หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม แต่งรูป คำคม Glitter สเปซ ไดอารี่ เกมถอดรหัสภาพ เกม วิดีโอ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

ย้อนประวัติศาสตร์ ทำไมลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์จึงไม่ถูกกัน

โพสท์โดย อับดุล รอเเย๊ะส์

เล่าย้อนความ..

เย็นวันนี้ที่เมืองไทยจะมีการแข่งขันฟุตบอลนัดประวัติศาสตร์ The Match ซึ่งผู้จัดได้นำเอาสองทีมดังจากอังกฤษอย่าง “ปีศาจแดง” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด กับ “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล มาแข่งขันกันที่ประเทศไทย เรื่องราวนอกสนามรวมถึงผลการแข่งขันและควันหลงจะมีอะไรบ้างคงต้องว่ากันไป แต่สิ่งหนึ่งที่ทุกคนรู้ดีก็คือ ทั้งสองทีมนี้มีความเป็นปรปักษ์กันมานานแล้ว ซึ่งความเป็นปรปักษ์ดังกล่าวไม่ได้มาจากเรื่องฟุตบอลอย่างเดียว แต่ยังมาจากปัญหาอื่นที่มีมาก่อนหน้านั้นอีกด้วย

ย้อนกลับไปในยุคคริสต์ศตวรรษที่ 18 เมื่ออังกฤษมีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทั้งสองเมืองได้กลายเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองทางภาคเหนือของอังกฤษ โดยลิเวอร์พูลซึ่งตั้งอยู่ริมทะเล ได้กลายเป็นเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของอังกฤษในการส่งออกสินค้าไปขายต่างประเทศ ในขณะที่แมนเชสเตอร์กลายเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมทอผ้า ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ที่ผลิตได้ ก็จะต้องถูกขนไปยังท่าเรือที่ลิเวอร์พูลเพื่อส่งออกไปจำหน่ายทั่วโลก การขนส่งสินค้าดังกล่าวมีความสำคัญมากเสียจนทำให้ในปี 1830 ต้องมีการสร้างทางรถไฟสายลิเวอร์พูล-แมนเชสเตอร์ ระยะทาง 50 กิโลเมตร ซึ่งนับเป็นทางรถไฟระหว่างเมืองสายแรกของโลก เพื่อขนส่งวัตถุดิบและสินค้าระหว่างทั้งสองเมืองนี้

อย่างไรก็ตาม ต่อมาชาวเมืองแมนเชสเตอร์ก็รู้สึกไม่พอใจกับเรื่องนี้ เนื่องจากเห็นว่าทางเมืองลิเวอร์พูลเป็น “เสือนอนกิน” ที่ไม่ต้องทำอะไร แต่อาศัยการเก็บภาษีการขนส่งสินค้าจากเมืองอื่น ๆ เป็นรายได้หลัก ด้วยเหตุนี้ ในปี 1885 ทางเมืองแมนเชสเตอร์จึงมีแนวคิดที่จะขุดคลองจากเมืองแมนเชสเตอร์ไปออกทะเลไอริช เพื่อให้เรือสินค้าสามารถแล่นเข้ามาถึงเมืองแมนเชสเตอร์ได้โดยไม่ต้องจอดที่ลิเวอร์พูลอีก ซึ่งแม้ว่าทางเมืองลิเวอร์พูลจะคัดค้านเต็มที่ แต่จากปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำและคนว่างงานในเวลานั้น รัฐบาลอังกฤษจึงหวังว่าการขุดคลองดังกล่าวจะช่วยแก้ปัญหาการว่างงานได้ จึงได้อนุมัติให้มีการขุดคลองดังกล่าวได้ ในปี 1888

คลอง Manchester ship canal ความยาว 58 กิโลเมตร เปิดใช้ครั้งแรกในปี 1894 และก็เป็นไปตามคาด คือเมื่อเรือสามารถแล่นผ่านคลองไปถึงแมนเชสเตอร์ได้โดยตรงโดยไม่ต้องจอดที่ท่าเรือเมืองลิเวอร์พูล ก็ทำให้เศรษฐกิจในเมืองลิเวอร์พูลซบเซาลงทันทีเนื่องจากสูญเสียรายได้จากการขนส่งสินค้าผ่านท่าเรือของตนไปเป็นจำนวนมาก ในขณะที่ท่าเรือที่ซัลฟอร์ด (Salford) ได้กลายเป็นท่าเรือที่เจริญรุ่งเรืองอย่างรวดเร็วแทน ซึ่งทางเมืองแมนเชสเตอร์ถือว่าคลองนี้คือชัยชนะของเมืองที่มีต่อเมืองลิเวอร์พูล และถ้าสังเกตดูตราสโมสรของทั้งสองทีมใหญ่ในเมืองแมนเชสเตอร์ ทั้งแมนเชสเตอร์ ซิตี และแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ต่างก็มีรูปเรือใบประกอบอยู่ด้วย เพื่อเป็นที่ระลึกถึงเหตุการณ์นี้ด้วย (คลองนี้ปัจจุบันก็ยังมีอยู่ แต่เดี๋ยวนี้ไม่คึกคักแล้ว เพราะแคบเกินกว่าที่เรือขนส่งสินค้ายุคนี้จะเข้าไปได้แล้ว)

นับตั้งแต่นั้นมา ทั้งสองเมืองก็ได้กลายเป็นคู่แข่งขันกัน ไมว่าจะเป็นในด้านเศรษฐกิจ รวมไปถึงด้านสังคม ศิลปะ วัฒนธรรม รวมถึงกีฬาฟุตบอล โดยเฉพาะระหว่างลิเวอร์พูลกับแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นสองทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในวงการฟุตบอลอังกฤษ ซึ่งเริ่มชัดเจนขึ้นนับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา

⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
สาวแทบช็อก! เจอค่าไฟสุดโหด..เดือนเดียวพุ่ง 77 ล้านบาทชาวเน็ตแห่แชร์ หนุ่มประกาศขายบ้านด่วน!..เหตุผลสุดอึ้งนี่เป็นรถไฟที่แย่ที่สุดในโลกหรือไม่? รีวิวรถไฟกัมพูชาหรือจะถึงคราวต้อง " อำลา TikTok " แล้วจริงๆทำรากฟันเทียม แต่หน้ากลายเป็นสัตว์ประหลาดมาแล้ว "หวยควายนำโชค" งวดวันที่ 2/5/2567สาวร้องสายไหมต้องรอด คลีนิกทำ "จิ๊มิไหม้" แล้วไม่รับผิดชอบชาวเน็ตฮือฮา! ขายที่ดินพร้อมบ้าน 200 ล้าน ติดวิวสภาสัปปายะสภาสถานบังคลาเทศ ประกาศหยุดเรียนเพราะอากาศร้อน
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
หนุ่มเครียด! สอบติดอัยการผู้ช่วย ควรเลิกกับแฟนที่เป็นพนักงานบริษัทดีไหม?สาวแทบช็อก! เจอค่าไฟสุดโหด..เดือนเดียวพุ่ง 77 ล้านบาท"ใบเตย สุธีวัน" กลับสู่บ้านเดิม เซ็นสัญญาเข้าบ้าน "อาร์สยาม"5 สาเหตุ ที่คนแก่ยึดติดกับอะไรเดิม ๆ
แค๊ปชั่นกวนโอ๊ยย!!..ฮาๆ..คลายเครียดๆ🤪หนุ่มถาม? ควรคิดค่าแรงในการขับรถพาแฟนเที่ยว ดีไหม!หนุ่มเครียด! สอบติดอัยการผู้ช่วย ควรเลิกกับแฟนที่เป็นพนักงานบริษัทดีไหม?จังหวัดเดียว ในภาคอิสานที่ไม่มีภูเขา?
ตั้งกระทู้ใหม่