ทราบหรือไม่ว่า..อาการหาวนอนตามกันเป็นวิวัฒนาการของสัตว์สังคม กระตุ้นสมองให้ตื่นตัวเพื่อช่วยกันเฝ้าระวังภัย
คุณเคยมีอาการแบบนี้ไหมเวลาคุณง่วงนอนแล้วคุณมีอาการหาวในขณะที่กำลังอยู่รวมหลายๆคนอื่นๆก็จะมีอาการหาวตามๆกันไปคล้ายๆกับพฤติกรรมเลียนแบบ เหมือนกับบางกรณี เช่นอีกตัวอย่างหนึ่งเวลาคุณหัวเราะแล้วก็จะมีคนอื่นหัวเราะตามๆคุณนี่เป็นปฏิกิริยาบางอย่างทางความรู้สึกแต่วันนี้เราจะเน้นเรื่องการ
อาการอ้าปากหาว หลายคนอาจเคยสังเกตพบว่า เวลาที่เราอ้าปากหาวนั้นไม่ได้รู้สึกง่วงนอนไปเสียทุกครั้ง สาเหตุที่ทำให้หาวอาจมาจากปัจจัยทางกายภาพอื่น ๆ รวมทั้งอาการ "หาวตามกัน" เมื่อเห็นคนหรือแม้กระทั่งสัตว์ต่าง ๆ อ้าปากหาวก่อน โดยเป็นพฤติกรรมอัตโนมัติที่ส่งต่อกันได้เหมือนกับโรคติดต่อไม่มีผิด
แต่เราจะมาเน้นเรื่องอาการหาวนอนตามกัน
ทราบหรือไม่ว่า..อาการหาวนอนตามกันเป็นวิวัฒนาการของสัตว์สังคม กระตุ้นสมองให้ตื่นตัวเพื่อช่วยกันเฝ้าระวังภัย
ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบชัดว่า สาเหตุของอาการหาวตามกันคืออะไรกันแน่ แต่ล่าสุดดร. แอนดรูว์ แกลลัป นักชีววิทยาวิวัฒนาการจากสถาบันโพลีเทคนิคของมหาวิทยาลัย State University of New York (SUNY) ได้สำรวจวิเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้องในอดีตจำนวนมาก ก่อนจะเสนอถึงความเป็นไปได้ว่า อาการหาวตามกันที่พบในคนและสัตว์มีกระดูกสันหลังเกือบทุกชนิด อาจเป็นผลมาจากวิวัฒนาการของสัตว์สังคมก็เป็นได้
ผลการศึกษาของดร. แกลลัป ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Animal Behavior ระบุว่า แม้เดิมทีนักวิทยาศาสตร์จะมองการหาวเป็นพฤติกรรมทางกายภาพส่วนบุคคล ซึ่งกล้ามเนื้อรอบขากรรไกรและกะบังลมจะเกร็งตัวโดยอัตโนมัติ เพื่อให้สูดหายใจลึกรับออกซิเจนเข้าไปเพิ่มส่วนที่ขาดแคลนในร่างกาย แต่งานวิจัยใหม่ ๆ กลับชี้ว่า การหาวคือความพยายามปรับสมดุลอุณหภูมิในระบบไหลเวียนโลหิต เพื่อทำให้สมองที่ร้อนและเฉื่อยชาเย็นตัวลงและกลับมาตื่นตัวมากขึ้น
เมื่อดร. แกลลัป นำงานวิจัยดังกล่าวมาอธิบายถึงสาเหตุของอาการหาวตามกัน โดยใช้มุมมองทางชีววิทยาวิวัฒนาการเข้าร่วมด้วย เขาพบว่าพฤติกรรมประหลาดที่เป็นไปโดยอัตโนมัตินี้ อาจเป็นวิธีที่สัตว์สังคมซึ่งอยู่รวมกันเป็นหมู่คณะใช้ปรับพฤติกรรมของสมาชิกให้สอดคล้องกัน โดยการหาวเมื่อเห็นผู้อื่นหาวจะกระตุ้นสมองให้ตื่นตัว สามารถช่วยกันเฝ้าระวังภัยที่อาจมาถึงในขณะที่ผู้อื่นรู้สึกง่วงหรือหลับอยู่
ดร. แกลลัปคาดว่า พฤติกรรมหาวตามกันนี้ได้เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ยุคดึกดำบรรพ์ สมัยที่บรรพบุรุษร่วมของสัตว์มีกระดูกสันหลังยังคงมีชีวิตอยู่ และได้กลายมาเป็นสัญชาติญาณของมนุษย์และสัตว์หลายชนิดในปัจจุบัน รวมทั้งหนู กระรอก ลิง ปลา หรือแม้แต่นกฟลามิงโกด้วย
เมื่อปีที่แล้วดร. แกลลัปได้ทำการทดลองเพื่อยืนยันแนวคิดดังกล่าว โดยให้อาสาสมัครดูคลิปวิดีโอของคนที่อ้าปากในแบบต่าง ๆ รวมทั้งคนที่อ้าปากหาว จากนั้นให้ดูภาพของสัตว์หลายชนิด ซึ่งมีทั้งภาพงูที่ดูเป็นอันตรายและภาพของกบที่ดูไม่เป็นอันตรายปะปนอยู่
ผลปรากฏว่าอาสาสมัครที่ได้เห็นวิดีโอคนอ้าปากหาวและหาวตาม สามารถค้นหาภาพงูที่ดูเป็นอันตรายพบได้อย่างรวดเร็ว โดยความสามารถในการระวังภัยของพวกเขาดีขึ้นมาก เมื่อเทียบกับตอนที่ไม่ได้ดูวิดีโอคนอ้าปากหาวมาก่อน แต่สิ่งนี้ไม่มีผลต่อการมองเห็นรูปกบที่ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
ข้อมูลเพิ่มเติม
ส่วนอาการง่วงนอนความง่วงหรืออาการง่วงซึม (อังกฤษ: somnolence, sleepiness, หรือ drowsiness) เป็นภาวะที่ร่างกายต้องการหลับอย่างแรง หรือหลับเป็นเวลานานผิดปกติ (เทียบกับอาการนอนมาก) ความง่วงมีความหมายและสาเหตุแยกกัน สามารถหมายถึงภาวะปกติก่อนหลับ สภาพที่อยู่ในภาวะง่วงเนื่องจากความผิดปกติของจังหวะรอบวัน หรือกลุ่มอาการของปัญหาสุขภาพอื่น ความง่วงสามารถเกิดร่วมกับภาวะง่วงงุน (lethargy) ความอ่อนเปลี้ยและการขาดความคล่องทางจิต (lack of mental agility)
มักมองว่าความง่วงเป็นอาการมากกว่าโรคด้วยตัวมันเอง ทว่า มโนทัศน์ความง่วงเกิดซ้ำในบางเวลาจากสาเหตุบางอย่างประกอบเป็นความผิดปกติต่าง ๆ เช่น ความง่วงกลางวันมากเกิน (excessive daytime sleepiness) โรคหลับงานกะ (shift work sleep disorder) ฯลฯ และมีรหัสการแพทย์สำหรับความง่วงที่ถือเป็นโรค
ความง่วงอาจเป็นอันตรายเมื่อดำเนินงานที่ต้องอาศัยสมาธิต่อเนื่อง เช่น การขับยานพาหนะ เมื่อบุคคลรู้สึกล้าระดับหนึ่ง อาจประสบการหลับเล็ก (microsleep) ได้
👉🏿เป็นอย่างไรบ้างครับ อาการง่วงนอน อาการหาวนอน แต่ถ้ามีอาการแบบนี้ก็แนะนำให้ไปนอนดีกว่าอย่าไปคิดอะไรมากนอนให้หลับตื่นมาจะได้มีสุขภาพดี ร่าเริงแจ่มใส ดีกว่าไปอดตาหลับขับ ตานอน ตาลึกโหลขอบตาดำคล้ำเหมือนผีนะครับ
อ้างอิงจาก:วิกิพีเดีย และ google และ