ผลวิจัยชี้ มนุษย์ไม่สามารถหลับจำศีลยาวนาน แบบในหนังได้ เสี่ยงทำให้เสียชีวิตในการเดินทางสู่ห้วงอวกาศลึกที่ยาวนาน
ผลวิจัยชี้ มนุษย์ไม่สามารถหลับจำศีลยาวนาน แบบในหนังได้ เสี่ยงทำให้เสียชีวิตในการเดินทางสู่ห้วงอวกาศลึกที่ยาวนาน
🙄สำหรับความเป็นจริงนะครับ ....ไม่จำเป็นจะต้องวิจงวิจัยอะไรทั้งสิ้น ...คุณเคยเห็นกบจำศีลไหม สภาพร่างกายสรีระของกบกับ สรีระร่างกายของมนุษย์มันก็แตกต่างกันอยู่ แล้วกบสามารถจะจำศิลได้หลับยาวเพื่อรักษาพลังงานของตัวเองในสภาวะอากาศที่แห้งแล้งหรือหากินไม่ได้ ส่วนมนุษย์คงทำไม่ได้เหมือนกบแน่นอนเพราะสภาพร่างกาย แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงอันนี้เป็นความคิดตรรกะแบบง่ายๆครับ
อ่านรายละเอียดกันเลยดีกว่า
👉🏿ล่าสุด ทีมวิจัย จากมหาวิทยาลัยปอนติฟิคัลคาทอลิก (PUC) และสถาบันสหัสวรรษเพื่อชีววิทยาบูรณาการ (iBio) ของประเทศชิลี เผยผลการศึกษาว่า กลไกการเผาผลาญของร่างกายมนุษย์ไม่อาจประหยัดพลังงานได้เพียงพอ จนเสี่ยงทำให้เสียชีวิตในการเดินทางสู่ห้วงอวกาศลึกที่ยาวนานเกินกว่า 12 ปีขึ้นไปได้
ทีมผู้วิจัยได้คำนวณและเปรียบเทียบอัตราการเผาผลาญใช้พลังงานหรือเมตาบอลิซึม (metabolism) ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดน้อยใหญ่ ชนิดต่างๆ ซึ่งพวกเขาพบว่า สัตว์ที่ตัวเล็กสามารถประหยัดพลังงานจากการจำศีลได้มากกว่าสัตว์ตัวใหญ่อย่างมหาศาล
ตัวอย่างเช่น หนูขนาดจิ๋วพันธุ์ “มอนิโต เดล มอนเต” (Monito del monte) ของอเมริกาใต้ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าฝ่ามือคน สามารถประหยัดพลังงานขณะจำศีลได้ถึง 76% ในขณะที่หมีกริซลีหนัก 180 กิโลกรัม ไม่อาจประหยัดพลังงานขณะหลับจำศีลได้เลย ทั้งยังสูญเสียพลังงานที่สะสมไว้หรือขาดทุนติดลบไปถึง 124% ด้วย
นี่จึงเป็นข่าวร้ายสำหรับแนวคิดที่จะให้มนุษย์หลับจำศีลเพื่อท่องอวกาศอีกด้วย โดยในระหว่างที่มนุษย์หลับจำศีลนั้น จะต้องสูญเสียไขมันในร่างกายไปวันละ 6.3 กรัม
เพื่อคงระดับการเผาผลาญขั้นต่ำให้ร่างกายทนอยู่ในภาวะหนาวเย็นและออกซิเจนต่ำได้ แต่หากต้องเดินทางยาวนานกว่า 12 ปีขึ้นไป จะทำให้สูญเสียมวลกายจนถึงขั้นวิกฤตและเสียชีวิตได้ อย่างไรก็ตามในอนาคตอาจมีแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องของการใช้พลังงานในร่างกายให้มีประสิทธิภาพได้
ข้อมูลเพิ่มเติม
สถานะจำศีลหรือโคม่ามาก การหลับเป็นสถานะที่มีแอแนบอลิซึมเพิ่มขึ้น โดยเน้นการเจริญเติบโตและการฟื้นฟูระบบภูมิคุ้มกัน ประสาท กระดูกและกล้ามเนื้อ การหลับพบในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด นกทุกชนิด และสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก และปลาหลายชนิด
เด็กกำลังหลับ
ความมุ่งหมายและกลไกของการหลับยังไม่ชัดเจนทั้งหมด และยังเป็นหัวข้อของการวิจัยอย่างจริงจัง มักคิดกันว่า การหลับช่วยรักษาพลังงาน แต่แท้จริงกลับลดเมแทบอลิซึมเพียง 5-10% สัตว์ที่จำศีลต้องการหลับ แม้ว่าภาวะเมแทบอลิซึมต่ำจะพบได้ในการจำศีล และต้องเปลี่ยนกลับจากภาวะตัวเย็นเกินมาเป็นอุณหภูมิปกติของร่างกายก่อนจึงจะหลับได้ ทำให้การหลับ "มีราคาทางพลังงานสูง"..
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ google