อึ่ง!! ประชาชน1ใน3ของประเทศส่วนใหญ่ เคยเข้าเกณฑ์ความผิดปกติทางจิต ส่วนในไทยเกิดจากอะไร
ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประชาชนกว่าหนึ่งในสามในประเทศส่วนใหญ่รายงานปัญหาที่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของเขา ซึ่งเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยประเภทความผิดปกติทางจิตที่พบทั่วไปหนึ่งชนิดหรือมากกว่า
โดยที่องค์การอนามัยโลกได้ประกาศปรับปรุงแก้ไขการจำแนกประเภทของความผิดปกติทางจิตใจ กล่าวโดยย่อแบ่งความผิดปกติทางจิตใจ ออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ
โรคจิต
เป็นความผิดปกติของจิตใจซึ่งการทำงานของจิตใจเสียหน้าที่ไปอย่างเห็นได้ชัดเจน จนทำให้บุคคลนั้นไม่สามารถดำเนินชีวิตอย่างปกติ ประกอบด้วยอาการทั่วไป 3 ประการ คือ
1) บุคลิกภาพเดิมของผู้ป่วยเปลี่ยนไป
2) ไม่อยู่ในโลกของความเป็นจริง เช่น มีอาการประสาทหลอน ได้ยินเสียงคนด่าตลอดเวลา ทั้งๆ ที่ในขณะนั้นไม่มีใครด่าเขาเลย หลงผิดว่ามีคนคิดร้ายและกำลังตามฆ่าเขา
3) ไม่รู้สภาวะตนเอง
โรคประสาท
โรคประสาทเป็นความผิดปกติ หรือความแปรปรวนทางจิตใจ อาการต่างๆ ที่ปรากฏคือ กังวล ย้ำคิด ย้ำทำ เหนื่อยง่ายฯลฯ อาการเหล่านี้ไม่ทำให้ผู้ป่วยสูญเสียความสามารถในการทำงาน
หรือการเข้าสังคมอย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วนมากจะหยั่งเห็นสภาพของตนหรือรู้สภาวะของตนเอง รู้ว่าจนไม่สบายใจ หงุดหงิด และกลุ้มใจต้องการให้แพทย์หรือคนอื่นช่วยเหลือ
ปัญญาอ่อน ปัญญาอ่อน หมายถึง การมีระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ
ในไทยตอนนี้ก็มีข่าวอาชญากรรมที่เกิดผู้ป่วยทางจิต รวมไปถึง ผู้ป่วยทางจิตที่เกิดสารเสพติดมีให่เห็นรายวัน ไม่นับร่วมกรณีอื่นๆ ที่สุดท้ายต้องจบชีวิตตนเอง
ความผิดปกติทางจิต หรือ การป่วยทางจิต หรือ จิตพิการ เป็นรูปแบบทางจิตวิทยาหรือวิกลภาพ ซึ่งอาจสะท้อนออกมาทางพฤติกรรม ที่โดยทั่วไปเกี่ยวข้องกับความทุกข์ทรมาน หรือความพิการ และไม่ถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของพัฒนาการปกติของวัฒนธรรมของบุคคล
ความผิดปกติทางจิตโดยทั่วไปนิยามโดยการรวมว่าบุคคลรู้สึก กระทำ คิดหรือรับรู้อย่างไร ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับบริเวณใดบริเวณหนึ่งหรือการทำหน้าที่ของสมองหรือระบบประสาทส่วนที่เหลือ มักในบริบททางสังคม การยอมรับและการเข้าใจภาวะสุขภาพจิตเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาและวัฒนธรรม และยังมีข้อแตกต่างในการนิยาม ประเมินและจำแนกอยู่บ้าง
แม้เกณฑ์แนวปฏิบัติมาตรฐานจะใช้กันอย่างกว้างขวางก็ตาม ในหลายกรณี ดูเหมือนจะมีความต่อเนื่องระหว่างสุขภาพจิตและการป่วยทางจิต ทำให้การวินิจฉัยซับซ้อน ตามข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประชาชนกว่าหนึ่งในสามในประเทศส่วนใหญ่รายงานปัญหาที่เกิดขึ้นช่วงใดช่วงหนึ่งในชีวิตของเขา ซึ่งเข้าเกณฑ์การวินิจฉัยประเภทความผิดปกติทางจิตที่พบทั่วไปหนึ่งชนิดหรือมากกว่า
สาเหตุของความผิดปกติทางจิตมีหลากหลายและไม่ชัดเจนในบางกรณี และหลายทฤษฎีอาจรวมเอาการค้นพบจากหลายสาขาเข้าด้วยกัน
แต่ที่พบบ่อยและมีข้อมูลชัดเจนคือ
ปัจจัยภายใน เป็นความผิดปกติทางสมอง และระดับสารเคมีในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สารสื่อประสาทโดปามีน ที่ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการคิดและการรับรู้ที่นำไปสู่การเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ หากสมองและสารสื่อประสาทได้รับความกระทบกระเทือน อาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้
อาจเกิดจากความผิดปกติทางจิตหรือทางบุคลิกภาพ เช่น ป่วยเป็นโรคจิตเภท ทำให้มีอาการหลงผิดและประสาทหลอน ป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์สองขั้ว ที่ทำให้มีอาการซึมเศร้าหรืออารมณ์ดีสุดขีด มีความเครียด ความวิตกกังวลอย่างหนัก หรืออยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง
ปัจจัยภายนอก
การใช้ยาหรือการได้รับสารเคมีใด ๆ เข้าสู่ร่างกายในทางที่ผิด หรือในปริมาณที่เกินพอดี อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการโรคจิตได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพยาเสพติดอย่างโคเคน ยาบ้า (Amphetamine) ยาไอซ์ (Methamphetamine) ยาอี (MDMA: Ecstasy) ยาเค (Ketamine) หรือกัญชา เป็นต้น หากผู้ป่วยหยุดใช้สารดังกล่าวข้างต้นหลังจากใช้ติดต่อกันมาเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดอาการโรคจิตได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในอาการถอนพิษยา
แต่ในบางครั้งอาการโรคจิตอาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยารักษาบางชนิดได้ หรืออาจเกิดจากการใช้ยาเกินขนาดได้เช่นกัน