ต้นกำเนิดยาบ้าในประเทศไทย
ต้นกำเนิดยาบ้าในประเทศไทย
ยาบ้าในประเทศไทยกำเนิดมาจากนางกัลยาณี อร่ามเวชอนันต์ ที่ส่งลูกไปเรียนวิชาเคมีที่ประเทศไต้หวัน เพื่อกลับมาผลิตยาบ้ารายแรกของเมืองไทย ปัจจุบันถูกจำคุกอยู่ในเรือนจำลาดยาว เธอถูกจับพร้อมสามีและลูกชาย 2 คน ที่บ้านหลังหนึ่งในพื้นที่อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี ซึ่งครอบครัวของเธอเช่าไว้ผลิตยาบ้า เธอถูกจับในเดือนพฤศจิกายน 2530 หลังจากนั้นยาม้าถูกประกาศเป็นยาต้องห้าม ซึ่งก่อนหน้านั้นยาม้าสามารถนำเข้าจากต่างประเทศ กัลยาณีและครอบครัวถูกคุมขังแต่การผลิตยาม้าก็เติบโต คนงานที่ผลิตโรงงานของกัลยาณีได้เรียนรู้สูตรจากลูกชาย 2 คน และขยายธุรกิจ บางคนทำเอง จนสูตรยาม้าที่กัลยาณี เคยใช้ยี่ห้อ เป้าบุ้นจิ้น ในครั้งแรกได้ขยายเป็นยี่ห้อต่าง ๆ มากมาย
แหล่งผลิตที่กระจุกตัวอยุ่ในกรุงเทพฯ เริ่มถูกตำรวจตามทลาย จึงต้องกระจายไปสู่ส่วนภูมิภาค กระทั่งสุดท้าย ประมาณกลางปี 2538 คนงานของกัลยาณีบางคน ที่แยกมาผลิต ได้ขยายพื้นที่เข้าสู่ชายแดนประเทศพม่าโดยจ่ายค่าคุ้มครองให้ชนกลุ่มน้อยและทหารพม่าบางกลุ่ม โรงงานของคนไทยได้ขยายเพิ่มมากขึ้นในเขตพม่า จนในที่สุดคนกลุ่มน้อยที่แตกตัวมาจากขุนส่าและกลุ่มว้าแดงเริ่มสนใจธุรกิจผลิตยาม้า จึงทั้งขอและบังคับให้เจ้าของบอกสูตรให้
เจ้าของโรงงานคนไทยยอมมอบสูตรให้ และสุดท้ายธุรกิจผลิตยาบ้า ได้ตกอยู่ในมือชนกลุ่มน้อยต่างๆ ของพม่าทั้งหมด การผลิตและการตลาดของชนกลุ่มน้อยโดยใช้ประสบการณ์จากการค้าเฮโรอีน ทำให้ยาบ้าแพร่ระบาดในประเทศไทยอย่างรวดเร็ว
แหล่งผลิตที่สำคัญในปัจจุบัน
ในประเทศผู้ผลิต (กลุ่มว้าแดง) จะห้ามประชาชนของเขาเสพยาเสพติดที่เขาผลิตโดยเด็ดขาด ถ้าทางผู้ผลิตทราบจะลงโทษสถานหนักถึงขั้นยิงทิ้งเลยทีเดียว การขนส่งยาเสพติดจากประเทศผู้ผลิตจะส่งกัน 3 ทางคือ
- ทางบก โดยผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่หลังสัตว์ (ลา) หรือให้คนงานใส่เป้พร้อมอาวุธบรรทุกมาตามแนวชายแดนฝั่งตะวันตกของประเทศไทย หรืออ้อมสามเหลี่ยมทองคำผ่านเข้าประเทศลาวสู่ประเทศไทย หรือผ่านลาวลงมากัมพูชาเข้าประเทศไทย
- ทางน้ำ ผู้ผลิตจะนำยาเสพติดใส่เรือประมงทางฝั่งทะเลอันดามันลงมาทางใต้ของไทย
- ทางอากาศ โดยผู้ผลิตจะปะปนมากับสิ่งของเช่น กระเป๋าเดินทาง ของนำเข้าจากต่างประเทศ เป็นต้น