หน้าแรก ตรวจหวย เว็บบอร์ด ควิซ Pic Post แชร์ลิ้ง หาเพื่อน Chat หาเพื่อน Line หาเพื่อน Skype Page อัลบั้ม คำคม Glitter เกมถอดรหัสภาพ คำนวณ การเงิน
ติดต่อเว็บไซต์ลงโฆษณาลงข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสมเงื่อนไขการให้บริการ
เว็บบอร์ด บอร์ดต่างๆค้นหาตั้งกระทู้

กำเนิดอักษรไทย

โพสท์โดย Jolie

วิวัฒนาการของตัวอักษรไทย

 

    ตัวอักษรไทยในยุคแรกๆสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลจากตัวอักษรอินเดียแต่ยังไม่ปรากฎมีหลักฐานชัดเจนและใช้ตัวอักษรขอมหวัดในยุคที่ขอมเรืองอำนาจในระยะต่อมาเมื่อประมาณปีพ.ศ.1826 พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้นใช้ ที่เรียกว่า "ลายสือไทย" ลายสือไทยที่ทรงประดิษฐ์ขึ้นนี้ได้ดัดแปลงมาจากตัวอักษรขอมโดยพยายามให้ลักษณะของตัวอักษรสามารถเขียนได้ง่ายขึ้น ทรงกำหนดได้วางรูปสระไว้ให้อยู่ในบรรทัดรวมกับตัวพยัญชนะทั้งหมดเช่นเดียวกับแบบอย่างตัวอักษรของโรมันและทรงคิดให้มีวรรณยุกต์กำกับเสียงด้วยอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของภาษาไทย จนถึงทุกวันนี้ พ่อขุนรามคำแหงมหาราชได้ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นเมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖โดยทรงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัดและอักษรไทยเดิมซึ่งดัดแปลงมาจากอักษรมอญและคิดอักษรไทยขึ้นใหม่ให้มีสระและวรรณยุกต์ให้พอใช้กับภาษาไทย และทรงเรียกอักษรดังกล่าว ลายสือไทย ดังมีกล่าวในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงตอนหนึ่งว่า

        “เมื่อก่อนลายสือไทยนี้บ่มี ๑๒๐๕ ศกปีมะแม พ่อขุนรามคำแหงหาใคร่ใจในใจ แลใส่ลายสือไทยนี้ ลายสือไทยนี้จึงมีพ่อขุนรามคำแหงผู้นั้นใส่ไว้…” (ปี ๑๒๐๕ เป็นมหาศักราชตรงกับพุทธศักราช ๑๘๒๖)

          ภาษาเขียนของคนไทยเกิดขึ้นหลังจากที่คนไทยสร้างเมืองของตนเองขึ้นแล้ว คือ สุโขทัย เมื่อปี พ.ศ. ๑๘๒๖ พ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์องค์ที่ ๓ ของเมืองสุโขทัย ทรงจารึกเรื่องตัวหนังสือไทยไว้ในศิลาจารึกสุโขทัยหลักที่ ๑ ตอนหนึ่งว่า เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปี ที่แล้วมาเมืองสุโขทัยของคนไทยนับว่าเป็นเมืองใหม่ในย่านเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนหน้านั้นชนชาติอื่นๆรอบด้านมีการรวมตัวกันเป็นเมืองอยู่ก่อนแล้วและที่เป็นเมืองแล้วต่างก็มีภาษาเขียนเป็นของตนเองทั้งสิ้นเมืองเขมร เมืองมอญเมืองพม่าล้วนมีภาษาเขียนของตนเองก่อนคนไทยในยุคนั้นและก่อนหน้านั้นเท่าที่ปรากฏในอินเดีย ลังกา และในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การจารึกเรื่องของการปกครองเมือง ศาสนา และประชาชน นับเป็นประเพณีนิยมของกษัตริย์ทั่วไป เมื่อกษัตริย์พระองค์ใหม่ขึ้นปกครองเมือง เมื่อมีการทำสงคราม การทำบุญครั้งใหญ่หรือเมื่อมีเหตุการณ์สำคัญๆเกิดขึ้นในเมืองก็เป็นประเพณีของกษัตริย์ที่จะทรงบันทึกเรื่องราวไว้ในอินเดียและลังกา มีการเก็บบันทึกจารึกต่างๆทั้งของวัดและกษัตริย์นับได้เป็นจำนวนแสนประเพณี การจารึกเรื่องราวนี้ได้แพร่หลายมาถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยและในย่านนี้จารึกโบราณมีทั้งภาษาบาลีสันสกฤต และต่อมาก็มีจารึกเป็นภาษาของคนพื้นเมืองด้วยคนไทยคงจะใช้ตัวอักษรอื่นที่ใช้แพร่หลายกันอยู่ในย่านนั้นมาก่อน ซึ่งมีทั้งอักษรมอญและขอมแต่เมื่อคนไทยมีเมืองเป็นของตนเองมีกษัตริย์ไทยเองแล้วแรงผลักดันที่จะต้องมีตัวอักษรของตนเองเพื่อบันทึกเรื่องราวของกษัตริย์และเมืองตามประเพณีอยู่ในขณะนั้นก็ย่อมเกิดขึ้นการใช้ภาษาของไทยเองย่อมจะทำให้เมืองไทยมีฐานะเท่าเทียมกับเมืองอื่นๆที่มีอยู่ก่อนแล้ว เราอาจนับว่าการเป็นเมืองและประเพณีการจารึกเรื่องราวของกษัตริย์และเมือง เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้เกิดการประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น

          ตัวอักษรที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้เป็นตัวเขียนที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาจากลายสือไทยที่พ่อขุนรามคำแหงทรงประดิษฐ์ขึ้นเมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีที่แล้ว เข้าใจว่าคงจะได้เปรียบเทียบหรือปรับปรุงจากตัวอักษรที่มีใช้อยู่ในบริเวณใกล้เคียงตัวหนังสือในปัจจุบันแตกต่างไปจากสมัยสุโขทัยมากแต่ระบบของตัวพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ยังคงเดิม

          อักษรไทยมีใช้มานานประมาณ ๗๐๐ ปีแล้วจึงเป็นธรรมดาที่จะมีลักษณะแตกต่างไปจากภาษาในปัจจุบันทั้งในด้านการเขียนและการแทนเสียงและเพราะเหตุว่าตัวเขียนไทยเป็นตัวอักษรแทนเสียงระบบภาษาเขียนจึงเป็นเสมือนบันทึกของลักษณะเสียงของภาษาไทยเมื่อสมัยประมาณ ๗๐๐ ปี มาแล้วได้เป็นอย่างดี นักภาษาศาสตร์สามารถใช้วิธี การที่เป็นวิทยาศาสตร์อธิบายให้เห็นว่าเสียงของภาษาในสมัยสุโขทัยต่างไปจากเสียงในสมัยอยุธยาและสมัยรัตนโกสินทร์  ลักษณะอักษรไทยสมัยพ่อขุนรามคำแหง

     ๑. อักษรสมัยพ่อขุนรามคำแหงดัดแปลงมาจากอักษรขอมหวัด มีดังนี้คือ ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ญ ฎ ฐ ณ ต ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ศ ษ ส ห และได้เพิ่มพยัญชนะและวรรณยุกต์ให้พอกับภาษาไทยในสมัยนั้น ได้แก่ ฃ ฅ ซ ฎ ด บ ฝ ฟ อ และวรรณยุกต์เอก และโท

  ๒. สระและพยัญชนะเขียนเรียงอยู่ในบรรทัดเดียวกัน และสูงเสมอกัน เขียนสระไว้หน้าพยัญชนะ ยกเว้น สระอะ สระอาเขียนอยู่ข้างหลัง ส่วนวรรณยุกต์เขียนไว้ข้างบน

     ๓.สระอะเมื่อมีตัวสะกด ใช้พยัญชนะซ้อนกัน เช่น น่งง (นั่ง) ขบบ (ขับ)

     ๔.สระเอีย ใช้ ย แทน เช่น สยง (เสียง) ถ้าไม่มีตัวสะกดใช้สระอี โดยไม่มีไม้หน้า

     ๕.สระอัว ที่ไม่มีตัวสะกด ใช้ วว เช่น ตวว (ตัว)

     ๖.สระอือและสระออที่ไม่มีตัวสะกด ไม่ใช้ อ เช่น ชี่ (ชื่อ) พ่ (พ่อ)

     ๗.สระอึ ใช้สระอิและสระอีแทน เช่น ขิ๋น (ขึ้น) จี่ง (จึ่ง)

     ๘.ตัว ม ที่เป็นตัวสะกดใช้นฤคหิต เช่น กลํ (กลม)

      ฯลฯ

             อักษรไทยของพ่อขุนรามคำแหง ใช้แพร่หลายในเขตล้านนา ล้านช้างและกรุงศรีอยุธยา ต่อมาชาวล้านนาและชาวล้านช้างเลิกใช้อักษรไทยสมัยกรุงสุโขทัยและใช้อักษรของพวกลื้อ ซึ่งเป็นอักษรไทยพวกหนึ่งแทน ส่วนกรุงศรีอยุธยายังคงใช้อักษรไทยและดัดแปลงแก้ไขมาเป็นระยะ ๆ จนเป็นเช่นอักษรไทยปัจจุบัน

ขอบคุณเนื้อหา และสามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่: http://www.bloggang.com/data/b/bongvoyagu/picture/1347209424.jpg
⚠ แจ้งเนื้อหาไม่เหมาะสม 
Jolie's profile


โพสท์โดย: Jolie
เป็นกำลังใจให้เจ้าของกระทู้โดยการ VOTE และ SHARE
15 VOTES (5/5 จาก 3 คน)
VOTED: ไปเซเว่นเอาอะไรไหม๊, เป็ดปักกิ่ง, Jolie
Hot Topic ที่น่าสนใจอื่นๆ
นอนกรนหายได้ ไม่รบกวนใคร! กับ 5 วิธีแก้ไขแบบธรรมชาติย้อนดูคลังรถ "ฟิล์ม รัฐภูมิ" 50 คัน แต่ละคันไม่ธรรมดา! คนขอซื้อ 14 ล้านยังไม่ขายรีวิวหนังดัง MEG 2 :THE TRENCH อภิมหาโคตรหลามร่องนรก"ขนนกเหลือง" ไม่ใช่นกนะ
Hot Topic ที่มีผู้ตอบล่าสุด
แกรมมี่ต้อนรับ'หมูเด้ง'สู่ค่ายอย่างเป็นทางการ!แก๊งบิ๊กไบค์ออกทริปเต็มถนน ติดธงประเทศเพื่อนบ้าน แช่ขวาขวางถนน.ไม่สนโลก"ความยิ่งใหญ่ของนักรบอังกอร์โบราณแห่งกัมพูชา : ชุดเกราะที่สะท้อนประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม""หมูเด้ง" ฮิปโปฯน้อย สู่เส้นทางซุปตาร์ เดบิวต์เพลงสามช่า โกอินเตอร์ 4 ภาษา!ย้อนดูคลังรถ "ฟิล์ม รัฐภูมิ" 50 คัน แต่ละคันไม่ธรรมดา! คนขอซื้อ 14 ล้านยังไม่ขาย
กระทู้อื่นๆในบอร์ด สาระ เกร็ดน่ารู้
ข้าวบูดอย่าพึ่งทิ้ง ใช้ทำปุ๋ยจุลินทรีย์ บำรุงผักให้โตไวไล่หอยทากด้วยเปลือกไข่คั่วด้วยฝนแรกของเดือนตุลาคม ทะเลทรายอาตากามา ที่ขึ้นชื่อว่าแห้งแล้งที่สุดในโลก ดอกไม้กลับเริ่มเบ่งบานนอนกรนหายได้ ไม่รบกวนใคร! กับ 5 วิธีแก้ไขแบบธรรมชาติ
ตั้งกระทู้ใหม่