พบมดสายพันธุ์ใหม่ของโลก ‘มดอาจารย์รวิน’ ถูกพบในไทย และมี ‘ชื่อคนไทย’ อยู่ในนั้น
🐜มดสายพันธุ์ใหม่ของโลก ‘มดอาจารย์รวิน’ ถูกพบในไทย และมี ‘ชื่อคนไทย’ อยู่ในนั้น
มดสายพันธุ์ใหม่ล่าสุดของโลกที่มองดูแล้วน่ากลัวโหดร้าย...สายพันธุ์หนึ่งที่พบโดยคนไทย ชื่อก็มีความหมายแบบไทยๆ
‘มดอาจารย์รวิน’ ขึ้นเพื่อตั้งชื่อขึ้นเพื่อเป็นเกียรติกับผู้พบคนแรกของมดสายพันธุ์นี้
👉🏿หรือถ้าจะมีมดสายพันธุ์อื่นก็คงจะไม่เหมือนมดสายพันธุ์ที่พบในประเทศไทยชนิดนี้นะครับ ‘มดอาจารย์รวิน’
อพวช. ร่วมด้วย ม.มหิดล และสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช ค้นพบ “มดอาจารย์รวิน” มดชนิดใหม่ของโลก ส่งเสริมความหลากหลายทางชีวภาพ และบ่งชี้ความอุดมสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมของประเทศองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมด้วย
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ค้นพบมดชนิดใหม่ของโลก
👉🏿🐜พร้อมกันนี้ได้ตั้งชื่อว่า “มดอาจารย์รวิน” เพื่อส่งเสริมความรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งกระตุ้นศาสตร์ ด้านอนุกรมวิธานวิทยาให้เป็นที่สนใจอย่างแพร่หลาย พร้อมร่วมกันศึกษาด้านอนุกรมวิธานสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ต่อไป เพื่อนำองค์ความรู้ถ่ายทอดสู่สังคมไทยต่อไปในอนาคต
🧔🏻ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) กล่าวว่า อพวช. มีภารกิจในการสร้างความตระหนักด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นวัตกรรม และความหลากหลายทางชีวภาพ โดยนำผลการศึกษาวิจัย การเก็บรักษาวัสดุตัวอย่างที่สำคัญและมีคุณค่า มาสร้างองค์ความรู้และถ่ายทอดไปสู่สังคม ที่พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา
🕕👉🏿“ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา อพวช. ได้ดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเหล่านักธรรมชาติวิทยา ของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ที่ดำเนินการศึกษาค้นพบมดชนิดใหม่ของโลกแล้วกว่า 68 ชนิด ซึ่งเฉลี่ยแล้ว อพวช. ได้ทำการค้นพบปีละ 6-7 ชนิด นำมาสู่ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ และผลงานหรืองานวิจัยเหล่านี้ถูกนำไปตีพิมพ์ให้เป็นที่รู้จักและเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการระดับนานาชาติ”
👉🏿“ต่อจากนี้ อพวช. ก็จะยังให้การสนับสนุนและผลักดันการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อประโยชน์ของคนไทยและประเทศไทยต่อไป โดยผลงานการค้นพบมดชนิดใหม่ของนักธรรมชาติวิทยา พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. ครั้งนี้ ได้สร้างความสำคัญให้กับด้านการศึกษาวิจัยด้านธรรมชาติวิทยาให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในสังคม และหวังว่าองค์ความรู้เหล่านี้จะได้ถ่ายทอดไปสู่เยาวชน และประชาชนที่ได้หันมาสนใจเรื่องราวของสิ่งแวดล้อมกันมากยิ่งขึ้น”
👉🏿ด้าน ดร.วียะวัฒน์ ใจตรง นักวิชาการพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. ผู้ค้นพบมดชนิดใหม่ กล่าวว่า การค้นพบมดชนิดดังกล่าวเกิดขึ้นจากความร่วมมือกันของ พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อพวช. คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล และสถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย
🐜 “มดที่เราค้นพบมีความแตกต่างจากมดชนิดอื่น ๆ บนโลก โดยมีลักษณะเด่นก็คือ ลักษณะภายนอกที่มีผิวหนังที่ขรุขระ ไม่เงาเหมือนมดสายพันธุ์อื่น ๆ บนโลกที่มีความมันเงา มดตัวนี้สามารถบ่งชี้ถึงดัชนีของความอุดมสมบูรณ์บนผืนป่าในประเทศไทยที่ยังคงอยู่ โดยเราได้ค้นพบเจอที่สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จ.นครราชสีมา ซึ่งการค้นพบครั้งนี้นับเป็นสมบัติอันมีค่าของประเทศ”
👉🏿🐜มดสายพันธุ์ใหม่ของโลกชนิดนี้มีชื่อเต็มคือ Myrmecina raviwongsei Jaitrong, Samung, Waengsothorn et Okido โดยมดชนิดนี้ถูกจัดให้เป็นมดชนิดใหม่ของโลก ในเดือนมิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา พร้อมถูกตั้งชื่อว่า "มดอาจารย์รวิน"
🧔🏻ตามชื่อของ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการ อพวช. เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ท่านในฐานะที่ท่านเป็นผู้บริหารของ อพวช. ที่ให้การสนับสนุนและผลักดันการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ ให้แก่นักวิชาการด้านธรรมชาติวิทยาของ อพวช. อย่างจริงจังมาโดยตลอด
อพวช. ยังผลักดันการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพในด้านต่าง ๆ ทั้งการศึกษาวิจัย การสำรวจ และเก็บรวบรวมตัวอย่างอ้างอิง รวมถึงองค์ความรู้ด้านธรรมชาติวิทยา พร้อมเป็นศูนย์กลางการศึกษาวิจัย รวบรวมวัสดุอุเทศ เผยแพร่ความรู้และจัดแสดงนิทรรศการด้านธรรมชาติวิทยาของประเทศไทย เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างนักวิชาการ และนักเรียน นักศึกษา ผู้สนใจ และประชาชนโดยทั่วไป เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านอนุกรมวิธาน และสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ของโลกที่มีความสำคัญต่อมนุษย์ต่อไปในอนาคต
😁สาระข้อมูลเพิ่มเติม
👉🏿เพราะเหตุใดถึงมีชื่อคนไทยไปรวมอยู่ด้วย?สำหรับชื่อดังกล่าวที่ถูกตั้งขึ้นมานั้น เกิดขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ ผศ.ดร.รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ
นั่นก็เพราะ ผศ.ดร.รวิน ได้ให้การสนับสนุนการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพแก่เจ้าหน้าที่ของทางพิพิธภัณฑ์อย่างจริงจังมาโดยตลอด
อ้างอิงจาก: wikipedia google และ YouTube