มิตร ชัยบัญชา พระเอกหนังไทย อมตะนิรันดร์กาลและอุบัติเหตุโศกนาฏกรรมวาระสุดท้ายกับภาพยนตร์ที่เขาแสดง
ก่อนจะจบเรื่องราวของวันนี้ไปอีกวัน ก็อยากจะนำเสนอเรื่องราวของพระเอกดังที่เป็นอมตะตลอดกาลของประเทศไทย...
ไม่ว่าใครๆที่อยู่ในประเทศไทย แม้ว่าจะอายุย่างเข้าวัยชราหรือใกล้จะตายวันนี้พรุ่งนี้
ก็น่าจะรู้จักพระเอกดังที่ชื่อมิตร ชัยบัญชา นะครับกระผมเลยขอรวบรวมประวัติชีวิตและผลงานการแสดงของมิตรชัยบัญชา ที่สำคัญ มานำเสนอ เพื่อเชิดชูผลงานของคุณมิตร ชัยบัญชา พระเอกหนังไทย เป็นอมตะนิรันดร์กาล เป็นประวัติศาสตร์ที่ภาพยนตร์ไทยที่ไม่มีวันลืมเลือน ...
มิตร ชัยบัญชา
ผลงานเรื่องแรกคือเรื่อง ชาติเสือ ผลงานเรื่องที่สองที่ออกฉายคือ จ้าวนักเลง หรืออินทรีแดง ทำให้เขามีชื่อเสียงเป็นอย่างมาก ทำรายได้เกินล้านบาท มิตรมีผลงานแสดงที่โดดเด่นมากและหลากหลาย ทั้งบทบู๊ รักกุ๊กกิ๊ก รักรันทด ตลก เชยเด๋อด๋า หรือชีวิตเศร้าเคล้าน้ำตา
ประวัติชีวิต
ชื่อเกิด บุญทิ้ง ระวีแสง
เกิด 28 มกราคม พ.ศ. 2477
จังหวัดเพชรบุรี ประเทศสยาม
เสียชีวิต 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 (36 ปี)
เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี ประเทศไทย
คู่สมรส
จารุวรรณ สวีรวงศ์ (2502–2506)
กิ่งดาว ดารณี (2506–2512)
ศศิธร เพชรรุ่ง (2512–2513)
บุตร1 คน
อาชีพนักแสดง ทหารอากาศ นักการเมือง นักมวยไทย ผู้กำกับภาพยนตร์
ปีที่แสดง พ.ศ. 2500–2513
👉🏾ผลงานเด่น
ไวย ศักดา – ชาติเสือ (2501)
โรม ฤทธิไกร – อินทรีแดง (2502)
ตุ๊ อรรคพล – เงิน เงิน เงิน (2508)
ไอ้คล้าว – มนต์รักลูกทุ่ง (2513)
รางวัล พระสุรัสวดี
ดารานำฝ่ายชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2508 เงิน เงิน เงิน (โล่เกียรตินิยม ดารานำฝ่ายชายที่ทำรายได้สูงสุด)
👉🏾พ.ศ. 2506 ภาพยนตร์เรื่อง ใจเพชร ทำรายได้สูงสุด และมีภาพยนตร์ที่ทำรายได้เกินล้านอีกหลายเรื่อง โดยเมื่อ พ.ศ. 2508 รับพระราชทานรางวัล "โล่ห์เกียรตินิยม"นักแสดงนำชาย ที่ทำรายได้สูงสุด
จากภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน ซึ่งทำรายได้เป็นประวัติการณ์ ต่อมา พ.ศ. 2509 ภาพยนตร์เรื่อง เพชรตัดเพชร ทำรายได้ทำลายสถิติ เงิน เงิน เงิน ได้ 3 ล้านบาทในเวลา 1 เดือน
และรับพระราชทานรางวัลดาราทอง จากคุณสมบัติหลัก 4 ประการ คือ ศรัทธา หน้าที่ ไมตรี และ น้ำใจ
ซึ่งแสดงถึงคุณภาพของผู้รับรางวัล ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2513 ภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง ของ รังสี ทัศนพยัคฆ์ เป็นภาพยนตร์เพลงลูกทุ่งที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ทำรายได้มากกว่า 6 ล้านบาทและยืนโรงได้นานกว่า 6 เดือนในกรุงเทพ ทำรายได้ทั่วประเทศ กว่า 13 ล้านบาท
😬วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 มิตรเสียชีวิตขณะถ่ายทำฉากโหนบันไดเชือกเฮลิคอปเตอร์ จากภาพยนตร์เรื่อง อินทรีทอง ท่ามกลางความอาลัยของมหาชน นับเป็นบุคคลธรรมดาที่มีผู้มาร่วมงานศพมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ได้มีการตั้งศาลบริเวณ หาดจอมเทียน พัทยาใต้ สถานที่ที่เขาเสียชีวิต
👉🏾สรุปเหตุการณ์ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ทำให้มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิต
การถ่ายทำสำเร็จได้ด้วยดีจนถึงฉากสุดท้ายของเรื่อง ถ่ายทำที่หาดดงตาล พัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี เมื่อ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2513 เวลา 9.00 น. ในเรื่องหลังจากอินทรีแดงปราบผู้ร้ายได้แล้ว จะหนีตำรวจออกจากรังของคนร้าย โดยโหนบันไดเชือกจากเฮลิคอปเตอร์ซึ่งมีวาสนาเป็นผู้ขับ กล้องจะเก็บภาพเฮลิคอปเตอร์พาอินทรีแดงบินลับหายไป
เพื่อความสมจริง และความไม่พร้อมของเสื้อผ้าของนักแสดงแทน มิตรตกลงว่าจะแสดงฉากนี้ด้วยตัวเอง โดยกำหนดการถ่ายทำไว้อย่างละเอียด แต่ด้วยความผิดพลาดทางเทคนิคที่มิตรไม่อาจรู้ได้ เพราะกำลังแสดงอยู่ ปรากฏว่าด้วยแรงกระตุกของเครื่องขณะบินขึ้น โดยที่มิตรไม่ได้เหยียบบนบันได และต้องโหนตัวอยู่กับบันได เครื่องไม่ได้ลงจอดเมื่อผ่านหน้ากล้องแล้ว มิตรพยายามให้สัญญาณด้วยการตบเท้าเข้าหากัน ในขณะที่นักบินมองไม่เห็นความผิดปกติและการให้สัญญาณจากพื้นล่าง ยังบินสูงขึ้นต่อไป และเกิดแรงเหวี่ยงในจังหวะที่เครื่องเลี้ยวกลับ ซึ่งจริง ๆ แล้วมิตรได้แก้ปัญหาเฉพาะหน้าโดยการใช้ข้อมือซ้ายเกี่ยวพันกับบันไดลิง แต่เนื่องจากเชือกบากข้อมือจนเกือบขาด มิตรทนความเจ็บไม่ไหว
จึงตัดสินใจแกะเชือกที่รัดข้อมือ แล้วปล่อยตัวลงมา โดยตั้งใจว่าจะลงสู่บึงข้างล่างจะได้รอดชีวิต แต่ด้วยที่ว่าลมตีร่างมิตร ทำให้ตกลงมากระแทกกับพื้น ตรงจอมปลวก จากความสูง 300 ฟุต เขาถูกนำส่งโรงพยาบาลศรีราชาด้วย เฮลิคอปเตอร์ดังกล่าวภายใน 5 นาที แต่สายเกินไป
จากผลการชันสูตรศพยืนยันว่า เขาเสียชีวิตทันทีเพราะร่างกายแหลกเหลวไม่มีชิ้นดี เชือกบาดข้อมือเป็นแผลลึก 2 ซ.ม. ยาว 8 ซ.ม. กระดูกขากรรไกรข้างขวาหัก กระดูกโหนกแก้มซ้ายขวาหัก มีเลือดออกทางหูขวา กระดูกซี่โครงขวาหัก 5 ซี่ กระดูกโคนขาขวาหัก กระดูกต้นคอหัก โดยเสียชีวิตเมื่อเวลาประมาณ 16.13 น.
9 ตุลาคม พ.ศ. 2513 หนังสือพิมพ์ไทยทุกฉบับพาดหัวข้อข่าวการตายของเขา ซึ่งกระจายข่าวไปถึงญี่ปุ่น ฮ่องกง และไต้หวัน หลังจากข่าวการตายของเขา ทรัพย์สินส่วนใหญ่ของเขาถูกเคลื่อนย้ายออกจากบ้านทั้ง 3 หลัง ไม่มีเสื้อผ้าเหลือแม้แต่ชุดเดียวที่จะสวมใส่ให้ใหม่ตอนรดน้ำศพ
ศพของมิตร ชัยบัญชา ตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดแคนางเลิ้ง หลังจากครบ 100 วัน พิธีพระราชทานเพลิงศพจัดเมื่อ 21 มกราคม พ.ศ. 2514 มีประชาชนหลั่งไหลเข้าไปร่วมงานจำนวนหลายหมื่นคน สำหรับการพระราชทานเพลิงศพย้ายจากวัดแคไปวัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร
มีประชาชนหลั่งไหลไปร่วมงานกว่า 3 แสนคน จนกระทั่ง หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช กล่าวว่าเป็นงานศพของสามัญชนที่มีผู้ไปร่วมงานมากที่สุดในประวัติศาสตร์
อ้างอิงจาก: วิกิพีเดีย และ YouTube