ระบบระบายอากาศ Ventilation System คือ? มีอะไรบ้าง
ระบบระบายอากาศ Ventilation System คือ
ระบบระบายอากาศ (ventilation system) คือ การระบายอากาศภายในอาคารให้เกิดการหมุนเวียนและถ่ายเท โดยตัวอาคารจะมีการออกแบบให้มีช่องลมเข้า-ออก หรือรูระบายอากาศ ช่องเติมอากาศบริสุทธิ์เข้าภายในอาคารโดยตรง และมีการถ่ายเทอากาศให้ระบายออกสู่ภายนอก การระบายอากาศมีทั้งวิธีธรรมชาติและวิธีทางกล การระบายอากาศในบางครั้ง อาจจำเป็นต้องมีการกำจัดฝุ่นหรือมลพิษก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ ซึ่งระบบระบายอากาศต้องอยู่ภายใต้กฎหมายความคุมด้านสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการออกแบบและติดตั้งควรคำนึงให้ครอบคลุมถึงด้านสิ่งแวดล้อมด้วย
ระบบระบายอากาศ (Ventilation System) สำคัญอย่างไร
ระบบระบายอากาศ (Ventilation System) มีความสำคัญอย่างไรนั้น เนื่องจากระบบระบายอากาศในอาคาร มีหน้าที่หลักในการความคุมความร้อน และความชื้น ภายในห้องปรับอากาศให้มีอุณหภูมิที่เหมาะสม ทำให้คนที่อยู่ข้างในมีความรู้สึกสบาย ไม่อึดอัด ทั้งนี้ในอุสาหกรรมต่างๆ ระบบระบายอากาศ สามารถควบคุมสิ่งปนเปื้อนในอากาศ เช่น เชื้อโรค ผุ่นละออง ไอสารเคมี ก๊าซ ควัน เป็นต้น ให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย ยังดักเก็บฝุ่นหรือสิ่งปนเปื้อนในอากาศ ก่อนที่จะปล่อยออกสู่ภายนอกได้ด้วย
อีกทั้งระบบระบายอากาศ ช่วยป้องกันมิให้เกิดอัคคีภัยและการระเบิด จากไอของสารเคมีบางชนิดที่สามารถลุกติดไฟได้ และยังสามารถดักเก็บวัสดุที่ฟุ้งกระจายให้กลับมาใช้ประโยชน์ได้อีก ระบบระบายอากาศจึงมีความสำคัญอย่างมาก ทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อมและบุคลากรที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ช่วยลดการสะสมสิ่งปนเปื้อนในร่างกาย ลดการเจ็บป่วยของบุลากร เมื่อพื้นปฏิบัติงานไม่อึดอัด มีอากาศที่ถ่ายเท หมุนเวียนตลอด จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้มากขึ้นอีกด้วย
อุปกรณ์ในระบบระบายอากาศ (Ventilation System)
อุปกรณ์ในระบบระบายอากาศ (Ventilation System) ประกอบไปด้วยหลายส่วนคือ
- Air Damper
- Air Sweeper
- Exhaust Air Fan
1. Air Damper
Air Damper คือ วาล์วหรือแผ่นปรับปริมาณลมในระบบท่อลมต่างๆ ทำหน้าที่ปิดกั้นอากาศในระบบปรับอากาศไม่ให้ไปยังบริเวณที่ไม่มีการใช้งานหรือปรับปริมาณลมให้มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสมตามห้องนั้นๆ อาจปรับตั้งด้วยคนหรือด้วยระบบอัตโนมัติ สำหรับพื้นที่การทำงานแบบกึ่งปิดหรือพื้นที่แบบปิด จำเป็นต้องมีการติดตั้ง Air Damper เพื่อให้มีอากาศเข้ามาในพื้นที่ ขณะที่พัดลมระบายอากาศทำงาน ซึ่งการเกิดการไหลเข้า-ออกของอากาศนี้ เรียกว่าเป็นการถ่ายเทอากาศนั่นเอง
2. Air Sweeper
Air Sweeper เป็นตัวดักลมที่ส่งมาตามท่อลม เพื่อจัดการทิศทางของลม และยังควบคุมการจ่ายลมไปยังตัวพัดลมระบายอากาศ จ่ายไปยังพื้นที่ที่ต้องการให้มี Air Movement หรือต้องจ่ายลมให้กับพนักงาน โดยผ่าน Air Damper ทั้งนี้ยังสามารถใช้ควบคุมการจ่ายลมของระบบ Exhaust ได้อีกด้วย ช่วยระบบระบายอากาศและการถ่ายเทอากาศในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. Exhaust Air Fan
Exhaust Air Fan คือ พัดลมดูดอากาศออกหรือพัดลมที่ทำหน้าดูดอากาศออกจากพื้นที่ภายในสู่ภายนอกเป็นกระบวนการปรับสภาวะอากาศ พัดลมดูดอากาศช่วยในการระบายอากาศและดูดอากาศ กลิ่น สิ่งปนเปื้อนที่ไม่ต้องการ ออกไปจากพื้นที่ที่ต้องการควบคุม เมื่อมีการใช้งานระบบระบายอากาศ ลมจากภายนอกจะถูกดึงเข้ามาในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ท่อดักลมจะทำหน้าที่รับลมและจ่ายลมไปยังพื้นที่ที่ต้องการ
ขั้นสุดท้ายลมจะถูกดูดออกด้วยพัดลมระบายอากาศ ซึ่งการสร้างสมดุลในการระบายอากาศนี้ ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนอากาศ อากาศถ่ายเทมากยิ่งขึ้น การติดตั้งพัดลมดูดอากาศควรออกแบบให้เหมาะสมกับพื้นที่ เพื่อช่วยในไหลเวียนอากาศภายในพื้นที่ให้เป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ
วิธีการระบายอากาศ
วิธีการระบายอากาศใน ventilation system มีทั้ง การระบายอากาศแบบธรรมชาติ (Natural Ventilation)และการระบายอากาศด้วยเครื่องจักร (Mechanical Ventilation) ดังนี้
การระบายอากาศแบบธรรมชาติ (Natural Ventilation)
การระบายอากาศแบบธรรมชาติ เป็นระบบระบายอากาณที่อาศัยธรรมชาติ คือความดันบรรยากาศที่แตกต่างกันในสองพื้นที่ ทำให้เกิดการถ่ายเทอากาศ โดยความดันบรรยากาศจะเคลื่อนที่จากที่มีความดันบรรยากาศสูงไปยังที่ที่มีความดันบรรยากาศต่ำ
การระบายอากาศด้วยเครื่องจักร (Mechanical Ventilation)
การระบายอากาศด้วยเครื่องจักรหรือวิธีทางกล เป็นอีกระบบระบายอากาศวิธีหนึ่งที่มีการระบายอากาศโดยอาศัยอุปกรณ์หรือเครื่องจักรกลเป็นตัวทำการถ่ายเทอากาศ เช่น พัดลมช่วยดูดและระบายให้อากาศเกิดหมุนเวียน