นักวิทยาศาสตร์..ปลุกชีพโรติเฟอร์ ที่ถูกแช่แข็งเอาไว้นานกว่า 24,000 ปีกลับมามีชีวิตและสืบพันธุ์ต่อไปได้
นักวิทยาศาสตร์..ปลุกชีพโรติเฟอร์ที่ถูกแช่แข็งเอาไว้นานกว่า 24,000 ปีกลับมามีชีวิตและสืบพันธุ์ต่อไปได้
📰นี่ก็เป็นข่าวที่น่าตื่นเต้นอีกข่าวหนึ่งนะครับ สำหรับ ธรรมชาติสร้างสรรค์ ที่มนุษย์สามารถปลุกชีพโรติเฟอร์ (Rotifer) สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ถูกแช่แข็งเอาไว้นานกว่า 24,000 ปี ในไซบีเรียเชื่อว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจะสามารถกลับมามีชีวิตและสืบพันธุ์ต่อไปได้หลังถูกแช่แข็ง
📰การคืนชีพอย่างสมบรูณ์ ‘สัตว์โบราณจิ๋ว’ อายุ 24,000 ปี
เมื่อไม่นานนี้นักวิทยาศาสตร์สามารถปลุกชีพโรติเฟอร์ (Rotifer) สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ถูกแช่แข็งเอาไว้นานกว่า 24,000 ปี ในไซบีเรีย
🧔🏻เดิมนั้นนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กจะสามารถกลับมามีชีวิตและสืบพันธุ์ต่อไปได้หลังถูกแช่แข็งไว้ไม่เกิน 10 ปี แต่การค้นพบล่าสุดที่ถูกเผยแพร่ในวารสาร Current Biology เมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า มันอาจกลับมามีชีวิตได้ แม้ถูกแช่แข็งนานกว่านั้นหลายเท่า
ตัวอย่างสัตว์ชนิดถูกนำมาจากดินใต้ชั้นน้ำแข็งของไซบีเรีย เมื่อตัวอย่างถูกนำกลับไปที่ห้องทดลอง จึงได้พบว่าโรติเฟอร์เริ่มการขยายพันธุ์ใหม่และสามารถกินอาหารได้ตามปกติ
👉🏿การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ
จากนิตยสารเนชั่นแนล จีโอกราฟฟิก การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนั้นสามารถมีได้ในสัตว์หลายชนิด ตั้งแต่ผึ้งจนถึงงูหางกระดิ่ง รวมถึงสัตว์หลายชนิดที่คิดไม่ถึงอย่างเช่นปลาฉลามและงูเหลือมก็เช่นกัน
👉🏿ในการสืบพันธุ์ปกตินั้นไข่และอสุจิแต่ละเซลล์จะมีข้อมูลทางพันธุกรรมที่จำเป็นในการกำเนิดสิ่งมีชีวิต แต่ในการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศนั้น ร่างกายจะมีวิธีที่แตกต่างในการเติมยีนส์ ซึ่งส่วนมากมาจากสเปิร์ม รังไข่จะผลิตไข่ผ่านกระบวนการที่แตกต่างออกไปซึ่งเรียกว่าไมโอซิส เซลล์จะทำการจัดระเบียบใหม่ก่อนจะแยกตัวออกไป ไข่พวกนี้จะมีโครโมโซมเพียงครึ่งเดียวของมารดา โดยมีโครโมโซมอย่างละชุด ซึ่งเรียกง่ายๆ ว่าเซลล์เดี่ยว
💦การเกิดผลึกน้ำแข็ง
“ข้อพิสูจน์ที่ดีที่สุดที่ทำให้สัตว์เซลล์เดียวสามารถทนต่อการแช่แข็งได้นานนับหมื่นปีนี้ มาจากอัตราการเผาผลาญที่ลดลงจนแทบจะเหลือศูนย์” – กล่าวโดย Stats Malavin นักวิจัยจากห้องทดลองการแช่แข็งของศูนย์วิทยาศาสตร์ด้านชีวภาพที่รัสเซีย
📰ผลจากการศึกษาโรติเฟอร์ที่ชั้นดินจากอาร์ติกนั้นพบว่าพวกมันสามารถทนต่อการก่อตัวของผลึกน้ำแข็งได้ ทำให้รู้ว่ามันมีกลไกในร่างกายที่ทำให้มันป้องกันร่างกายของมันจากอุณหภูมิที่ต่ำได้
👉🏿โรติเฟอร์เป็นเพียงหนึ่งในสิ่งมีชีวิตจำนวนมากที่ยังมีชีวิตอยู่หลังจากถูกแช่แข็งเป็นเวลาหลายพันปี พยาธิตัวกลมซึ่งเป็นหนอนชนิดหนึ่งได้รับการคืนชีพในปี 2018 หลังจากที่พวกมันถูกนำออกจากดินในไซบีเรียที่มีอายุอย่างน้อย 30,000 ปี
ในทางกลับกัน พวกสัตว์เลี้ยงลุกด้วยนมที่ตายแล้ว เช่น แมมมอธ ถูกค้นพบใต้ดินเหมือนกัน ถึงขนาดจะต่างกันมากก็ตาม ยิ่งสิ่งมีชีวิตมีความซับซ้อนมากเท่าไรการรักษาสภาพก็ยิ่งยากขึ้นเท่านั้น สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยังไม่สามารถแช่แข็งในสภาพแบบพวกสัตว์เซลล์เดียวได้
อย่างไรก็ตาม การย้ายจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวไปยังสิ่งมีชีวิตที่มีสมองและลำไส้นั้น ถึงแม้จะใช้กล้องจุลทรรศน์ก็ยังเป็นอะไรที่ท้าทายและยากกว่ามาก
👨🏭การที่สิ่งชีวิตเซลล์เดียวที่สามารถแช่แข็งตัวเองได้เป็นเวลาหมื่นปีแล้วกลับมามีชีวิตได้ มันเป็นเหมือนความฝันของนักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์หลายคน
📰👉🏿สาระข้อมูลเพิ่มเติม
โรติเฟอร์ (อังกฤษ: Rotifer) เป็นชื่อสามัญของสัตว์ใน ไฟลัมโรติเฟอรา (Rotifera) ซึ่งเป็นกลุ่มของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่มีชื่อสามัญว่าโรติเฟอร์ ส่วนหัวมีขนเซลล์เรียงกันเป็นแผงเรียกว่าโคโรนา มีการพัดโบกของซิเลียดูคล้ายวงล้อหมุน สมมาตรครึ่งซีก มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้นในระยะเอ็มบริโอ มีระบบอวัยวะแบบสัตว์ชั้นสูง มีซีลอมไม่แท้ มีระบบทางเดินอาหารแบบสมบูรณ์ (Complete digestive tract) เป็นพวกแรก ลำตัวยาว โปร่งใส ถ้ามีสีจะมีสีสดใส มีตาเดี่ยวทำหน้าที่รับแสง ระบบสืบพันธุ์แยกเพศกัน ตัวผู้เล็กกว่าตัวเมียเสมอ
บางชนิดมีสารเคลือบผิวหนา คล้ายเป็นเกราะ และมีหนามด้วย เรียกโครงสร้างนี้ว่า ลอริกา มีเท้าสำหรับยึดเกาะ บริเวณคอหอยมีอวัยวะคล้ายฟันเรียกว่า แมสแตกซ์ (Mastax) ตัวอย่างของสัตว์ในไฟลัมนี้ ได้แก่ไรหมุนหรือหนอนจักร มักอยู่กับพืชน้ำในน้ำจืด หรือมอสในน้ำเค็ม หากินอิสระ บางชนิดเป็นปรสิตบนเหงือกของสัตว์จำพวกกุ้ง-กั้ง-ปู
ข้อมูลเบื้องต้น โรติเฟอรา ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: อีโอซีน - ปัจจุบัน, การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ ...
โรติเฟอร์ที่อยู่เป็นโคโลนี
โรติเฟอร์ที่มีเท้าจะเคลื่อนที่ไปตามพื้นท้องน้ำโดยใช้โคโรนาและเท้าคืบคลาน โรติเฟอร์ที่เป็นแพลงก์ตอนใช้โคโรนาเคลื่อนที่เพียงอย่างเดียว โคโรนาทำหน้าที่พัดอาหารเข้าปาก ใช้แมสแตกซ์บดเคี้ยว แล้วจึงส่งเข้าสู่กระเพาะอาหาร การผสมพันธุ์เป็นแบบปฏิสนธิภายใน เมื่อประชากรน้อย
โรติเฟอร์จะสร้างไข่ที่เป็นดิพลอยด์ ซึ่งจะฟักเป็นตัวเมียทั้งหมด จนมีประชากรมากจึงจะสร้างไข่แบบแฮพลอยด์ ที่จะฟักเป็นตัวผู้และตัวเมีย ซึ่งเมื่อเป็นตัวเต็มวัยจึงจะผสมพันธุ์กัน
ไข่ของโรติเฟอร์ที่เกิดจากการปฏิสนธิมีผนังหนา ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ดี โรติเฟอร์บางชนิดอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่นบนมอสหรือทรายได้นาน 3-4 ปี โดยไม่มีการผสมพันธุ์
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย google และ YouTube