พบงูหายาก งูสวมมงกุฎริมโขดหิน (Tantilla oolitica)ที่สวนสาธารณะรัฐฟลอริดาตายเพราะกินตะขาบยักษ์ติดคาที่คอ
พบงูหายาก งูสวมมงกุฎริมโขดหิน (Tantilla oolitica)ที่สวนสาธารณะรัฐฟลอริดาตายเพราะกินตะขาบยักษ์ติดคาที่คอ
ใน Key Largo พบงูชนิดที่หายากตาย
เพราะมีตะขาบยักษ์คาที่คอ
งูสวมมงกุฎริมโขดหิน (Tantilla oolitica)อยู่ในรายชื่อสายพันธุ์งูชนิดที่หายากมากที่ถูกคุกคามของรัฐฟลอริดาตั้งแต่ปี 1975
งูชนิดนี้เป็นงูที่หายากที่สุดในอเมริกาเหนือและนักวิทยาศาสตร์ไม่ได้พบเห็นงูชนิดนี้ในป่ามานานกว่า 4 ปีแล้ว
แต่เมื่อเร็วๆ นี้
งูที่หายากตัวหนึ่งปรากฏตัวขึ้น
ในสวนสาธารณะของรัฐฟลอริดา
การพบเห็นครั้งนั้นเป็นเรื่องน่าเศร้า
งูกลายเป็นศพจากสัตว์ป่าที่น่าสยดสยอง
(สัตว์ป่า คือ สัตว์ที่ไม่มีคนเลี้ยงกม.อังกฤษศาตราจารย์ ประพนธ์ ศาตะมาน)
มีผู้เยี่ยมชมอุทยานแห่งรัฐหลอริดา Key Largo ที่John Pennekamp Coral Reef State Park
พบซากงูตายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2022มันสำลักตะขาบยักษ์ตายขณะที่กลืนลงไประหว่างกลืนลงมาในหลอดอาหารตะขาบยักษ์ที่ถูกกลืนเข้าก็ตายตามไปด้วย
👉🏿ฉากที่น่าสยดสยองนี้ ชี้ให้เห็นว่า
งูเสียชีวิตในขณะที่สำลักอาหารมื้อใหญ่
ตะขาบมีขนาดลำตัวประมาณ 1/3 ของนักล่าจึงเป็นไปได้ว่าที่ งูสำลักอาหารจนตายผลการศึกษาเผยแพร่ 4 กันยายน 2022ในวารสาร The Scientific Naturalist
งูสวมมงกุฎริมโขดหินนั้นไม่มีพิษ
มีหัวสีดำและลำตัวสีน้ำตาลอมชมพู
มีความยาว 6 - 11 นิ้ว (15 - 28 เซนติเมตร)พบได้เฉพาะในเขต Florida Keys และทางทิศอิศานของชายฝั่งแอตแลนติค
ข้อมูล แผนกนิเวศวิทยาและการอนุรักษ์สัตว์ป่าUniversity of Florida's Department of Wildlife Ecology and Conservation
งูชนิดนี้อยู่ในรายชื่อสายพันธุ์ที่ถูกคุกคามและหายากของรัฐฟลอริดาตั้งแต่ปี 1975ตัวอย่างงูที่มีชีวิตล่าสุดถูกพบในปี 2015ในขณะที่การพบเห็นครั้งล่าสุดที่บันทึกไว้คือ งูที่เสียชีวิตเพราะถูกแมวฆ่าตายในปี 2018
Kevin Enge ผู้เขียน/ผู้ช่วยในการวิจัย ร่วมกับFlorida Fish and Wildlife Conservation Commission
" งูสวมมงกุฎริมโขดหิน พบเห็นไม่ได้ง่ายนักใน Key Largo/ที่อื่น ๆ เพราะมีขนาดตัวเล็กมากขุดโพรงอาศัยอยู่ ทั้งยังใช้เวลาส่วนใหญ่
ซ่อนตัวอยู่ใต้เศษใบไม้ หรือในโพรงดิน
มักจะพบเห็นก็ตอนที่ช่วงฝนตกหนักมาก
ที่บังคับให้มันโผล่ขึ้นมาบนพื้นผิวดิน
สำหรับคนรักงู ชอบดูงูที่มีชีวิตและล่ารายชื่องูสายพันธุ์ที่เป็น Holy Grail ใน Florida
นักล่างูส่วนใหญ่ยังไม่มีใครพบเห็นเลย
แม้ว่าจะดั้นด้นค้นหาเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ "
การทำ CT สแกน CT เผยให้เห็นว่า
ตะขาบยักษ์ (Scolopendra alternans)
ขนาด 1/3 ของงูที่กลืนมัน
เมื่อผู้มาเยี่ยมอุทยานพบงูที่ตายแล้ว
ซึ่งวัดได้ยาวประมาณ 8 นิ้ว (21 ซม.)
ปากของสัตว์เลื้อยคลานอ้าปากค้างกว้าง
และมีส่วนหลังของตะขาบยาว 3 นิ้ว (7.3 ซม.)ตะขาบ (Scolopendra alternans)
ห้อยออกมา/ยื่นออกมาราว 1 นิ้ว (2.3 ซม.)
เจ้าหน้าที่อุทยานได้ติดต่อกับนักวิทยาศาสตร์กับพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติฟลอริดา
Florida Museum of Natural History
(FMNH) ในเมือง Gainesville
เพื่อนำซากงูและตะขาบไปที่พิพิธภัณฑ์
ณ ที่แห่งนั้น นักวิจัยได้รักษาสภาพและวิเคราะห์สัตว์เลื้อยคลานคู่นี้โดยหวังว่า ตัวอย่างที่พบ
จะทราบถึงสาเหตุการตายในครั้งนี้
เปิดเผยเบาะแสเกี่ยวกับนิสัย/ชีววิทยาของงู" หายากมาก
ในฐานะนักชีววิทยางูในฟลอริดา
การค้นพบครั้งนี้น่าตื่นเต้นอย่างยิ่ง
เรามีตัวอย่าง Tantilla oolitica ที่เก็บไว้
เพียง15 ตัวอย่างที่พิพิธภัณฑ์ฟลอริดา
ซึ่งเป็นครึ่งหนึ่งของตัวอย่างที่รู้จัก
ของสายพันธุ์นี้ที่รู้จักทุกแห่ง
นอกจากนี้เรายังมีตัวอย่างแบบ
holotype และ paratype
(ต้นแบบและคล้ายต้นแบบ)
ด้วยว่าเป็นอย่างไรบ้างแต่เราไม่เคยมีตัวอย่างแบบนี้งูที่เสียชีวิตขณะกินเหยื่อ
และผมคิดว่ายังไม่มีใครพบเช่นเดียวกัน
การค้นพบแบบนี้หายากมากแม้แต่กับงูสายพันธุ์ทั่วไปในงานสะสมทั้งหมดของเรา
ผมคิดว่า เราอาจมีตัวอย่างงู
อีก 2 สายพันธุ์ที่เสียชีวิตขณะกินเหยื่อ "
Coleman Sheehy ผู้ร่วมวิจัยด้านการศึกษานักวิจัยและผู้จัดการฝ่ายรวบรวมที่ FMNH
เพื่อต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับสิ่งที่ฆ่างู
นักวิทยาศาสตร์ได้ใช้การตรวจเอกซเรย์ด้วย
การทำ CT สแกน เพื่อดูอวัยวะภายในสัตว์
และเห็นภาพอาหารมื้อสุดท้าย
การตรวจแบบนี้ไม่ทำลายตัวอย่าง
แม้ว่ายังไม่ทราบระยะเวลาตายของงู
ว่าได้นอนตายอยู่บนเส้นทางนานแค่ไหน
แต่เนื้อเยื่ออ่อนยังคงไม่บุบสลาย
และยังอยู่ในสภาพที่ดี (ยังไม่เน่าเปื่อย)
ได้เผยให้เห็นถึงรายละเอียดที่ไม่คาดคิด
สภาพที่ยอดเยี่ยมของเนื้อเยื่ออ่อนของงู
ที่พบจากการทำ CT สแกน เปิดเผยให้เห็นโครงสร้างภายในของมัน
" หลอดลมยังคงอยู่ในสภาพอย่างดี
จนเราสามารถเห็นความยาวของหลอดลม
และส่วนใดที่ถูกบดบัง(ด้วยตะขาบยักษ์)
ผล CT สแกนพบว่า หลอดลมของงูถูกกดทับและอาจกีดขวางทางเดินหายใจ
ซึ่งนำไปสู่การขาดอากาศหายใจ
งูมักกลืนเหยื่อขนาดใหญ่
และบางครั้งอาจจะอาเจียน/สำรอกได้
แต่แนวขาจำนวนมากของตะขาบ
ทำให้งูสำรอกออกมาได้อย่างลำบาก "
Kevin Enge สรุปเพิ่มเติม
สาเหตุการเสียชีวิตอีกประการหนึ่ง
อาจเป็นเพราะพิษจากขาหน้าขนาดใหญ่
ของตะขาบต่อยใส่งูขณะที่กำลังจะตาย
ในระหว่างที่ถูกกลืนลงไปในคองู
เมื่อผู้ทำการศึกษาตรวจดูผลการ CT สแกน
ก็ตรวจพบบาดแผลที่ภายนอกแทบมองไม่เห็นแต่แสดงให้เห็นความเสียหายภายในมากขึ้น
แม้ว่าการบาดเจ็บอาจจะไม่เป็นอันตรายถึงชีวิตแต่ก็อาจได้รับพิษมากพอที่จะทำให้งูตายได้
อาจเป็นไปได้ว่างูได้รับบาดเจ็บก่อน
ที่จะกลืนตะขาบและพิษของตะขาบ
ทำให้มันกินอาหารไม่ได้/กินอย่างลำบาก
นักวิทยาศาสตร์ตั้งข้อสังเกตว่า
หากสถานการณ์ที่คิดนี้ถูกต้อง
แสดงว่ามีงูสายพันธุ์ที่มีความทนทาน
ต่อสารพิษจากตะขาบ (แบบปรับตัวได้)
ซึ่งเป็นการปรับตัวตามธรรมชาติ
ที่นักวิทยาศาสตร์ยังสงสัยว่ามีหรือไม่
แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันว่ามีจริงหรือไม่
" การค้นพบตัวอย่างที่ตายใหม่
และยังไม่เสียหายบนพื้นดินนี้ทำให้เกิดโอกาสที่หายากในการทำงานของนักสืบ
โดยใช้วิทยาศาสตร์ล้ำสมัย
เราสามารถได้รับความคิดที่ดีเกี่ยวกับสิ่งที่ฆ่างูหายากตัวนี้ซึ่งอาจจะไม่ได้รับการยืนยันโดยการผ่าตัด (แบบในอดีต
ที่ทำลายซากที่ศึกษาได้) "
Kevin Enge กล่าวเพิ่มเติม
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย google และ YouTube