดยผ่อนลมหายใจสบายๆ หายใจในลักษณะปกติ 2-3 ครั้ง

หลังเสร็จสิ้นขั้นตอนข้างต้นแล้ว ถ้ามีเสมหะ ให้ไอออกมา โดยหันหน้าไปยังทิศทางออกจากผู้อื่นและไอใส่กระดาษทิชชูแต่หากเสมหะยังไม่ออก สามารถทำซํ้าอีก 1 รอบได้ ทั้งนี้หากรู้สึกเวียนศีรษะคล้ายหน้ามืดขณะฝึก ควรพักสักครู่

การออกกำลังแขนขาอย่างง่าย และการทำกิจวัตรประจำวันทั่วไป

ควรนอนบนเตียงในท่าที่สบาย

ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงสามารถลุกเดิน ทำกิจวัตรประจำวันในห้องได้เป็นปกติ เพื่อให้มีการขยับเคลื่อนไหวของร่างกายอยู่เสมอ แต่หากเป็นผู้สูงอายุ มีประวัติพลัดตกหกล้มหรือต้องการบุคคลช่วยเหลือในขณะเดินหรือลงจากเตียง ไม่ควรลุกทำกิจกรรมต่างๆ เอง โดยอาจใช้วิธีการนั่งห้อยขาข้างเตียง หรือปรับเตียงขึ้นนั่งเพื่อทำกิจวัตรประจำวันบนเตียงได้

 

 
โหวต Poll: (โหวตไม่ลับ)
มีสาระ
2
ขอบคุณที่แนะนำ
0
+1
0
ขอบคุณ
0
ดูว่าใครโหวตอะไรบ้าง
หากต้องการโหวต Poll, กรุณา Login เข้าสู่ระบบ ก่อนค่ะ
เนื้อหาโดย: DD News Update
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Life Style Chidon's profile


โพสท์โดย: Life Style Chidon
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
10 VOTES (5/5 จาก 2 คน)
VOTED: lo73l1, DD News Update
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
เลขเด็ด ‘ไอ้ไข่ให้โชค’ใครบอกว่า สัตว์น้ำไม่นอน วาฬนอน พิสูจน์ว่าปลาก็นอนเหมือนเรา"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิดข้อดี และ ข้อเสียของการดื่มกาแฟมีอะไรบ้าง อันตรายแค่ไหนทนายธรรมราช เรียกค่าเสียหายหลักเเสน ‘เต้ย มือตบ’ ยืนยันไม่ยอมความแน่นอน"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก8 อาชีพยอดนิยมสำหรับปี 2025
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
"ไข่ผำ" พืชจิ๋ว ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมากคลังฟันธง! "ดิไอคอน" เข้าข่ายฉ้อโกงประชาชน ต้องครบ 3 เงื่อนไข ร่วมวง DSI สรุปสำนวนคดี"กองปริศนา" ปริศนาของเวทมนตร์ที่อาจอยู่ใกล้ตัวเรากว่าที่คิดใครบอกว่า สัตว์น้ำไม่นอน วาฬนอน พิสูจน์ว่าปลาก็นอนเหมือนเรา8 อาชีพยอดนิยมสำหรับปี 2025
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระดี สาระเด็ด
การดื่มน้ำบ่อยๆทำให้ผิวชุ่มชื้นจริงไหมสัญชาติ Nationality - ตัวย่อ ของสัญชาติต่างๆ ทั่วโลกการดูแลสุขภาพองค์รวม (Holistic Health) คืออะไร?ใครไม่รู้จัก :เห็ดลม ถือว่าเชย: มาดู ประโยชน์ และ เมนูอร่อยๆ จากเห็ดลมกันว่ามีอะไรบ้าง
ตั้งกระทู้ใหม่