หากพบเห็นยุงยักษ์ชนิดนี้ อยู่ในบ้านของท่าน อย่าตบตีหรือฆ่ามัน!!🦟🦟
ยุงยักษ์หรือยุงช้างชนิดนี้คือยุงเป็นยุงสายพันธุ์เก่าแก่ที่ได้สูญพันธุ์ไปแล้วเกือบหมด แต่ยังคงมีให้พบเห็นบ้างในทั่วโลกแค่จำนวนนั้นอาจลดลงกว่าเก่าหลายร้อยเท่านั่นเอง ซึ่งมันนั้นได้มีลักษณะตัวที่ใหญ่กว่ายุงชนิดอื่นๆทั่วไปที่เราได้พบเห็นแล้วตบตีมันToxorhynchites หรือยุงยักษ์, ยุงช้าง เป็นสกุลของยุงที่หากินตอนกลางวัน อาศัยอยู่ในป่า หนึ่งในนี้เป็นยุงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบ โดยมีความยาวได้ถึง 18 มม. และความกว้างจากปีกข้างหนึ่งไปอีกข้างถึง 24 มม.
สกุลนี้เป็นหนึ่งในยุงหลายชนิดที่ไม่กินเลือดเป็นอาหาร ตัวเต็มวัยดำรงชีวิตด้วยสารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่นน้ำหวานบนใบไม้, หรือน้ำยางและน้ำหวานจากพืชที่ต้นเสียหาย, ของเสีย, ผลไม้, และน้ำต้อย
เมื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้และตัวเมียจะปรับการกระพือปีกให้มีความถี่เท่ากัน ตอนวางไข่ ตัวเมียจะบินอยู่เหนือน้ำและหย่อนไข่ไปที่ผิวน้ำ สีของไข่มีอาจเป็นสีเหลืองหรือขาว มีระยะฟักตั้งแต่ 40–60 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ ยิ่งยุงตัวเมียมีอายุมาก ความแข็งแรงสมบูรณ์ของไข่จะน้อยลง
ลูกน้ำของยุงสกุลนี้กินลูกน้ำของยุงชนิดอื่นและเนกตอน (nekton) ที่คล้ายกันเป็นอาหาร แตกต่างจากลูกน้ำของยุงสปีชีส์ที่ดูดเลือดกิน ทำให้ Toxorhynchites เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์ ตัวเต็มวัยของยุงสกุลนี้ไม่มีความจำเป็นต้องดูดเลือด เนื่องจากตอนเป็นลูกน้ำได้กินอาหารที่มีโปรตีนและไขมันสูงสะสมไว้เพียงพอสำหรับการสร้างไข่และไข่แดง ลูกน้ำของ Toxorhynchites splendens พันธุ์ที่อาศัยอยู่ในป่าทึบกินลูกน้ำของยุงชนิดอื่นตามรอยแตกของเปลือกไม้ โดยเฉพาะ Aedes aegypti
นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมเสนอให้นำยุงในสกุล Toxorhynchites ไปปล่อยไว้นอกพื้นที่หากินตามธรรมชาติของมันเพื่อควบคุมการระบาดของไข้เลือดออก ในอดีตเคยมีการทำเช่นนี้มาแล้ว แต่มีข้อผิดพลาดหลายประการ ตัวอย่างเช่น นักวิทยาศาสตร์ตั้งใจจะนำ T. splendens ไปปล่อยในพื้นที่อื่น แต่ว่ากลับเป็นยุง T. amboinensis ซึ่งเป็นยุงสูญพันธุ์แล้วที่ค้นพบจากอำพันสมัยไมโอซีนในเม็กซิโก
ยุง Toxorhynchites rutilus ตัวผู้ขณะเกาะอยู่บนดอกสร้อยทอง
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย