เว็ปไซต์คืออะไร หนึ่งในเครื่องมือที่ไม่มีใครไม่รู้จักในทุกวันนี้
เว็ปไซต์ เป็นเครื่องมืออย่างนึงที่ใช้กันอย่างแพร่หลายและเป็นที่ยอมรับกันอย่างเป็นวงกว้าง หน้าที่หลักของเว็ปไซต์มีไว้เพื่อการเผยแพร่ข้อความหรือให้ข้อมูลต่างๆให้กันผู้ใช้งานบนหน้าเว็ปไซต์ เพื่อให้ผู้ใช้งานเว็ปไซต์เหล่านั้นได้ทราบข้อมูลต่าางๆ อาธิเช่น ข่าวสาร ข้อมูลทางการศึกษา ข้อมูลทางการตลาด เว็ปไซต์นิยมใช้กัยอย่างแพร่หลากเนื่องจาก การใช้งานที่เข้าถึงได้รวดเร็ว และเราสามารถรับข้อมูลที่อ้างอิงได้จากหลากหลายที่ โดยบทเราจะแนะนำการจำแนกประเภทของเว็ปไซต์ต่างๆบนอินเตอร์เน็ตผ่านนามสกุลโดเมนเว็ปไซต์เองเพื่อเป็นตัวเลือกในการเข้าใช้งานในหน้าเว็ปไซต์นั้นๆ รวมไปถึงหลักการออกแบบเว็ปไซต์แบบคร่าวๆเพื่อให้ผ่านอ่านสามารถเข้าใจหลักการทำงานของเว็ปไซต์ได้ดียิ่งขั้น
เว็ปไซต์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อการสิ่งที่เราต้องการ
เว็บไซต์ คือ ชุดข้อมูลที่ปรากฏณ์ขึ้นมาหลังจากเราทำการเปิด Web Browser ขึ้นมาและระบุ URL ของเว็ปไซต์ อาธิเช่น Facebook Google Shopee โดยเว็ปไซต์จต่างๆจะรวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกันและนำข้อมูลเหล่านั้นมาวางไว้บนอินเตอร์เน็ต ซึ่งการระบุชื่อเว็ปไซต์จะกำหนดด้วยชื่อโดเมนและเผยแพร่บนเว็บเซิร์ฟเวอร์
ตัวอย่างของเว็บไซต์ที่มีชื่อเสียงที่เรารู้จักกันดี ได้แก่ Google, Facebook, Amazon และ Wikipedia หน้าที่หลักของเว็ปไซต์เหล่าคือการให้ข้อมูลเพื่อมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป อย่างเช่นเว็ปไซต์ขายของแบบ Amazon ที่ให้ข้อมูลสินค้าบนหน้าเว็ปไซต์ จุดประสงค์เพื่อการขายสินค้า รวมไปถึง Facebook ที่ให้ข้อมูลเราผ่านบุคคลต่างๆที่ใช้งานของเว็ปไซต์ผ่านทางการ Interact ของเหล่าผู้ใช้งานนั้นๆ
เว็บไซต์ที่เข้าถึงได้ทั่วไปจะเรียกได้ว่าเว็ปไซต์แบบสาธารณะ โดยเมื่อเว็ปไซต์ทั้งหมดรวมกัน เราจะเรียกมันว่าเวิลด์ไวด์เว็บ นอกจากนี้ยังมีเว็บไซต์ส่วนตัว ซึ่งเว็บไซต์ส่วนตัวสามารถเข้าถึงได้บนเครือข่ายส่วนตัวเท่านั้น เช่น เว็บไซต์ภายในของบริษัทสำหรับพนักงาน
ประวัติเว็ปไซต์
เว็ปไซต์เกิดขึ้นจากนักวิทยาศาสตร์จากห้องทดลองของสถาบัน CERN ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จากนายเบิร์นเนอร์ส-ลี ที่ได้สร้างระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าไฮเพอร์เท็กซ์ (hypertext) ซึ่งผลที่ได้ทำให้มีการสร้างโพรโทคอลแบบ HTTP ขึ้น
เพื่อใช้ในการส่งสารสนเทศต่างๆ โดยจะถูกจัดอยู่ในรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า HTML (HyperText Markp Language) ซึ่งการสื่อสารและการสืบค้นสารสนเทศในรูปแบบใหม่นี้ทำให้มนุษย์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ประเภทของเว็ปไซต์
เรามาทำความรู้จักกับประเภทของเว็ปไซต์ในปัจจุจันกันดีกว่า โดยประเภทของเว็ปไซต์จะแบ่งตามจุดประสงค์ของเว็ปไซต์นั้นๆ โดยเว็ปไซต์ในปัจจุบันสามารถแบ่งได้ 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
E-Commerce
เว็ปไซต์ประเภทธุจกิจขนาดใหญ่ (Business) ธุจกิจขนาดเล็ก (E - commerce)
จุดประสงค์เว็ปไซต์ประเภทธุจกิจเพื่อแจ้งลูกค้าที่คาดหวังและผู้บริโภคเกี่ยวกับธุรกิจของคุณและดึงดูดให้พวกเขาร่วมงานกับคุณ เว็ปไซต์ประเภทนี้จุดมุ่งเน้นในการอธิบายสินค้า และ บริการ หรืออาจจะเป็นบอกถึงประวัติและข้อมูลเบื้องต้นของบริษัท เว็ปไซต์จุดประสงค์เว็ปไซต์ประเภทธุจกิจขนาดเล็กเพื่อเพื่อขายสินค้าออนไลน์ด้วยวิธีขายปลีกทั่วไป การแสดงข้อมูลของเว็ปไซต์แบบี้คือแสดงรูปภาพคุณภาพสูงไม่ว่าจะเป็นของมูลธุจกิจหรือรูปหน้าสินค้าบนเว็ปไซต์ รวมไปถึงฟังค์ชั่นในการชำระเงิน /ธุรกรรมที่ปลอดภัย (Payment Gateway) และยังมีฟังค์ชั่นการปรับแต่งบัญชีภายในเว็ปไซต์
Blog Post
เว็ปไซต์ประเภท Blog และ ข่าวจุดประสงค์เว็ปไซต์ให้ความรู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน เพื่อแสดงบทความรวมไปถึงการจัดหมวดหมู่การจัดหมวดหมู่หรือแท็กเพื่อความสะดวกในการเรียกดูบทความต่างๆบนหน้าเว็ปไซต์
Service
เว็ปไซต์แบบผู้ให้บริการออนไลน์ ( Service provider ) จะเห็นเว็ปไซต์ที่ให้บริการต่างๆบนหน้าเว็ปไซต์เช่นบริการ Netflix, Google, etc. โดยเว็ปไซต์พวกนี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอบริการออนไลน์ที่สมบูรณ์ เช่น การสตรีมหรือเครื่องมือออนไลน์ เช่น เสิร์ชเอ็นจิ้น เครื่องตรวจตัวสะกด โปรแกรมแก้ไขรูปภาพ หรือนักแปล โดยมีฟีเจอร์ที่เห็นได้ทั่วไปบนเว็ปไซต์เหล่านี้คือเข้าถึงเครื่องมือการมีตัวเลือกการชำระเงินสำหรับการสมัครสมาชิก และฟังค์ชั่นการปรับเปลี่ยนบัญชี เว็ปไซต์เหล่านี้ยังรวมไปถึงเว็ปไซต์แบบ Single Page Website และ Sale Page Website ที่สร้างเพื่อโปรโมทเว็ปไซต์ต่างๆบนอินเตอร์เน็ต เว็ปไซต์เหล่านี้จะเป็นการโปรโมทบริษัทต่างๆบนโลกออนไลน์ เพื่อให้คนทั่วไปค้นหาและเข้าถึงได้ง่าย
Platform การสร้างเว็ปไซต์ โดยหลักๆมีประมาณนี้
Wordpress
WordPress เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปที่ใช้สร้างและจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ประเภท Contents Management System หรือเรียกย่อๆ ว่า "CMS" ซึ่งเขียนด้วยภาษา PHP และใช้ระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL โดยมีส่วนประกอบหลักๆ คือ
1.WordPress Core เป็นซอฟแวร์หลัก ใช้จัดการเว็บไซต์ เนื้อหาและบทความต่างๆ
2.Theme เป็นส่วนที่กำหนดดีไซน์หรือรูปแบบการแสดงผล
3.Plugin เป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับ WordPress เช่น ระบบสร้างหน้าเว็บไซต์ ระบบจัดการสินค้า
Wix
Wix เป็นเว็บสำหรับทำเว็บที่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านภาษา php หรือภาษาในการเขียนเว็บ ซึ่ง wix มีทั้งแบบฟรีหรือแบบเสียเงิน โดยแบบฟรีนั้นจะไม่สามารถเปลี่ยนชื่อโดเมนได้ หากเป็นแบบเสียเงินสามารถเปลี่ยนชื่อโดเมนได้หรือเป็นโดนเมนที่เราเคยมีก็ได้ รูปแบบการเสียเงินนั้นจะมีแบบเสียรายเดือนในราคาที่ต่างกันออกไปให้เลือกตามความต้องการของเราเอง
Joomla
Joomla เป็นระบบบริหารจัดการเว็บไซต์ หรือ Web CMS (Web Content Management System) แบบ Open Source อีกตัวหนึ่งที่ได้รับความนิยม และใช้งานกันแพร่หลายในปัจจุบัน Joomla พัฒนาเว็ปไซต์โดยใช้ภาษา PHP และใช้ฐานข้อมูล MySQL ซึ่งเราสามารถที่จะ Download มาใช้งานได้ฟรี
Sitebuilder
บริการสร้างเว็ปไซต์โดยไม่จำเป็นต้องเขียนโค้ดเอง Sitebuilder สามารถสร้างเว็บไซต์ตามรูปแบบที่คุณต้องการ หรือ เลือกจากรูปแบบสำเร็จรูปที่บนโปรแกรมจัดเตรียมไว้ให้แล้ว เราสามารถปรับเปลี่ยน เรียกดูรูปแบบใหม่ ๆ ได้ตลอดเวลา โดยไม่สูญเสียเนื้อหาของเว็บไซต์ รูปแบบสำเร็จรูปที่เรามีให้เลือกจะมีทั้งภาพและเนื้อหาตัวอย่างให้พร้อมใช้งาน ดังนั้นคุณจึงสามารถเผยแพร่เว็บไซต์ได้อย่างรวดเร็ว
โดเมนเว็ปไซต์ และ URL คืออะไร
โดเมนเว็ปไซต์ คือ ชื่อของเว็บไซต์ ที่ชื่อจำเป็นต้องอยู่หลังสัญลักษณ์ @ โดเมนเว็ปไซต์ใช้ในการระบุเว็บไซต์และที่อยู่อีเมล โดยเรามาทำความเข้าชื่อโดเมนกันดีกว่า
.gov คือ เป็นโดเมนระดับสูงที่ได้รับการสนับสนุน (STLD) ในระบบชื่อโดเมนของอินเทอร์เน็ตชื่อนี้ได้มาจากคำว่า รัฐบาล ซึ่งกล่าวได้ว่าโดเมนนี้ถูกใช้งานและจัดการโดยหน่วยงานของรัฐ
.edu คือ ป็นหนึ่งในชื่อโดเมนระดับสูงที่สามารถใช้ได้เมื่อเลือกชื่อโดเมน โดยทั่วไปจะอธิบายถึงนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของชื่อโดเมนว่าเป็นวิทยาลัยสี่ปีหรือสถาบันการศึกษา
.org ย่อมาจาก องค์กร และมักใช้สำหรับเว็ปไซต์องค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร บางครั้งยังใช้สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่จำเป็นต้องแสวงหาผลกำไร แต่ให้ข้อมูลและแหล่งข้อมูลฟรีแก่สาธารณะ เช่น ห้องสมุดสาธารณะ
.com คือ โดเมนระดับสูงที่เรามักจะเห็นทั่วไปโดย .com ย่อมาจาก commercial จุดประสงค์หลักของเว็ปไซต์แบบนี้คือเว็ปไซต์แสวงผลกำไร
ส่วน URL คือ ที่อยู่เว็บแบบสมบูรณ์ที่ใช้ค้นหาหน้าเว็บที่เฉพาะเจาะจง ขณะที่โดเมนคือชื่อของเว็บไซต์ URL จะเป็นสิ่งที่นำไปยังหน้าใดหน้าหนึ่งภายในเว็บไซต์ ทุก URL จะประกอบด้วยชื่อโดเมนและองค์ประกอบอื่นๆ ที่จำเป็นในการค้นหาหน้าเว็บหรือเนื้อหาที่เจาะจง
การออกแบบ เว็ปไซต์
ในการออกแบบและจัดทำเว็ปไซต์จะต้องคำนึงถึง UX / UI โดยเราจะมาทำการเข้า UX กันก่อน UX ย่อมาจาก User experience ซึ่งจะหมายถึงประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ UX นั้นเกี่ยวข้อกับการเข้าใจในการทำงานของเว็ปไซต์ของเรา ยิ่งเว็ปไซต์เข้ากับการทำงานของ UX มากเท่าไหร่ ผู้ใช้หรือ User จะเข้าถึงสิ่งที่ผู้จัดทำเว็ปไซต์ต้องการมากเท่านั้น
ส่วน UI คือ User Interface เป็นรูปแบบหน้าต่างการทำงานของเว็ปไซต์ว่าสอดคล้องกับ UX รึป่าวเพื่อให้ผู้ใช้งานหรือ User อยู่บนหน้าเว็ปไซต์ของเราได้นานๆ โดย UI ที่ดีจำเป็นต้องมีการจัดวางตามพฤติกรรมการให้งานของมนุษย์