7P หรือ 7PS คืออะไร พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์สินค้า
ชวนทุกคนทำความรู้จัก 7P
สิ่งที่สุดในการทำการตลาด คือการวิเคราะห์สินค้าตัวเอง โดยหากเรารู้จักสินค้าตัวเองดีพอ และรู้ถึงสินค้าคู่แข่งด้วย ย่อมทำให้เราสามารถกำหนดกลยุทธ์การตลาด และสามารถมีชัยเหนือคู่แข่งได้โดยง่าย ในวันนี้เราจะมาแนะนำทุกท่าน มาทำความรู้จัก 7P , 7PS หรือที่เราเรียกกันว่า ส่วนประสมทางการตลาด (Marketing Mix) ที่จะทำให้คุณนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้มีชัยเหนือคู่แข่ง
7P หรือ 7PS (ส่วนผสมการตลาด) คืออะไร
เหล่านักการตลาดอาจจะต้องเคยได้ยิน Marketing Mix แบบ 4P กันมาบ้างแล้ว แล้ว 7P คืออะไรละ ?
ก่อนจะทำความรู้จัก 7Ps เราต้องรู้จัก 4P Marketing Mix ก่อน 4P ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่จะเน้นให้ความสำคัญกับตัวสินค้า เพื่อให้เข้าถึงผู้บริโภคและ มีความโดดเด่นในตัว โดยจะมีองค์ประกอบคือ Products, Price, Promotion, และ Place
ส่วน 7P Maketing Mix คือส่วนผสมทางการตลาดที่แตกแขนงออกมาจาก 4P เพื่อเน้น เจาะกลยุทธ์ทั้งสินค้าและบริการที่ดีแก่ผู้บริโภค ที่มีความคาดหวังกับแบรนด์ที่สูงยิ่งขึ้นในยุคดิจิตัล จึงทำให้ 7P มีความจำเป็นในการใช้วิเคราะห์กลยุทธ์ Digital Marketing เป็นอย่างมาก ซึ่งในส่วนต่อไป เราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับ 7p มีอะไรบ้าง และนำไปใช้งานได้อย่างไร
7P (Marketing Mix) ประกอบด้วยอะไรบ้าง
7P Marleting Mix ประกอบไปด้วย Product, Price, Place, Promotion, People, Process, Physical Evidence ซึ่งแต่ละหัวข้อจะมีความสำคัญดังนี้
1.ผลิตภัณฑ์ (Product)
Product คือ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับสินค้าที่อยู่ภายใต้ Branding โดยนักการตลาดจำเป็นจะต้องหา Insight และ Persona ที่เกี่ยวกับ Product ของเราเพื่อนำมาปรับปรุง Product ของเราหรือสร้างสรรค์คอนเทนต์ออกมาให้ตรงตามความต้องการของลูกค้านั้นเอง โดยประกอบไปด้วย
- Core product - สินค้าของเราที่จะขายคืออะไร
- Product Attribute - คุณสมบัติ หรือลักษณะของสินค้า
- Product Feature - สินค้าเราทำอะไรได้บ้าง
- Product benefit - ประโยชน์ของสินค้า
2. ราคา (Price)
Price คือ อย่างที่เราทราบกัน ถ้าแปลตรงตัวนั้นหมายถึง ราคา นั่นเอง โดยการวิเคราะห์ในส่วนนี้นอกจากจะช่วยให้เรา เข้าใจในพฤติกรรมของผู้บริโภคมากขึ้น เพราะ ราคาก็เป็นปัจจัยที่สำคัญในการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภ
นอกจากนี้ Price ยังสามารถใช้ในการกำหนดนโยบายและกลยุทธ์ด้านราคา ให้กับสินค้าของเราได้อีกด้วย เพื่อให้ได้ราคาที่เหมาะสมเมื่อสินค้าถูกกระจายออกไปขายในตลาด โดยแบ่งได้ดังนี้
- การตั้งราคาตามแนวภูมิศาสตร์ (Geographical pricing)
- การตั้งราคาให้แตกต่างกัน (Discrimination pricing)
- กลยุทธ์การตั้งราคาตามหลักจิตวิทยา (Psychological pricing)
- การตั้งราคาสำหรับสินค้าใหม่ (New product pricing)
- การตั้งราคาส่วนประสมผลิตภัณฑ์ (Product mix pricing)
- การตั้งราคาเพื่อส่งเสริมการตลาด (Promotion pricing)
- นโยบายการให้ส่วนลดและส่วนยอมให้ (Discount and allowances)
- นโยบายระดับราคา (The level of price policy)
- นโยบายราคาเดียวกับนโยบายหลายราคา ( One price policy and variable price policy)
- นโยบายแนวระดับราคา (Price lining policy)
3. ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place)
Place คือสถานที่ ที่เราต้องการขายสินค้าของเรา โดยเราต้องคำนึงถึงการกระจายสินค้าของเราว่าสามารถไปสู่ลูกค้าได้อย่างทั่วถึงหรือไม่ โดยทั่วไปแล้ว ทุกคนอาจจะนึกถึงแค่ ช่องทางที่เป็น Offline แต่ปัจจุบันโลกได้ไปไกลมากขึ้น จึงมีตัวเลือกมากขึ้นอย่าง ช่องทางออนไลน์ Social Media ยิงแอดโฆษณาสินค้า เว็บไซต์ หรือ E-Commerce แม้กระทั่ง Omni Channel นั่นเอง
นอกจากนี้เรายังต้องคำนึงถึง ช่องทางการขายด้วย
- B2B เป็นการกระจายไปสู่ผู้ประกอบการ เราต้องทราบว่าหากผู้ประกอบการต้องการจะซื้อผลิตภัณฑ์ของเรานั่น เขาต้องไปซื้อที่ไหน
- B2C เป็นการกระจายไปสู่ผู้บริโภค อาจจะเป็นผ่านห้างสรรพสินค้า ร้านค้า หรือช่องทางออนไลน์ แบบต่าง ๆ
4. การส่งเสริมการตลาด (Promotion)
Promotion คือสิ่งที่ช่วยส่งเสริมการขายของเราให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญในการที่จะสื่อสารแบรนด์ของเราไปสู่ลูกค้า ซึ่งแบรนด์ต้องมีการวางกลยุทธ์ทางการตลาดแบบดิจิตอล (Digital Marketing) ให้รัดกุมและเหมาะสมกับแบรนด์ของเรา โดยตัวอย่างกลยุทธ์การตลาดมีดังนี้
- กลยุทธ์การตลาดผ่านโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing) - การโปรโมทสินค้าผ่าน เพจ หรือ แชแนล Official ของแบรนด์
- กลยุทธ์การตลาดผ่าน Search Engine (SEO marketing) - การทำ SEO เพื่อเพิ่ม Traffic และ Organic Search ให้กับเว็บไซต์ของแบรนด์
- กลยุทธ์การยิงแอด (Facebook Ads) - การยิงแอดเพื่อให้คอนเทนต์การตลาดของเราไปสู่คนอื่นที่เป็น Potential Customers มากขึ้น ทำให้มีโอกาสเกิด Conversion ที่สูง
- กลยุทธ์การตลาดผ่านอีเมล (Email Marketing) - การใช้อีเมล ในการทำตลาด เป็นการแจ้งข่าวสาร โปรโมชัน หรือว่าเพื่อ Lead ลูกค้าไปที่ Social Commerce หรือ E-Commerce ของแบรนด์
- กลยุทธ์การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า (CRM) - เป็นการสร้างความไว้วางใจให้กับลูกค้า เพื่อ sustain ลูกค้าเก่า และ สร้างลูกค้าใหม่
5. การจัดการคนหรือพนักงาน (People)
People คือสิ่งที่หมายถึงผู้คนทุกคนที่เกี่ยวข้องกับบริษัท ที่มีการปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า โดยประกอบไปด้วย
- การคัดเลือกพนักงาน - การเลือกคนให้เหมาะสมกับงาน
- การอบรมพนักงาน - การให้ความรู้และแนะนำในด้านการบริการ, บุคลิกภาพ, หรือ Mindset ในการให้บริการ
- การจัดการ complain ลูกค้า - การจัดการและรับมือกับคำติเตียนของลูกค้า รวมถึงการปรับปรุงจากคำติเตียนเหล่านั้น ให้ดียิ่งขึ้น
- การรับมือกับจำนวนลูกค้า - การรับมือเมื่อต้องพบเจอกับจำนวนลูกค้าที่มากเกินไป หรือคนน้อยเกินไปในบางที ต้องทำอย่างไร
6. กระบวนการ (Process)
Process คือกระบวนการในการให้บริการธุรกิจของเรา ไม่ว่าจะเป็นการ R&D, PR, หรือแม้กะทั่ง Customer Service เป็นต้น ซึ่งการที่เราทำสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ เราสามารถวางแผนกลยุทธ์ และเข้าใจ Customer Experience หรือ Customer Journey ได้อย่างไม่มีปัญหา ทำให้เราสามารถออกแบบ UX และ UI เว็บไซต์ของเราให้เข้ากับ Behavior ของลูกค้า
7. สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Evidence)
Physical Evidence คือ P ตัวสุดท้าย และมีความสำคัญครอบคลุมทุกสิ่งที่จับต้องได้ ในแง่ที่ลูกค้าต้องได้รับอย่าง Customer Experience โดยสิ่งที่ลูกค้าจับต้องเหล่านี้จะช่วยทีม Dev สามารถทำการ Website Development หรือ Website Design ให้ตรงกับสินค้าได้มากยิ่งขึ้น รวมถึง Customer Support จะสามารถบริการแก้ Pain Point ของลูกค้าได้อย่างแม่นยำและว่องไว
ความสำคัญของ 7P
- สามารถเข้าใจสินค้า แบรนด์ของเรา รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคได้ง่ายยิ่งขึ้น
- เราสามารถนำสิ่งที่ได้ในการวิเคราะห์ 7P มาประกอบในการวางแผนกลยุทธ์การตลาด
- ปรับปรุงแบรนด์สินค้าของเราทั้งในแง่ Physical และ Mental เพื่อให้ตรงใจและเข้าถึง Target ได้ง่ายขึ้น
- รู้ถึงจุดแข็ง และช่องโหว่ ของแบรนด์เรา ทำให้สามารถปรับปรุงได้อย่างทันท่วงที
โดยสิ่งเหล่านี้ หากเราวิเคราะห์ 7P ได้ขาด จะทำให้เราแผนการตลาดของเรา มีความสมบูรณ์และได้ผลเป็นอย่างมาก
ตัวอย่างการวิเคราะห์กลยุทธ์ 7P
หากทุกคนอยากรู้ว่า ที่เราอธิบายมาข้างบนนั้น ใช้อย่างไร ตรงส่วนนี้เราจะมาแนะนำอธิบายเป็นตัวอย่างการวิเคราะห์กลยุทธ์ 7P อย่างคร่าว ๆ เพื่อให้ทุกท่านเห็นภาพมากยิ่งขึ้น
1. Product
- แพคเกจทัวร์ยุโรป
Core product - แพคเกจเที่ยวสวิตเซอร์แลนด์
Product Attribute - เป็นแพคเกจทัวร์ ชมความงามธรรมชาติในสวิตเซอร์แลนด์
Product Feature - รวมค่าตั๋วเครื่องบินไปกลับ และค่าที่พักและอาหารตามมื้อและอื่น ๆ 7 วัน 6 คืน
Product benefit - ทำให้ลูกค้าได้หนีความวุ่นวายในประเทศ ไปสัมผัสธรรมชาติ และวัฒนธรรมบ้านเมืองที่งดงาม ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์
2. Price
ในเรื่องราคา ทางบริษัททัวร์ได้ตั้งราคาให้เท่ากัน หรือใกล้เคียงกับบริษัทอื่น ๆ แต่เน้น เรื่อง Feature ที่คุ้มค่ากว่า เพื่อเอาชนะคู่แข่ง
3. Place
แพคเกจนี้สามารถจองได้โดยการ Walk-in ไปที่บริษัททัวร์ หรือตัวแทนจำหน่าย หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ของบริษัททัวร์เอง
4. Promotion
แพคเกจต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ มีส่วนลด หรือกิจกรรมแจกโค้ดส่วนลด พร้อมทำ SEO และ ทำ Banner ยิงแอด Facebook เพื่อกระตุ้นให้คนมาจองแพคเกจมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการโฆษณาผ่านช่องทางอื่นๆ ใน On Ground Booth เป็นต้น
5. People
มีการอบรม พนักงานขาย หรือแม้กระทั่งไกด์ทัวร์ ว่าให้ดูแลลูกค้าเหมือนพาคนที่บ้าน หรือคนที่รักไปเที่ยว พร้อมทั้งมีการให้เรียนรู้วัฒนธรรมของสวิตเซอร์แลนด์ และภาษาเบื้องต้น เพื่อให้สามารถช่วยเหลือลูกทัวร์ได้
6. Process
มีการเก็บ Feedback ลูกค้าและนำมาพัฒนาแพคเกจทัวร์เพื่อตอบโจทย์ลูกค้าตลอด และ พร้อมทั้งมีการ PR ประชาสัมพันธ์ว่าไปทัวร์กับเรา เหมือนไปกับคนที่คุณรัก เพื่อสร้างความประทับใจแรก และให้ความมั่นใจแก่ลูกค้า
7. Physical Evidence
มีการใช้รูปมือประสานและมีรูปโลก เพื่อแสดงถึงความเอาใจใส่ลูกค้า นอกจากนี้ยังมีการบริการที่น่าประทับใจลูกค้าสัมผัสได้ราวกับมากับครอบครัว และแพ็คเกจนั้นสามารถพาลูกค้าไปทำกิจกรรมได้ครบตามกำหนดการที่กำหนดไว้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ 4P
ในเมื่อเราเข้าใจเกี่ยวกับ 7P ไปแล้ว เชื่อว่าหลายคนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ 4P อยู่เราจึงรวบรวมคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับ 4P เพื่อมาคลายข้อสงสัยให้กับทุกท่าน
4P กับ 7P ต่างกันอย่างไร
4P นั้นคือตัวเริ่มต้นของ 7P โดย 4P จะเริ่มจาก Products, Price, Promotion, และ Place ซึ่งจะเน้นเกี่ยวกับตัว Product ของเรา แต่ 7P จะเป็น Marketing Mix ที่แตกแขนงมากจาก 4P โดยจะเพิ่มสิ่งที่จำเป็นในการบริการที่ลูกค้าในปัจจุบันให้ความสำคัญมากยิ่งขึ้นซึ่งเหมาะในการใช้ในการวางกลยุทธ์ Digital Marketing อย่าง People, Process, Physical Evidence นั่นเอง